Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2579
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดสรร ศิริไวทยพงศ์-
dc.contributor.advisorชัยณรงค์ โลหชิต-
dc.contributor.authorศศิธร พนโสภณกุล, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-18T08:01:21Z-
dc.date.available2006-09-18T08:01:21Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741762259-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2579-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจหาการแสดงลักษณะของการเป็นสัดแรกหลังคลอดรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของลักษณะรังไข่ และระดับฮอร์โมนเอสตร้าไดอัล-17 เบต้า ในแม่ม้าหลังคลอด โดยศึกษาในแม่ม้าลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองของไทย จำนวน 30 ตัว แม่ม้าทุกตัวจะได้รับการตรวจการเป็นสัดทุกวัน และตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของฟอลลิเคิลบนรังไข่โดยการล้วงตรวจร่วมกับการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านทางทวารหนัก วันเว้นวัน ตั้งแต่วันที่ 5 หลังคลอดจนกระทั่งแสดงอาการเป็นสัด แล้วจึงเปลี่ยนเป็นทำการตรวจทุกวันจนกระทั่งมีการตกไข่ ยกเว้นแม่ม้าที่ไม่แสดงอาการเป็นสัดจะทำการตรวจวันเว้นวันจนถึงวันที่ 21 หลังคลอด ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมนเอสตร้าไดอัล-17 เบต้า ผลการศึกษาจาก 25 ตัวพบว่า แม่ม้าจำนวน 23 ตัว (92%) มีการตกไข่ภายใน 20 วันหลังคลอด ซึ่งมีเพียง 10 ตัว (40%) ที่แสดงการเป็นสัดแรกหลังคลอด โดยมีค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาตั้งแต่คลอดจนถึงแสดงการเป็นสัดแรก และช่วงเวลาตั้งแต่คลอดจนกระทั่งตกไข่ เท่ากับ 10.30+-2.95 และ 13.39+-2.61 วัน ตามลำดับ ในกลุ่มนี้พบว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของฟอลลิเคิลก่อนตกไข่มากกว่ากลุ่มของแม่ม้าที่ไม่แสดงการเป็นสัดแรกหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (43.54+-6.67 และ 38.55+-2.38 มิลลิเมตร ตามลำดับ; P<0.05) ผลการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเอสตร้าไดอัล-17 เบต้า พบว่ามีค่าสูงขึ้นอย่างชัดเจน ที่ 5 วันก่อนตกไข่ (7.01+-2.96 พิโครกรัม/มิลลิลิตร) และมีค่าสูงสุดที่ 2 วันก่อนตกไข่ (10.79+-3.3 พิโครกรัม/มิลลิลิตร) โดยพบว่ากลุ่มของแม่ม้าที่แสดงอาการเป็นสัดมีระดับฮอร์โมนเอสตร้าไดอัล-17 เบต้า ที่ 2 วันก่อนตกไข่สูงกว่าในกลุ่มของแม่ม้าที่ไม่แสดงอาการเป็นสัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (11.95+-3.72 และ 8.45+-2.28 พิโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ; P<0.05) และพบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของฟอลลิเคิลที่ใหญ่ที่สุด กับ ระดับของฮอร์โมนเอสตร้าไดอัล-17 เบต้า ที่ 5 วัน และ 2 วันก่อนตกไข่ ในแม่ม้าทั้งสองกลุ่ม (P<0.05) จากผลดังกล่าวแสดงว่า การจัดการผสมพันธุ์แม่ม้าที่หลังคลอดโดยการตรวจหาวันตกไข่ด้วยวิธีต่างๆ นั้น สามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการผสมพันธุ์ได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้โอกาสของการผลิตลูกม้าต่อแม่สูงขึ้นด้วยen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to investigate the ovarian activity and changing of serum estradiol-17 beta (E[subscript 2]) for detection of first postpartum estrus. Thirty Thai crossbred native mares were used in the study. All mares were teased daily and their ovarian follicular changes were monitored using ultrasonography and rectal palpation every other day from day 5[superscript th] postpartum until the mare showed estrous signs,then,daily examined until the ovulation occurred. Whereas, the mares that failed to show an overt estrus were examined every other day until ovulation or until day 21[superscript st] postpartum. Blood samples were taken from all mares, at examination time, for radioimmunoassay E[subscript 2] analysis. The results of twenty-five mares showed that ovulation occurred within 20 days postpartum in 23 (92%) mares but only 10 (40%) mares showed first postpartum estrus. Interval of foaling to first estrus and to first ovulation from these mares were 10.30+-2.95 and 13.39+-2.61 days,respectively. The mares that showed postpartum estrus had a significant higher in the diameters of preovulatory follicles than those of the mares failed to show the first postpartum estrus (43.54+-6.67 vs 38.55+-2.38 mm., respectively; P<0.05). Serum E[subscript 2] increased from 7.01+-2.96 pg/ml. to a peak of 10.79+-3.3 pg/ml. 2 days before ovulation. The peak of E[subscript 2] in the mares, with postpartum estrus, was significantly higher than that in the mares without estrus signs (11.9+-3.72 vs 8.45+-2.28 pg/ml., respectively; P<0.05). A significant correlation were found between the size of largest follicle and the maximum concentration of serum E[subscript 2] in both groups (P<0.05). These results demonstrated that the postpartum breeding management by careful examination of ovarian activity with various method may be able to increase breeding performance and foal production.en
dc.format.extent1044526 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเป็นสัดen
dc.subjectม้า -- การสืบพันธุ์en
dc.titleการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรังไข่ และระดับฮอร์โมนเอสตร้าไดอัล-17 เบต้าภายหลังการคลอดในแม่ม้าลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองของไทยen
dc.title.alternativeA study of postpartum ovarian activity and serum estradiol-17beta level in Thai crossbred native mareen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSudson.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorChainarong.L@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasithorn.pdf940.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.