Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25734
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภชัย คำตื้อ
dc.contributor.advisorสุภาภรณ์ พลนิกร
dc.contributor.authorชาญ เลิศอมรเสถียร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-23T12:52:12Z
dc.date.available2012-11-23T12:52:12Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745633429
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25734
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรวบรวมหลักการขั้นตอน มาตรการและเทคนิคที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยทั่วไป ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการประเมินผลการปฏิบัติของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งจะชี้ให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน อันจะนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ วิธีดำเนินการศึกษา นอกจากจะใช้วิธีการวิจัยเอกสาร วิธีการวิจัยจากสัมภาษณ์แล้ว ยังใช้วิธีการวิจัยจากแบบสอบถาม เพื่อสอบถามการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพนักงานของธนาคาร และจากเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของธนาคารทั้งสำนักงานใหญ่และสาขา เพื่อศึกษาว่าธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นระบบหรือไม่ และธนาคารพาณิชย์ที่มาการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ ส่วนใหญ่ได้นำผลการประเมินไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการพิจารณาความดีความชอบหรือไม่ อนึ่ง ยังได้มีการสอบถามทัศนคติในเรื่องดังกล่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของธนาคารทั้งสำนักงานใหญ่และสาขาอีกด้วย ผลจากการศึกษา พบว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีแบบฟอร์มสำหรับประเมินผล มีขั้นตอนในการประเมินผล มีการกำหนดมาตรฐานของการปฏิบัติงาน และมีการนำผลการประเมินนั้นไปใช้ประโยชน์ แม้จะมีบางส่วนที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักวิชาการก็ตาม แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ และได้นำผลการประเมินไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการพิจารณาความดีความชอบ สำหรับทัศนคติในเรื่องนี้ พนักงานธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ต้องการให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ และให้มีการนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจในการพิจารณาความดีความชอบ ในส่วนที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักวิชาการนั้น พอจะสรุปปัญหาและได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวไว้บางประการ ดังนี้ 1. ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้แบบฟอร์มสำหรับประเมินผล ส่วนใหญ่ใช้เพียงไม่กี่แบบเท่านั้น ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกระดับ ทุกประเภท เพื่อไม่ให้มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบจากแบบฟอร์มสำหรับประเมินผลนั้น จำนวนแบบฟอร์มที่จัดทำขึ้นควรสอดคล้องกับลักษณะของงานที่แตกต่างกันออกไป ตามคำบรรยายลักษณะงานที่ได้กำหนดไว้ 2. ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้แบบฟอร์มสำหรับประเมินผล มักจะถือแบบฟอร์มนี้เป็นความลับ ทำให้พนักงานส่วนใหญ่ไม่ทราบเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ใช้วัดผลการทำงาน เพื่อให้พนักงานมีแนวทางที่ดีในการทำงาน จึงควรจะเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้วัดผลงานในแบบฟอร์มสำหรับประเมินผลก่อนที่จะทำการประเมินให้พนักงานได้ทราบ 3. ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการแจ้งข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานให้พนักงานทราบ ซึ่งก่อให้เกิดความยากลำบากในการพัฒนาพนักงาน ถ้าธนาคารต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานแล้ว จะต้องแจ้งข้อบกพร่องและให้คำแนะนำแก่พนักงาน เพื่อจะได้ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป 4. งบประมาณที่ธนาคารพาณิชย์ให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาจัดสรรให้กับพนักงาน เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีนั้น บางครั้งอาจมีจำนวนจำกัด งบประมาณที่ได้รับมาอาจไม่สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานอย่างหนักของพนักงาน ดังนั้น จึงควรนำระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามอัตราร้อยละของเงินเดือนปัจจุบันของพนักงานแต่ละคนมาใช้ เพื่อจะจัดสรรได้อย่างทั่วถึง 5. ธนาคารพาณิชย์มักจะให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเพียงคนเดียว ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการประเมินผลได้มาก โดยเฉพาะปัญหาความลำเอียงส่วนตัว เพื่อลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากผู้ประเมินควรจะให้ผู้บังคับบัญชา 1 คน และผู้บังคับบัญชาในระดับเดียวกันหรือระดับถัดไปอีก 2 คน มีส่วนร่วมในการประเมิน 6. จากการวิจัย พบว่า ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานหลายวิธีด้วยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะวิธีการที่เหมาะสมที่สุด สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย รวมทั้งตัวอย่างปัจจัยที่จะประเมินผลสำหรับลักษณะงานต่าง ๆ ไว้ในบทสุดท้ายของวิทยานิพนธ์นี้ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ และให้มีการนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการพิจารณาความดีความชอบก็ตาม แต่ถ้าขาดการควบคุมและการติดตามผลที่ดีแล้ว แผนการประเมินที่กำหนดไว้อย่างดีก็ไม่มีความหมาย
