Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25797
Title: | การศึกษาสถานภาพของครูและศิษย์ในคัมภีร์ธรรมศาสตร์ |
Other Titles: | A study of the teacher and student's status in Dharmasastra |
Authors: | วีรยุทธ เอกพันธ์ |
Advisors: | ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ทัศนะเรื่องครูและศิษย์ที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ ของอินเดียนั้นมีมาตั้งแต่สมัยพระเวทแล้ว แต่ปรากฏในลักษณะที่กระจัดกระจายกันอยู่ คัมภีร์ธรรมศาสตร์ต่างๆ อันถือว่าเป็นบันทึกที่สำคัญที่สุดของสังคมอินเดียโบราณในยุคที่พราหมณ์มีอำนาจสูงสุด ส่วนหนึ่งได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพราหมณ์ในด้านความเป็นครูและความสัมพันธ์ที่มีต่อศิษย์ไว้เป็นอันมาก และพราหมณ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของอินเดีย และมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของไทยมาแต่สมัยโบราณในฐานะผู้ประกอบพระราชพิธีต่างๆ แต่ว่าหน้าที่อันแท้จริงของพราหมณ์คือการเป็นครู ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในเมืองไทยเหมือนหน้าที่ในการประกอบพระราชพิธีต่างๆ คัมภีร์ธรรมศาสตร์เป็นหลักฐานสำคัญที่น่าสนใจ ควรแก่การศึกษาวิเคราะห์วิจัยในส่วนที่เกี่ยวกับครูและศิษย์ให้แจ่มแจ้ง ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์ธรรมศาสตร์ฉบับต่างๆ ที่เป็นภาษาสันสกฤตและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วศึกษาวิจัยจนได้ผลอันเด่นชัดว่า ครูมีความจำเป็นต่อระบบการศึกษาของอินเดียโบราณ ความสำคัญของครูอยู่ที่ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ คือการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ตามหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ธรรมศาสตร์ ครูต้องเป็นพราหมณ์เท่านั้น ครูที่เป็นกษัตริย์หรือไวศยะก็มีบ้าง แต่น้อยและไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากครูเป็นผู้ที่อยู่ในวรรณะสูง ครูจึงเป็นผู้ที่สังคมให้เกียรติอย่างสูง เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ผู้ใดจะดูหมิ่นเหยียดหยามครูไม่ได้ ทุกคนต้องให้ความเคารพครู ชีวิตครูขึ้นกับบุคคลอื่น จึงไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนเกี่ยวกับรายได้ของครู รายได้ที่เป็นวัตถุสิ่งของอาจจะไม่มีมากนัก แต่ผลที่ได้ทางด้านจิตใจนั้น ครูได้รับความเคารพนับถือเหมือนเทพเจ้า ความสัมพันธ์ของครูกับศิษย์เป็นความสัมพันธ์อันใกล้ชิดเหมือนบิดากับบุตร ศิษย์ต้องอาศัยในบ้านของครู ครูจะสอนวิชาความรู้ให้เมื่อมีความพอใจและมีเวลาว่าง ครูจะไม่สอนแก่บุคคลที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้นจึงมีหลักปฏิบัติมากมายสำหรับศิษย์ เพื่อทำให้ครูถ่ายทอดความรู้ให้ด้วยความเต็มใจ ครูเองก็ปฏิบัติต่อศิษย์เหมือนศิษย์เป็นบุคคลในครอบครัวของตน เมื่อศิษย์มีความผิดก็ตำหนิลงโทษตามความเหมาะสม ศิษย์ผู้อยู่ในวัยเรียนได้รับเกียรติในสังคมอินเดียโบราณเป็นอย่างดี แต่ศิษย์ผู้เรียนสำเร็จและผ่านพิธีสนานเป็นสนาตกะแล้วจะได้รับเกียรติสูงกว่าศิษย์ผู้อยู่ในวัยเรียน ในด้านบทบาทการสั่งสอนวิชาความรู้แก่ศิษย์นั้นคล้ายคลึงกับระบบการเรียนการสอนของไทยสมัยโบราณ มีการหวงวิชาความรู้ไว้เพื่อถ่ายทอดแก่ศิษย์ผู้ใกล้ชิดโดยใช้วิธีถ่ายทอดแบบสอนปากเปล่า หลักปฏิบัติต่างๆ ของศิษย์ เช่น การหาน้ำ การนวดให้ครู ตลอดจนมารยาทในการนั่ง นอน ยืน และอื่นๆ ก็มีส่วนคล้ายคลึงกัน สำหรับส่วนที่แตกต่างกันคือคนในสังคมไทยมีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนโดยไม่ถูกจำกัดด้วยวรรณะเหมือนระบบการศึกษาของอินเดียโบราณและครูที่ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์ธรรมศาสตร์เป็นครูอาชีพ กำหนดว่าเป็นหน้าที่หลักของพราหมณ์แต่ครูของไทยสมัยโบราณไม่ปรากฏมีครูอาชีพ ผู้มีความรู้สามารถตั้งตัวเป็นครูได้ตามแต่สังคมจะยอมรับว่ามีความสามารถเพียงใดหรือไม่มากกว่า. |
