Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25819
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิจินตน์ ภาณุพงศ์
dc.contributor.authorสุรภี สังขพิชัย
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-24T07:51:25Z
dc.date.available2012-11-24T07:51:25Z
dc.date.issued2521
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25819
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractในวิทยานิพนธ์นี้ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะโครงการทางไวยากรณ์ของข้อความที่เป็นภาพพจน์ในวรรณกรรมร้อยแก้วภาษาไทยปัจจุบัน โดยจะศึกษาเฉพาะข้อความที่มีความหมายทำนองเปรียบเหมือนและที่มีความหมายทำนองเปรียบเป็น ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้จากหนังสือที่เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วภาษาไทยที่ผู้วิจัยได้เลือกไว้ประมาณ 30 เล่ม ซึ่งแต่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6 ) จนถึงสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2520) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ข้อความที่เป็นภาพพจน์ทำนองเปรียบเหมือนและทำนองเปรียบเป็นจะมีลักษณะโครงสร้างทางไวยากรณ์ ซึ่งวิเคราะห์ได้เป็น 5 หัวข้อคือ 1) ชนิดของประโยคซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ประโยคสามัญและประโยคซับซ้อน 2) หน่วยประโยคซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยโครงสร้างของประโยคสามัญมีอยู่ 5 ชนิด ส่วนบทอนุพากย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยโครงสร้างของอนุพากย์ในประโยคซับซ้อนมีอยู่ 4 ชนิด 3) โครงสร้างของประโยค ประโยคสามัญที่มีข้อความเป็นภาพพจน์ทำนองเปรียบเหมือนจะมีโครงสร้างอยู่ 4 แบบ ที่มีข้อความเป็นภาพพจน์ทำนองเปรียบเป็นจะมีโครงสร้างอยู่ 5 แบบ 4) ชนิดของวลีมีอยู่ 2 ชนิดคือ นามวลีและกริยาวลี 5) ชนิดของหน่วยวลีในประโยคสามัญ หน่วยวลีซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยโครงสร้างของนามวลีมี 5 ชนิด และของกริยาวลีมี 3 ชนิด ในประโยคซับซ้อนหน่วยวลีของนามวลีจะมี 4 ชนิด ส่วนหน่วยวลีของกริยาวลีจะมี 3 ชนิด 6) โครงสร้างของวลีในประโยคสามัญ นามวลีจะมีโครงสร้าง 5 แบบ กริยาวลีจะมีโครงสร้าง 4 แบบ ในประโยคซับซ้อนนามวลีจะมีโครงสร้าง 4 แบบ กริยาวลีจะมีโครงสร้าง 4 แบบ 7) หมวดคำในประโยคสามัญและประโยคซับซ้อนจะมี 17 หมวด ซึ่งแบ่งเป็นคำหลัก 4 หมวด และเป็นคำไวยากรณ์ 13 หมวด ใน 13 หมวดนี้แบ่งย่อยเป็นหมวดคำขยาย 10 หมวด และหมวดคำเชื่อม 3 หมวด ผลการวิจัยได้เสนอเป็นบทรวม 6 บท บทที่ 1) บทนำ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขตของการวิจัย บทที่ 2) กล่าวถึงลักษณะของภาพพจน์และวิธีการแสดงภาพพจน์ในภาษาไทย บทที่ 3) กล่าวถึงโครงสร้างทางไวยากรณ์ของประโยคที่มีข้อความเป็นภาพพจน์ทั้งที่เป็นประโยคสามัญและประโยคซับซ้อน บทที่ 4) กล่าวถึงชนิดของวลีและโครงสร้างของวลีในประโยคที่มีข้อความเป็นภาพพจน์ บทที่ 5) กล่าวถึงหมวดคำที่ประกอบกันเป็นประโยคที่มีข้อความเป็นภาพพจน์ ส่วนบทที่ 6) เป็นการสรุปผลการวิจัยและเสนอแนะ โดยเสนอแนะให้ผู้ที่สนใจภาษาไทยศึกษา วิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างทางไวยากรณ์ของข้อความที่มีลักษณะจำกัดทำนองเดียวกับข้อความที่เป็นภาพพจน์ เช่น สุภาษิต เป็นต้น
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study the grammatical structure of the figures of speech in modern Thai literary prose, relating to simile and metaphor. The data are collected from approximately 30 selected books of Thai prose written during the reign of King Vajiravuth (Rama VI) up to the present day (B.E.2520) The similes and the metaphors are studied under five stages of grammatical structure. The study reveals the followings: a) sentence types : 2 types of sentences: simple and complex sentences; b) sentence constituents : 5 sentence constituents functioning in the simple sentence and only four of them functioning in the complex sentence; c) sentence structure : 4 patterns of sentence structure in the simile and 5 patterns in the metaphor; d) phrase types : 2 types of phrases : noun phrases and verb phrases; e) phrase constituents : 5 constituent types of noun phrase and 3 of verb phrase in a simple sentence, and only 4 and 3 constituent types of noun and verb phrase respectively in a complex sentence; f) phrase structure : 5 patterns of structure of noun phrase and 4 patterns of verb phrase in a simply sentence, and only 4 patterns of both noun phrases and verb phrases in a complex sentence; g) word-classes : 17 word-classes in both simple and complex sentences. These may be divided into 4 mail word-classes and 13 function words, the latter of which may be subdivided into 10 modifying classes and 3 linkers. The thesis consists of 6 chapters : Chapter 1 : Introduction, in which scope and purpose are stated. Chapter 2 : The characteristics of figures of speech, and how they are applied in Thai. Chapter 3 : The grammatical structure of similes and metaphors in both simple and complex sentences. Chapter 4 : The types and structures of phrases in similes and metaphors. Chapter 5 : The word-classes found in simile and metaphors. Chapter 6 : Conclusion and Further Research. Further research should be undertaken on similar constructions, for example, proverbs, which have limited patterns of structure as similes and metaphors.
dc.format.extent452780 bytes
dc.format.extent460425 bytes
dc.format.extent667410 bytes
dc.format.extent898532 bytes
dc.format.extent1443620 bytes
dc.format.extent1062361 bytes
dc.format.extent699251 bytes
dc.format.extent808722 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleลักษณะโครงสร้างทางไวยากรณ์ของข้อความที่เป็นภาพพจน์ ในวรรณกรรมร้อยแก้วภาษาไทยปัจจุบันen
dc.title.alternativeA study of the grammatical structure of figures of speech in modern Thai proseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surapee_Sa_front.pdf442.17 kBAdobe PDFView/Open
Surapee_Sa_ch1.pdf449.63 kBAdobe PDFView/Open
Surapee_Sa_ch2.pdf651.77 kBAdobe PDFView/Open
Surapee_Sa_ch3.pdf877.47 kBAdobe PDFView/Open
Surapee_Sa_ch4.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Surapee_Sa_ch5.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Surapee_Sa_ch6.pdf682.86 kBAdobe PDFView/Open
Surapee_Sa_back.pdf789.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.