Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25781
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิพนธ์ เทพวัลย์ | - |
dc.contributor.author | วิสาข์ วิทูธีรศานต์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-24T04:58:05Z | - |
dc.date.available | 2012-11-24T04:58:05Z | - |
dc.date.issued | 2521 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25781 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการศึกษาเรื่องนี้เพื่อศึกษาถึงแบบแผนและคุณลักษณะของการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยครูส่วนกลาง โดยเปรียบเทียบกับนักศึกษาผู้ไม่ย้ายถิ่น โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรกนักศึกษาส่วนใหญ่น่าจะย้ายมาจากภาคกลาง และประการที่สองการย้ายถิ่นของนักศึกษา ที่เรียนในภาคปกติและนักศึกษาที่เรียนในภาคนอกเวลาน่าจะแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาครอบคลุมไปถึงสาเหตุของการย้ายถิ่นเข้ามา สภาพเศรษฐกิจ การเลื่อนชั้นทางสังคม ปัญหาต่างๆ ที่ประสพขณะอยู่ในกรุงเทพฯ และความคาดหวังในการย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม ในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาจากนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2519 ทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลาที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยครูทุกแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ วิทยาลัยครูธนบุรี วิทยาลัยครูสวนสุนันทา วิทยาลัยครูสวนดุสิต วิทยาลัยครูพระนคร และวิทยาลัยครูจันทรเกษม จำนวนตัวอย่าง 946 คน จำแนกเป็นนักศึกษาชายที่เรียนในภาคปกติ 171 คน ภาคนอกเวลา 193 คน นักศึกษาหญิงที่เรียนในภาคปกติ 290 คน ภาคนอกเวลา 292 คน คุณลักษณะบางประการของประชากรผู้ย้ายถิ่นและไม่ย้ายถิ่น นักศึกษาเหล่านี้ได้แก่นักศึกษาผู้ย้ายถิ่น 670 คน เป็นชาย 266 คน หญิง 404 คน นักศึกษาผู้ไม่ย้ายถิ่น 276 คน เป็นชาย 98 คน หญิง 178 คน มีอายุเฉลี่ย 18 ปี 11 เดือน นักศึกษาผู้ย้ายถิ่นและไม่ย้ายถิ่นมีการกระจายของอายุมีแตกต่างกัน แต่นักศึกษาที่เรียนในภาคนอกเวลาอายุมากกว่านักศึกษาที่เรียนในภาคปกติ และนักศึกษาชายอายุมากกว่านักศึกษาหญิง ทิศทางของการย้ายถิ่น จากการศึกษาพบว่ามีนักศึกษาวิทยาลัยครูส่วนกลางร้อยละ 70.79 เป็นผู้ที่ย้ายถิ่นมาเรียนจากต่างจังหวัดโดยมาจากระยะใกล้คือภาคกลางมากที่สุดร้อยละ 43.91 แบบแผนของการย้ายถิ่นมาจากภาคต่างๆ ของนักศึกษาทั้งที่เรียนในภาคปกติและนักศึกษาที่เรียนในภาคนอกเวลาไม่แตกต่างกัน สำหรับจังหวัดที่นักศึกษาเกิดนั้นนักศึกษาร้อยละ 70.05 ถือกำเนิดมาจากต่างจังหวัด และนักศึกษาบางส่วนได้ย้ายเข้ามาเรียนอยู่ในกรุงเทพมหานครก่อนที่จะมาเรียนในวิทยาลัยครู เพราะมีนักศึกษาเพียงร้อยละ 57.88 ที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากต่างจังหวัด ความถี่ของการย้ายถิ่นนี้ นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 76.16 ย้ายตรงมาจากจังหวัดภูมิลำเนาเดิมของตนโดยมิได้ย้ายไปหรือย้ายมายังที่แห่งใดก่อนมาเรียนครู ป.กศ. ในกรุงเทพฯเลย และร้อยละ 70.32 เพิ่งจะย้ายเข้ามาเรียนในสองปีนี้ แต่จำนวนนักศึกษาที่เข้ามาพักอาศัยดำเนินชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ในระยะสองปีนี้มีเพียงร้อยละ 63.79 ผู้ที่ย้ายเข้ามาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปเป็นนักศึกษาชายมากกว่านักศึกษาหญิงทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลา นักศึกษาที่ย้ายสำมะโนครัวเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ ด้วยมีร้อยละ 48.79 เป็นนักศึกษาชายมากกว่านักศึกษาหญิง ทางด้านมูลเหตุที่ทำให้มีการย้ายถิ่นนั้นเนื่องจากเป็นความต้องการของบิดามารดามากที่สุด รองลงมาคือไม่มีวิทยาลัยครูในจังหวัดภูมิลำเนาและเห็นว่าวิทยาลัยครูในกรุงเทพฯ ดีกว่า เมื่อตัดปัญหาความขาดแคลนวิทยาลัยครูในจังหวัดภูมิลำเนาออกไป โดยศึกษาในนักศึกษาที่อยู่ในจังหวัดที่มีวิทยาลัยครูอยู่แล้วก็ให้เหตุผลคล้ายกันคือเป็นความต้องการของบิดามารดา เห็นว่าวิทยาลัยครูในกรุงเทพฯ สอนดีมีชื่อเสียงกว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนักศึกษาผู้ย้ายถิ่นร้อยละ 64.92 จะย้ายถิ่นกลับไปทำงานยังภูมิลำเนาเดิมของตนและอีกร้อยละ 14.78 จะไปทำงานต่างจังหวัดไหนก็ได้ นอกจากนี้นักศึกษาที่ไม่ได้ย้ายถิ่นอีกร้อยละ 30.79 ยังมีความประสงค์ที่จะไปทำงานยังต่างจังหวัดอีกด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดจอแจของกรุงเทพฯ ส่วนนักศึกษาที่ต้องการทำงานในกรุงเทพฯ ให้เหตุผลถึงโอกาสในการทำความก้าวหน้าในอาชีพและการศึกษาได้มากกว่าต่างจังหวัด อย่างไรก็ดีก็พบว่ามีนักศึกษาถึงร้อยละ 74.05 ที่ต้องการจะศึกษาต่อในระดับสูงกว่าชั้น ป.