Other Abstract: | Opinions respecting teachers and students are found in various Indian scriptures from the Vedic period onwards. Yet they are not systematically arranged. Dharmasastra texts, recognized as the most important scriptures of the ancient Indian society during the period when the Brahmans enjoyed the highest social prestige, give numerous accounts describing Brahmans as teachers and their relations to students. Brahmans of ancient India not only played an important role in the formation of the Indian culture but also the transmission of the Indian culture into Thailand as they were the Royal ceremomy performers in the Thai Court of the old days. The status of the Brahmans as teachers is however not well recognized in Thailand as much as ceremony performers. The Dharmasastra literature as a whole is valuable in so far as they constitute documentary evidence and should be carefully studied and analyzed. The researcher, therefore, having collected information from the Dharmasastra literature and other related documents, made a critical study of them and came to the conclusion that teachers of old India were essential in their educational system. Their noted importance rests on their duty of transmitting knowledge to their students. According to the Dharmasastra Scriptures, a teacher must be a Brahman by caste, admitting that some might be a Kshatriya or a Vaishys, the case is rare. Being of the highest caste, they are to be honoured and inviolable. They are the object of veneration and esteem. Their financial status depends on others, however, thus there is no fixed regime regarding their earnings. Materially, their earnings may be small, but spiritually they are like gods, a fact which is more than adequate for the compensation. The relation between teachers and students is more like that of fathers and sons. A student has to live in his teacher’s home, who will give him instruction of his own accord when he has free time. No lessons will be given to those who are not intimate to him. Naturally there are many duties for students towards their teachers in order to gain this special treatment. The teachers themselves treat students as if they belong to their families. Students who do wrong will be punished. These students are actually honoured in practice but not so much as those who have completed their study and have performed the last bath as the Snatakas. The Indian teaching method is similar to that of Thailand in the old days. Certain academic secrets will not be revealed by teachers except to their highly selected students. The usual method employed in teaching is personal, that is by word of mouth. There is also striking similarities in the behaviours of students to their teachers, such as the personal attendance given to the teacher’s bathing, in giving massage and other mannerism between the Thai and the Indian tradition. The difference between the Thai and Indian systems, however, exists. One is the lack of the caste system in the Thai society and that teaching in the old days of Thailand was never regarded as being a social occupation. The status of an old Thai teacher depends more on the social recognition of his knowledge and this fact can make him establish himself as a teacher at his will. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาตะวันออก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25797 |
ISBN: | 9745642045 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weerayud_Eg_front.pdf | 484.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerayud_Eg_ch1.pdf | 412.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerayud_Eg_ch2.pdf | 966.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerayud_Eg_ch3.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerayud_Eg_ch4.pdf | 693.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerayud_Eg_ch5.pdf | 299.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerayud_Eg_back.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.