dc.description.abstractalternativeThe prime purposes of this thesis are to collect the principles, steps, measures and techniques utilized in general performance evaluation that indicate the significance and benefit of performance appraisal. The other main objective is to study the practical approach of performance evaluation used with officers of commercial banks in Thailand in order to find out concerning problems and obstacles which affect the performance appraisal and to identify proper technical solutions. Besides the methodology of documentary and interview researches used to carry out this thesis, the questionnaire survey was also utilized to inquire personnel sections and different levels of officers of the commercial banks both head and branch offices in order to study whether the banks had systematic performance evaluation, and if the banks had such criteria, whether the result of the appraisal has been used in a reward consideration. Opinions of various levels of the bank employees of both main and branch offices concerning such evaluation were also conducted. Findings from the research showed that most commercial banks had evaluation forms, process of appraisal, determination of standard performance and utilization of result of the work evaluation, though some parts were not accurately complete. However, the conclustion was that nost commercial banks adapted systematic performance appraisal and the results of the evaluation were used in rewards consideration. And according to the opinion of the bank employees, such system and the application of the evaluation result to reward consideration should be used. The problems and solutions of the improper parts of the performance appraisal employed in the commercial banks can be summarized as follows:- 1. The commercial banks used only a few appraisal forms applying to every level and category of the bank employees. In order to avoid advantages and disadvantages arising from a few forms, the number and types of evaluation forms should be prepared in accordance with various job descriptions. 2. The commercial banks using appraisal forms mostly kept the forms in secret so that their staff doubt in the evaluation criteria. In order to let the employees have the proper approach to convey their jobs, the evaluation criteria in the form should be revealed before the evaluation session. 3. Most commercial banks did not inform the weak points of the performance to the employees; this was the obstacle for personnel development. If the banks wanted to increase performance efficiency of the employees, the weak points and recommendations for improvement should be conveyed to their staff for future performance development. 4. The budget the commercial banks provided for the head or branch officers for annual salary increase was sometimes limited. The fund received might not be commensurate with the hard working of the employees. Thus, the system of salary increase by giving different rates of percentage to present salary of individual employee should be operated for more through distribution. 5. In the commercial banks, only direct supervisor was mostly assigned to evaluate the performance of employees. Such appraisal could create much errors regarding to personal bias of the rater. In order to avoid such mistakes, the supervisor and two more of his counterparts or those of one step higher should take part in the evaluation. 6. The result from the research showed that the commercial banks used various evaluation systems. In this mather, the writer recommended the most suitable method of performance appraisal for the commercial banks in Thailand in the last chapter of this thesis. Samples of evaluation criteria for different types of jobs was also included. Though most commercial banks used systematic performance appraisal and applied the results to reward consideration, the well planned evaluation system would be worthless if operated without proper control and follow up.
dc.format.extent622298 bytes
dc.format.extent543557 bytes
dc.format.extent1970297 bytes
dc.format.extent1878270 bytes
dc.format.extent754289 bytes
dc.format.extent626399 bytes
dc.format.extent1929703 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectธนาคารพาณิชย์ -- ไทย -- พนักงาน
dc.subjectการประเมินผลงาน
dc.titleการศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยen
dc.title.alternativeA study on the evaluation of employees' performance in the commercial banks in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพาณิชยศาสตร์
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chan_Li_front.pdf607.71 kBAdobe PDFView/Open
Chan_Li_ch1.pdf530.82 kBAdobe PDFView/Open
Chan_Li_ch2.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Chan_Li_ch3.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Chan_Li_ch4.pdf736.61 kBAdobe PDFView/Open
Chan_Li_ch5.pdf611.72 kBAdobe PDFView/Open
Chan_Li_back.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.