Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25749
Title: | พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวม้ง บ้านปางช้าง ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน |
Other Titles: | Ethnobotany of Hmong in Ban Pang Chang, Tambon Pong, Amphoe Santisuk, Changwat Nan |
Authors: | อัญชลี น่วมมี |
Advisors: | ต่อศักดิ์ สีลานันท์ สร้อยนภา ญาณวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tosak.S@Chula.ac.th Sroynapa.Y@Chula.ac.th |
Subjects: | พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน -- ไทย -- บ้านปางช้าง (น่าน) ม้ง -- พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชของชาวเขาในประเทศไทยเป็นเรื่องที่มีการศึกษากันเป็นจำนวนมากเนื่องจากความเจริญที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและการขาดการสืบทอดองค์ความรู้ในรุ่นลูกหลาน การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวม้งในบ้านปางช้าง ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน พบพืชที่ชาวม้งนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันทั้งหมด 276 ชนิด 223 สกุล 90 วงศ์ โดยมีพืชดอกจำนวน 266 ชนิด 215 สกุล 82 วงศ์ เฟิร์นและไลโคไฟต์จำนวน 10 ชนิด 8 สกุล 8 วงศ์ พืชที่นำมาใช้ประโยชน์มาก ได้แก่ พืชในวงศ์ Poaceae Fabaceae Asteraceae Cucurbitaceae Euphorbiaceae Zingiberaceae Acanthaceae Lamiaceae Orchidaceae Solanaceae Rubiaceae และ Amaranthaceae ตามลำดับจำนวนชนิดมากไปหาน้อย ในจำนวนที่พบนี้มีพืชต่างถิ่นจำนวน 88 ชนิด โดยเป็นพืชที่ชาวม้งปลูกเอาไว้ในสวนครัวจำนวน 78 ชนิด พืชที่ชาวม้งนำมาใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก รองลงมาคือ ไม้ต้น ไม้พุ่มและไม้เลื้อย และเป็นพืชอิงอาศัยและไผ่เพียงเล็กน้อย ลักษณะการใช้ประโยชน์สามารถจำแนกออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ พืชที่ใช้เป็นสมุนไพร 174 ชนิด พืชที่ใช้เป็นอาหาร 130 ชนิด พืชที่ใช้ทำที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ 24 ชนิด พืชที่ใช้ในพิธีกรรมและความเชื่อ 14 ชนิด พืชที่ใช้ประโยชน์เพื่อการค้า 5 ชนิด พืชมีพิษ 3 ชนิด และพืชที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้านอื่น ๆ อีก 18 ชนิด สำหรับการใช้พืชสมุนไพรนั้น พบว่าใบและรากเป็นส่วนที่มีการนำมาใช้มากที่สุด โดยการใช้ส่วนของพืชแบบสดมาต้มในน้ำเดือด แต่ในพืชอาหาร พบว่าผลและใบหรือยอดอ่อนเป็นส่วนที่นำมาบริโภคแบบสดมากที่สุด จากจำนวนพืชทั้งหมดพบว่า มีพืชจำนวน 30 ชนิด ที่ผู้ให้ข้อมูลทุกคนรู้จักใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย ขณะที่พืช 54 ชนิด ผู้ให้ข้อมูล 2-7 คนระบุการใช้ประโยชน์เพียงอย่างเดียวในแต่ละชนิด และพืชอีก 190 ชนิด ที่ระบุการใช้ประโยชน์ตั้งแต่ 2-9 อย่างจากผู้ให้ข้อมูล 2-9 กลุ่ม ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากพืชที่มีความแตกต่างกันในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในหมู่บ้านปางช้างควรพิจารณาว่าเป็นความรู้ที่เสริมกันและกันให้สมบรูณ์ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของชาวม้ง แทนที่จะเป็นการขาดความเห็นที่สอดคล้องกันของกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน |
Other Abstract: | The knowledge of plant uses in Thai hill tribes has been subjected to a number of studies mainly due to rapid modernization and loss of knowledge transfer to younger generations. Ethnobotany of Hmong in Ban Pang Chang, Tambon Pong, Amphoe Santisuk, Changwat Nan, was conducted and results indicated that 276 species in 223 genera 90 families – 266 species in 215 genera 82 families of flowering plants, and 10 species in 8 genera 8 families of ferns and lycophytes – had been used in daily life. Plants in Poaceae, Fabaceae, Asteraceae, Cucurbitaceae, Euphorbiaceae, Zingiberaceae, Acanthaceae, Lamiaceae, Orchidaceae, Solanaceae, Rubiaceae, and Amaranthaceae, were families with the highest number of species used, in descending order. There were 88 alien species, of which 78 were cultivated in Hmong home garden. Most plants used by Hmong were mostly herbs, followed by trees, shrubs, and climber in similar numbers, and a few in epiphytes and bamboos. Plants were used in 7 categories, namely medicines (174), food (130), housing and household utensils (24), rituals and belief (14), commerce (5), poisonous plants (3) and miscellaneous uses (18). For medicinal uses, leaves and roots were used most and the majority of preparation was using fresh materials that were boiled in hot water. In food category, fruits and leaves or young shoots were consumed mostly without any preparation. Thirty species were known by all informants for various uses whereas 54 species were known for only single use in each species by 2-7 informants and 192 species were used for 2-9 applications by 2-9 sets of informants. It was suggested that divcerged knowledge of plant uses by Hmong at Ban Pang Chang should be considered as complementary knowledge, probably due to their cultural practice in their way of life, rather than lack of cultural consensus. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25749 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1854 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1854 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
anchalee_nu.pdf | 7.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.