Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25838
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม-
dc.contributor.authorชญานิน ธนะสุขถาวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-24T11:29:19Z-
dc.date.available2012-11-24T11:29:19Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25838-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ของผู้ชมในประเทศไทย ศึกษาถึงสภาพทั่วไปของระบบสายหนังในประเทศไทย และเพื่อศึกษาแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของระบบสายหนังในประเทศไทย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบสืบเสาะ (Exploratory Research) เป็นการค้นคว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจในผลกระทบจากการขยายกิจการโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ต่อระบบสายหนังในประเทศไทยดำเนินการเก็บข้อมูลทั้งจากบุคคลโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดและการศึกษาวิจัยเอกสาร จากนั้นรายงานผลการวิจัยออกมา จากการสำรวจจากกลุ่มผู้ชมที่เข้าชมโรงภาพยนต์มัลติเพล็กซ์จำนวน 400 คน ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรีมย์ สงขลา ชลบุรี นครปฐม และปทุมธานี พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-22 ปี มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยรู้จักโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ผ่านโฆษณาทางโทรทัศน์ มีความถี่ในการเข้าชมภาพยนตร์ 1 ครั้งต่อเดือน นิยมเข้าชมภาพยนตร์ในวันอาทิตย์กับกลุ่มเพื่อนที่โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์แบบอยู่ในห้างสรรพสินค้ามากที่สุด ภาพยนตร์ที่เข้าไปชมส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์แอ็คชันผจญภัยจากต่างประเทศ โดยจะเลือกชมเสียงพากย์ไทยมากกว่าเสียงในฟิล์ม ผู้ชมมีความเห็นว่าโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เหมาะสำหรับการมาพักผ่อนคลายเครียด แต่จะไม่มาใช้บริการถ้าราคาสูงเกินไป สำหรับทัศนคติต่อองค์ประกอบของโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ที่เคยใช้บริการ ผู้ชมนั้นมีความชอบมาก โดยเฉพาะในด้านระบบเสียง ระบบจอภาพและเครื่องฉาย ผลการวิจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ พบว่า ในปีพ.ศ.2555 อาณาเขตสายหนังได้ลดจำนวนลงเหลือเพียง 4 สาย จากเดิม 6 สาย ได้แก่ สายตะวันออก สายเหนือและแปดจังหวัด สายอีสาน และสายใต้ โดยมีบริษัทที่ดำเนินกิจการสายหนังอยู่ทั้งหมด 6 บริษัท นอกจากนั้นยังพบว่าความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของระบบสายหนังในประเทศไทยมี 4 ประการ คือ รูปแบบโครงสร้างองค์กรของสายหนัง, รูปแบบการซื้อขายภาพยนตร์, การจัดส่งภาพยนตร์ และการสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ไทยen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to explore the attitude and behavior of the film audiences towards multiplex theaters in Thailand, to find out the scenario of domestic film distribution system and to examine the changes and trends of film distribution system in Thailand. The results of the audiences’ attitude survey indicate that most multiplex audiences are female, aged between 18 to 22 years old. Their average income is less than 10,000 baht per month. Most of them are students and learn about multiplex theaters through TV commercials. They usually go to the theaters with friends, at least once a month, preferably on Sunday. They like multiplex theaters that are located in the department stores most. Their favorite movies are foreign action movies. They prefer Thai dubbed versions to original soundtrack. The subjects consider multiplex theaters as places for relaxation suitable for regular visit, provided that the price is not too high. As regards their attitudes towards the components of the multiplex theaters, it is found that they particularly like the sound system, the screen system and the projector. The results of in-depth interviews show that nowadays the provincial film distribution in Thailand has been reduced from 6 to 4 distributing zones, namely, the Eastern Zone, the Northern Zone plus 8 central provinces, the Northeastern Zone and the Southern Zone. There are currently 6 distribution companies in business. The interview also reveals that the changes and trends of domestic distribution system in Thailand can be classified into 4 aspects: the organization structure of the distribution companies, the pattern of buying and selling films, film delivery and the support of domestic film production.en
dc.format.extent4834403 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1857-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์en
dc.subjectภาพยนตร์en
dc.subjectผู้ชมภาพยนตร์en
dc.titleผลกระทบจากการขยายกิจการโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ต่อระบบสายหนังในประเทศไทยen
dc.title.alternativeThe impact of multiplex theater expansion on provincial film distribution system in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการภาพยนตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRuksarn.V@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1857-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chayanin_ta.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.