Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25726
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตานันท์ มลิทอง
dc.contributor.authorชาลี มหาบรรพต
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-23T12:18:08Z
dc.date.available2012-11-23T12:18:08Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745667161
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25726
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจัดตำแหน่งออร์แกนไนเซอร์แบบเนื้อเรื่องย่อ ในการเสนอบทเรียนวิทยุโรงเรียน และระดับความเข้าใจในการฟัง ต่อผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง 90 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2528 โรงเรียนวัดนาคปรก เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จากจำนวนทั้งหมด 180 คน จำแนกตามระดับความเข้าใจในการฟัง ด้วยแบบทดสอบวัดความเข้าใจในการฟัง เป็นระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ จากกลุ่มตัวอย่างในแต่ละระดับความเข้าใจในการฟังนี้นำมาสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความเข้าใจในการฟังสูง 30 คน ระดับปานกลาง 30 คน และระดับต่ำ 30 คน จากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างทั้งสามระดับมาสุ่มตัวอย่างอีกครั้งหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทดลองประกอบด้วย กลุ่มที่มีระดับความเข้าใจในการฟังสูง 10 คน ระดับปานกลาง 10 คน และระดับต่ำ 10 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดออร์แกนไนเซอร์แบบเนื้อเรื่องย่อก่อนการฟังบทเรียนวิทยุโรงเรียน กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดออร์แกนไนเซอร์แบบเนื้อเรื่องย่อหลังการฟังบทเรียนวิทยุโรงเรียน และกลุ่มทดลองที่ 3 ได้รับการจัดออร์แกนไนเซอร์แบบเนื้อเรื่องย่อไว้ทั้งก่อนและหลังการฟังบทเรียนวิทยุโรงเรียน หลังจากนั้นให้กลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มทำแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ตามวิธีของนิวแมน คูลส์ ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้ คือ 1. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจัดตำแหน่งออร์แกนไนเซอร์แบบเนื้อเรื่องย่อในการเสนอบทเรียนวิทยุโรงเรียน และระดับความเข้าใจในการฟังต่อผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของนักเรียน 2. การจัดออร์แกนไนเซอร์แบบเนื้อเรื่องย่อในการเสนอบทเรียนวิทยุโรงเรียนทั้ง 3 ตำแหน่ง มีผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของนักเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. นักเรียนที่มีระดับความเข้าใจในการฟังต่างกัน จะมีผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ 3.1 นักเรียนที่ระดับความเข้าใจในการฟังสูง มีผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยสูงกว่าระดับปานกลาง และระดับต่ำ 3.2 นักเรียนที่ระดับความเข้าใจในการฟังปานกลาง มีผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยสูงกว่าระดับต่ำ
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the interaction of the positions of abstract organizer in the presentation of the school radio program and levels of listening comprehension upon the cognitive learning of Prathom Suksa two students. Ninety subjects were randomly selected from 180 Prathom Suksa two students of Wat Nakprok School, Dhonburi distrect, Bangkok, in the second semester of the 1985 academic year. They were divided into three groups of thirty, according to their different listening comprehension levels: high, medium and low; by means of Listening Comprehension Test. Then, the subjects in each group were equally random sampling with the three different experimental groups. Each group was composed of 10 high, 10 medium, and 10 low. The first experimental group was given an abstract organizer before listening to the school radio program. An abstract organizer was given to the second experimental group after they listened to the school radio program. For the third experimental group, an abstract organizer was given combination of before and after they listened to the school radio program. Cognitive Learning Test was conducted at the end of each experiment. Scores from the test were analyzed by means of Two-Way Analysis of Variance. Pair-wise test was conducted using Newman Keuls. Findings from the research revealed that: 1. There was no interaction of positions of abstract organizer for the school radio program and levels of listening comprehension upon the cognitive learning. 2. The cognitive learning of the subjects who were given an abstract organizer before, after, and combination of before and after for the school radio program was not statistical significant difference. 3. The cognitive learning of the subjects who had different levels of listening comprehension was statistical significant difference at the 0.1 level of confidence. 3.1 The cognitive learning of the high listening comprehension level subjects had higher than the medium and the low. 3.2 The medium level subjects had higher cognitive learning than the low.
dc.format.extent425281 bytes
dc.format.extent431600 bytes
dc.format.extent603930 bytes
dc.format.extent373529 bytes
dc.format.extent307135 bytes
dc.format.extent394074 bytes
dc.format.extent1354620 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจัดตำแหน่งออร์แกนไนเซอร์แบบเนื้อเรื่องย่อ ในการเสนอบทเรียนวิทยุโรงเรียน และระดับความเข้าใจในการฟังต่อผลการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2en
dc.title.alternativeThe interaction of the positions of abstract organizer for the school radio program and levels of listening comprehension upon the cognitive learning of prathom suksa two studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalee_Ma_front.pdf415.31 kBAdobe PDFView/Open
Chalee_Ma_ch1.pdf421.48 kBAdobe PDFView/Open
Chalee_Ma_ch2.pdf589.78 kBAdobe PDFView/Open
Chalee_Ma_ch3.pdf364.77 kBAdobe PDFView/Open
Chalee_Ma_ch4.pdf299.94 kBAdobe PDFView/Open
Chalee_Ma_ch5.pdf384.84 kBAdobe PDFView/Open
Chalee_Ma_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.