Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25823
Title: | ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล |
Other Titles: | Criminal liability of legal persons |
Authors: | สุรพงศ์ อัศวราพานิช |
Advisors: | ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นิติบุคคลเป็นบุคคลตามกฎหมาย เกิดขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งบัญญัติของกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ได้ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของตน ดังมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือกฎหมายจัดตั้ง และมีฐานะเป็นบุคคลต่างหากจากบุคคลธรรมดาที่รวมกันเข้านั้น มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล แยกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยที่จะให้นิติบุคคลต้องรับผิดทางอาญา เพราะนิติบุคคลโดยสภาพแล้ว ไม่มีตัวตน ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีการกระทำและเจตนาที่แสดงออกเองได้ และความผิดบางชนิดมีโทษซึ่งไม่อาจใช้ลงกับนิติบุคคลได้ เช่น โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเห็นด้วยที่จะให้นิติบุคคลมีความรับผิดทางอาญา เพราะกฎหมายได้รับรองฐานะของนิติบุคคลไว้แล้ว และอาจแสดงเจตนาหรือกระทำการได้โดยผ่านทางผู้แทนของนิติบุคคล นอกจากนี้ยังอาจใช้โทษทางอาญา เช่น โทษปรับริบทรัพย์สิน กับนิติบุคคลได้ และประการสำคัญหากนิติบุคคลไม่สามารถมีความรับผิดทางอาญาได้แล้ว ก็อาจทำให้มีการใช้นิติบุคคลเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายได้ ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามกฎหมายไทย เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อครั้งใช้กฎหมายลักษณะอาญาแล้ว โดยได้มีการยอมรับทฤษฎีทาง Common Law ที่เรียกว่า ทฤษฎี alter ego (ฉันคือผู้อื่น) ซึ่งหมายความว่า ให้ถือเอา การกระทำและเจตนาของผู้แทนของนิติบุคคลเป็นการกระทำและเจตนาของนิติบุคคลนั้นเอง ดังนั้น นิติบุคคลจึงมีเจตนาทางอาญาได้ และศาลฎีกาของไทยได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 787 – 788/2506 (ประชุมใหญ่) ฏ.1341 ว่า นิติบุคคลมีเจตนาในการกระทำความผิดอาญาได้ ซึ่งต้องพิจารณาจากลักษณะของความผิด พฤติการณ์แห่งการกระทำ ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้แทนนิติบุคคล ประกอบกับวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้หรือตามกฎหมายจัดตั้งเป็นประการสำคัญด้วย เมื่อนิติบุคคลมีเจตนาในทางอาญาได้ นิติบุคคลก็ย่อมมีความรับผิดหรือกระทำความผิดอาญาได้ เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา (เว้นแต่ กรณีเป็นความรับผิดที่เป็นการเฉพาะตัวขอบุคคลธรรมดา) ในบางกรณีนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาอาจมีการกระทำความผิดด้วยกันได้ โดยเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด หรือเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด หรือมีการสนับสนุนการกระทำความผิด สำหรับฐานความผิดที่นิติบุคคลอาจกระทำได้นั้น ไม่อาจกำหนดแน่นอนได้ แต่จะต้องพิจารณาจากการกระทำแต่ละเรื่องเป็นกรณี ๆ ไป ซึ่งอาจต้องพิจารณาจากลักษณะของความผิด และพฤติการณ์แห่งการกระทำประกอบกัน และที่ศาลฎีกาได้ลงโทษนิติบุคคลไปแล้ว ได้แก่ ความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า, ปลอมและใช้เอกสารปลอม, ฉ้อโกงประชาชน, ความผิดเกี่ยวกับการค้า, ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค, ความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ฯลฯ ส่วนโทษที่จะใช้ลงกับนิติบุคคลนั้น ย่อมเป็นไปตามกฎหมายตามสภาพของความผิด และตามสภาพของนิติบุคคลที่จะเปิดช่องให้ลงได้ นอกจากนี้ยังอาจใช้มาตรการอย่างอื่น เช่น การสั่งให้เลิกกิจการ การพักใช้ใบอนุญาต ประกอบเข้ากับโทษที่จะใช้ลงแก่นิติบุคคลได้อีกด้วย |
Other Abstract: | A legal person or juristic person is a person according to the law but it esists by virtue of legal provisions, having rights and duties as provided by law within the scope of its object as defined in the regulation or constitutive law and having a status independent from natural persons forming it. There are two theories concerning a criminal liability of a legal person. According to the first theory, a legal person is not criminally liable because it has no body, spirit by its nature. It is unable to commit any act or express its own intention. Furthermore, some kinds of punishment cannot be applied o a legal person, i.e. death penalty, imprisonment and confinement. According to another theory, a legal person can be criminally liable because its status has been recognized by law and it can express its own intention or commit ay act through its representation. Furthermore, some kinds of punishment such as fine and forfeiture of property can still be applied to it. Therefore, if a legal person is not criminally liable, it may be used to procure some advantages not entitled by law. Criminal liability of legal person has been found in Thai law since the application of the first Penal Code of B.E. 2451. The common-law theory of “alter ego” stating that act and intention of a legal person’s representative are those of such legal person itself has long been accepted. Therefore a legal person can express criminal intent as decided by the Thai Supreme Court in its decision no. 787-788/2506 (en banc) that considering from nature of each offense, circumstance and powers of its representative together with the scope of its object as registered or provided in the constitutive law, a legal person can express its criminal intent. Having criminal intent, a legal person must therefore be criminal liable to the same extent as a natural person (except those crimes which, be reason of their nature, may be committed only by a natural person). In some cases, a legal person and a natural person may commit an offense together by being principal, instigator or supporter. We cannot strictly describe what type of offense which can be committed by a legal person because it depends on nature of each offense and circumstance. However, the Supreme Court ever punished legal persons for the crimes of violation of registered trade mark, false document, fraud, trade, misapplication of checks, petty offences of section 368 etc. With respect to the punishment, a legal person is punishable as provided by law according to possible nature of each offence. However, some other measures may be imposed together with appropriate criminal punishment, i.e. dissolution, suspense of license etc. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25823 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suraphong_As_front.pdf | 550.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suraphong_As_ch1.pdf | 828.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suraphong_As_ch2.pdf | 848.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suraphong_As_ch3.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suraphong_As_ch4.pdf | 942.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suraphong_As_ch5.pdf | 508.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suraphong_As_back.pdf | 280.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.