กศ. แล้วจึงจะทำงาน ภาวะเศรษฐกิจของนักศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่มาเรียนโดยมีผู้อุปการะส่งให้เรียนโดยมากเป็นบิดามารดาคือ ร้อยละ 86.56 แต่มีนักศึกษาอีกร้อยละ 13.44 ที่ทำงานหาเงินมาเรียนเอง จำนวนเงินที่นักศึกษาได้รับเฉลี่ยได้เดือนละ 491.39 บาท นักศึกษาผู้ย้ายถิ่นได้มากกว่าผู้ไม่ย้ายถิ่นคือ 555.90 บาท และ 359.24 บาท ตามลำดับถึงแม้รายรับของผู้ย้ายถิ่นและไม่ย้ายถิ่นจะไม่เท่ากันแต่อัตราของความพอใช้จ่ายก็ไล่เลี่ยกันคือ ไม่พอใช้เสียมากกว่า เมื่อเงินขาดมือนักศึกษาก็แก้ปัญหาขอจากบิดามารดา ญาติพี่น้องหรือขอยืมจากเพื่อน ที่พักอาศัย ผู้ย้ายถิ่นทั้งชายและหญิงเลือกพักอยู่กับญาติพี่น้องในกรุงเทพฯ มากที่สุดรองลงมาเป็นหอพักในนักศึกษาหญิง ส่วนนักศึกษาชายเลือกพักบ้านเช่ามากกว่าหอพัก ผู้ไม่ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ก็พักอยู่กับบิดามารดา ความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในที่พักอาศัยเดียวกัน ส่วนมากก็เข้าใจกัน ดูแลเอาใจใส่กันดี ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีนี้มีผลทำให้การเรียนดีขึ้นบ้างความสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมที่เลวมีผลทำให้ผลการเรียนต่ำในขณะเดียวกันก็ผลักดันให้นักศึกษาบางคนสอบได้คะแนนสูง ทางด้านความห่างไกลของที่พักอาศัยนั้นส่วนใหญ่อยู่ไม่ไกลกันนัก นักศึกษาที่บ้านพักอยู่ใกล้วิทยาลัยครูที่เรียนมากเป็นผู้ย้ายถิ่นมากกว่าผู้ไม่ย้ายถิ่น ดังนั้นถึงแม้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 82.35 จะต้องขึ้นรถประจำทางมาเรียนแต่นักศึกษาผู้ย้ายถิ่นร้อยละ 18.51 ก็เดินมาเรียนได้โดยสะดวก ทางด้านปัญหาของนักศึกษานั้นที่พบมากที่สุดคือปัญหาเศรษฐกิจ รายได้ไม่สมดุลย์กับรายจ่าย การแก้ไขปัญหาโดยทั่วไปผู้ย้ายถิ่นมักจะปรึกษาขอคำแนะนำจากเพื่อนผู้ใหญ่ในบ้านที่ตนอาศัยอยู่และปรึกษากับบิดามารดา ส่วนผู้ไม่ย้ายถิ่นปรึกษาบิดามารดามากที่สุด รองลงมาเป็นเพื่อน และครูอาจารย์ การเลื่อนขั้นทางสังคม พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ได้เลื่อนขั้นทางสังคมระหว่างรุ่นอายุทางอาชีพและการศึกษาสูงขึ้น นักศึกษาผู้ย้ายถิ่นได้เลื่อนขั้นสูงขึ้นมีมากกว่านักศึกษาผู้ไม่ย้ายถิ่น | - |
dc.description.abstractalternative | The main purpose of this study is to investigate the pattern and character of migrating Teacher College students to Bangkok’as compared to the non-migrating students. Two hypothesis set up for testing. First, students are generally migrated from the central region rather than the other regions. Secondly, the migration patterns of regular students is different from twilight students. In addition, this study is focused on the causes of migration, economic condition, social mobility, problem of living in Bangkok and the expectation of return migration. The sampled students were drawn from the second year students of 1976, both regular and twilight, studying in teacher colleges in Bangkok :- BanSomdej, Thonburi, SuanSunanta, SuanDusit, PraNakorn and ChanKrasem. The amount of sample is 946, that is ndevided into 17.1 male regular, 193 male twilight and 290 female regular, 292 female twilight. Demographic characteristics of migrating and non-migrating student : There are 266 male and 404 female migrating students and the non-migrating students are composed of 98 males and 178 females. The mean age of these students is 18 years and 11 months. There is no difference in the age distribution among the migrating and the non-migrating students. The twilight students are in the average older than regular students and the male are also older than female. It is remarked that 70.79 percent of the sampled students in Bangkok migrate from the other provinces. Among migrating students 43.91 percent are from the central region. There is no difference in grating pattern between the regular and the twilight. 70.05 percent of the migrating students were born in provinces but only 57.58 percent of them finished their M.S. 3 level from the provinces. Frequency of migration : The majority of migrating students, 76.316 percent came straight to Bangkok from their place without moving to : where before. 