Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25786
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ครรชิต ผิวนวล | - |
dc.contributor.author | วิสูตร ทองวิวัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-24T05:01:30Z | - |
dc.date.available | 2012-11-24T05:01:30Z | - |
dc.date.issued | 2521 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25786 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยนี้ เพื่อต้องการแนะนำถึงวิธีการคาดการณ์เกี่ยวกับปริมาณการสัญจรของรถบรรทุก โดยได้พยายามประยุกต์วิธีการต่างๆ ที่มีอยู่ซึ่งใช้ในการคาดการณ์เกี่ยวกับยวดยานพาหนะส่วนบุคคลบนท้องถนนให้ใช้ได้กับรถบรรทุก วิธีการดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ 1. เทคนิคการนับช่วงสั้นของรถบรรทุก (Truck Short Count Technique) วัตถุประสงค์ของวิธีการนี้ คือเพื่อประมาณปริมาณการจราจรของรถบรรทุกที่เป็นอยู่บนส่วนใดส่วนหนึ่งของถนน ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในเขตเมืองเป็นอันดับแรกโดยแบ่งชั้นของถนนออกเป็นชนิดต่างๆ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง เช่น จำนวนช่องจราจร (lane) ความกว้างของทางวิ่ง ความเร็ว ระยะทางระหว่างทางแยกหลัก ฯลฯ โดยได้ทำการนับการจราจรของรถบรรทุกในแต่ละชั่วโมงบนถนนแต่ละชนิด และคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ของจำนวนรถบรรทุกในแต่ละชั่วโมงเพื่อใช้เป็นแฟคเตอร์สำหรับการขยายการจราจรทั้งหมด จากนั้นก็ทำการจัดกลุ่มค่าเปอร์เซนต์เหล่านี้ที่ชั่วโมงและชนิดของถนนเดียวกัน ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าค่าเปอร์เซนต์ของแต่ละชั่วโมงเพื่อใช้เป็นแฟคเตอร์ของการขยาย สามารถใช้เป็นตัวแทนของถนนชนิดเดียวกันได้สำหรับใช้ในการประมาณการจราจรของรถบรรทุกทั้งหมดอย่างคร่าวๆ 2. เปอร์เซนต์ของรถบรรทุก (Truck Percentage) วัตถุประสงค์ของวิธีการคือ เพื่อที่จะประมาณและคาดการณ์เกี่ยวกับเปอร์เซนต์ของรถบรรทุกบนส่วนใดส่วนหนึ่งของถนนอย่างรวดเร็ว การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในเขตนอกเมือง โดยทำการแบ่งชั้นของถนนตามหน้าที่การใช้งานและสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นบรรทัดฐาน จากนั้นก็คำนวณหาเปอร์เซนต์ของรถบรรทุก แล้วนำมาจับกลุ่มเปอร์เซนต์รถบรรทุกของการจราจรทั้งหมดตามชั้นของถนนและประเภทของรถบรรทุก ผลจากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานในเปอร์เซนต์ของรถบรรทุกเหล่านี้มีค่าสูงและหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้นไม่พอเพียงในการที่จะอธิบายถึงความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถนำค่าเปอร์เซนต์เหล่านี้ไปใช้ในการประมาณและคาดการณ์เกี่ยวกับการจราจรของรถบรรทุก 3. อัตรา Trip Generation ของรถบรรทุก (Truck Trip Generation) วัตถุประสงค์ของวิธีการนี้คือเพื่อประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการใช้ที่ดินในเขตท้องที่ต่างๆ และระบบต่างๆ ของถนน การศึกษานี้ได้กระทำในเขตเมือง และทำแบบการสัญจรรวม (aggregate trip) ชนิดของการสัญจรแบ่งออกเป็นการสัญจรภายนอก-ภายใน และภายใน-ภายนอก จากนั้นได้ทำการศึกษาอัตราของการสัญจรเหล่านี้กับการใช้ที่ดินที่คิดไว้ว่าจะมีผลต่อการสัญจร รวมทั้งจำนวนประชากรและจำนวนงานที่สามารถหาได้ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการสัญจรของรถบรรทุกที่เกิดขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กันกับการใช้ที่ดิน จำนวนประชากร และจำนวนงานที่สามารถหาได้ 4. Trip Generation ของรถบรรทุกโดยวิธีการถดถอยเชิงซ้อน (Truck Trip Generation by Multiple Regression) วัตถุประสงค์ของวิธีการนี้คือเพื่อที่จะใช้ในการควบคุมผลรวมสำหรับการเคลื่อนที่อย่างเป็นกลุ่มของการสัญจรของรถบรรทุกการศึกษาครั้งนี้ได้ทำในเขตเมือง โดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการสัญจรของรถบรรทุกกับการใช้ที่ดินชนิดต่างๆ รวมทั้งจำนวนประชากรและงาน โดยใช้การถดถอยเชิงซ้อนสร้างโมเดลต่างๆ ขึ้นมา การวิเคราะห์การถดถอยนั้นได้กระทำโดยใช้คอมพิวเตอร์ ผลการวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่าการสัญจรนั้นมีผลต่อการใช้ที่ดินจริง ชนิดของการใช้ที่ดินที่มีผลต่อการสัญจรของรถบรรทุกได้แก่ บริเวณบ้านพักอาศัยทั่วไป บริเวณคลังสินค้า บริเวณสถาบันการศึกษา บริเวณอุตสาหกรรม และบริเวณร้านค้าทั่วไป สรุป จากการวิเคราะห์ทั้งหมดนี้ เพื่อจะชี้เน้นให้เห็นคุณลักษณะของการสัญจรของรถบรรทุกนั้นแตกต่างจากการสัญจรของยวดยานทั่วๆ ไป ดังนั้นจึงเห็นว่าการศึกษาการวางแผนการขนส่งครั้งต่อๆ ไปจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกการศึกษาการสัญจรของรถบรรทุกออกมาต่างหาก | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to introduce four truck trip forecasting techniques which were developed from the techniques used in forecasting passenger cars. These techniques were. (1) Truck Short Count Technique. The purpose of this technique was used in estimating the volume of trucks on any road segment. This research was conducted on the road in the urban area by first classifying the roads into different classes according to the number of lanes, lane width, speed and the distance between main intersections, etc. Hourly truck traffic counts were made in order to be used as factors in expanding all the vehicle traffic. Then they were grouped according to hourly interval and classes of roads. The results revealed that the hourly percentage used to estimate all the truck traffic as the expanding factors could be roughly employed to the truck volume on the same classes of roads. (2) Truck Percentage. The purpose of this technique was to estimate and to forecast quickly the truck percentage on a road segment. The studies were conducted in the rural area by classifying the roads into groups based on their functional uses and socio-economic environment. Then the calculations for the trucks percentage and group percentage of all truck traffic were made according to the classes of roads and types of trucks. The results of the analysis revealed that the standard deviation of the trucks percentage was high and that these techniques were insufficient to explain this high values of standard deviation which had happened. However, the percentage could be used in estimating and forecasting the truck traffic. (3) Truck Trip Generation Rate. The purpose of this technique was to estimate the impacts created by changing of land use in different areas and systems of roads. This research was conducted in urban area in the form of aggregated trips. The types of travels were classified as external-internal and internal-external trips. Then the studies were made on trip generation expected to happen due to changing of land use, number of population and the employments. (4) Truck Trip Generation by Multiple Regression. The purpose of this study was to control the aggregated total movement of truck trips. The studies were conducted in the urban area by finding the relationship between truck trips to different types of land uses including the number of population and employment; then by using multiple regression, various models were built up and the regression analysis were made by using computer. The results of the analysis showed that the truck trips were influenced by the land use. The influence factors were found to be residential area, warehouses, institutional areas, industrial areas and retailing areas. The usefulness of the study indicated that the characteristics of the trucks trips were different from the other type of vehicle trips and that for further studies in transportation planning, it is necessary to seperate the truck trips from other vehicle trips. | - |
dc.format.extent | 668956 bytes | - |
dc.format.extent | 719217 bytes | - |
dc.format.extent | 1024041 bytes | - |
dc.format.extent | 2030702 bytes | - |
dc.format.extent | 783761 bytes | - |
dc.format.extent | 557135 bytes | - |
dc.format.extent | 1635961 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การประเมินผลของวิธีการคาดการณ์การขนส่งของรถบรรทุก | en |
dc.title.alternative | Evaluation of forecasting truck transport techniques | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Visoot_To_front.pdf | 653.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visoot_To_ch1.pdf | 702.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visoot_To_ch2.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visoot_To_ch3.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visoot_To_ch4.pdf | 765.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visoot_To_ch5.pdf | 544.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visoot_To_back.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.