70.32 percent has recently migrated to study in Bangkok within two years. There are more male than female, both regular and twilight, who have migrated to Bangkok for the period of 5 years. Interestingly, only 48.79 percent of them have registered their migration status correctly in the household registration form, which more male than female do so. Cause of migration : The most important cause of migration is their parent’s wish to have their children study in college in Bangkok. Secondly, there are no colleges in their residential provinces. The third main cause is the prestige of the colleges in Bangkok. After their graduation 64.92 percent of migrating students intend to return and work in their residential provinces, 14.78 percent to anywhere in provinces. In addition, there is another 30.79 percent of non-migrating students who want to work in provinces. The most remarkable reason is that they want to live out of Bangkok. And the main reason for those who want to work in Bangkok is the more oppostunity and development in their occupation and education. However, 81.08 percent of the students want to continue their study in higher level before leaving colleges to work. Income and expenditure : For their expenses, most of the students, 86.56 percent, are supported by their parents. The average of stipend of all sampled students per month is 491.39 baht. Migrating students get more money than the non-migrating, that is 555.90 and 359.24, baht, respectively. Thus the problems frequently came from the expenditure is higher than their stipend, or other words, their income. Accomodations. Most of migrating students, both male and in their relative’s houses while the majority of non-migrating students stay with their parents. The relationship in houses, dormitories effects their study. So does the surroundings of houses or dosmitories. Most of the migrating students chose to stay close to the college, but the non-migrating depend on where their parents level. 82.35 percent take a bus to colleges, but 18.51 percent of the migrating, living in the wolk distance, don’t have to take a bus at all. The most important problem found among those students is the economic problem. Their solution to such problems depends on who they are staying with, The migrating students of tenly asked their friends or their relatives for the advice, some consult their parents in provinces by letter. The non-migrating, however, bring their problem to consult with their parents, friends and teachers. Social Mobility : The sampled students have in generally higher social status as compared to their parents by using the occupational and educational indices. Consequently, migrating students have higher social status as compared to their non-migrating counterparts. | - |
dc.format.extent | 638296 bytes | - |
dc.format.extent | 831787 bytes | - |
dc.format.extent | 348239 bytes | - |
dc.format.extent | 2613442 bytes | - |
dc.format.extent | 575045 bytes | - |
dc.format.extent | 778911 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การย้ายถิ่นของนักศึกษาวิทยาลัยครูระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ในกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Migration of certificate-level students of teachers' colleges in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประชากรศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Visa_Vi_front.pdf | 623.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visa_Vi_ch1.pdf | 812.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visa_Vi_ch2.pdf | 340.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visa_Vi_ch3.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visa_Vi_ch4.pdf | 561.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visa_Vi_back.pdf | 760.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.