Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25842
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม-
dc.contributor.advisorธาตรี ใต้ฟ้าพูล-
dc.contributor.authorกสิณ ถิระกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-24T11:52:32Z-
dc.date.available2012-11-24T11:52:32Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25842-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าของกลยุทธ์การวางตราสินค้าในภาพยนตร์ประเภทรักวัยรุ่น (Romantic-Comedy) และศึกษาทัศนะของผู้ชมภาพยนตร์ที่มีต่อกลยุทธ์การวางตราสินค้าในแต่ละรูปแบบวิธีการนำเสนอที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ประเภทรักวัยรุ่น เพื่อเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์การวางตราสินค้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยแบ่งการศึกษาเป็นสองส่วน คือ การศึกษารูปแบบการนำเสนอกลยุทธ์การวางตราสินค้าในภาพยนตร์ประเภทรักวัยรุ่น โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากภาพยนตร์ไทยประเภทรักวัยรุ่น จำนวน 10 เรื่อง และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากบุคคลผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการผลิตและสร้างสรรค์กลยุทธ์การวางตราสินค้าในภาพยนตร์ประเภทรักวัยรุ่น จำนวน 3 ท่าน และการศึกษาทัศนะของผู้ชมภาพยนตร์ที่มีต่อรูปแบบของกลยุทธ์การวางตราสินค้าในภาพยนตร์ประเภทรักวัยรุ่น โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม จำนวน 30 ท่าน ผลวิจัยพบว่าสามารถแบ่งรูปแบบการนำเสนอกลยุทธ์การวางตราสินค้าได้ตามเกณฑ์ลักษณะวิธีการในการนำเสนอสินค้าและตราสินค้าได้ 6 ประเภท ได้แก่ การนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าที่ใช้เป็นส่วนประกอบในฉาก การนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าโดยให้ตัวละครทำการใช้งาน การนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าเพื่อใช้บอกสถานที่ การนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าโดยการสร้างอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆผ่านสินค้าหรือตราสินค้า การนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าในมุมมองที่แตกต่างจากการโฆษณาหรือการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้า และการนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบด้านสัญลักษณ์ในเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ และทัศนะของผู้ชมต่อรูปแบบการนำเสนอกลยุทธ์การวางตราสินค้า พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการรับทราบถึงการมีอยู่ของกลยุทธ์การวางตราสินค้า และสามารถอธิบายถึงกลยุทธ์การวางตราสินค้าในระดับพื้นฐาน รูปแบบการนำเสนอกลยุทธ์การวางตราสินค้าที่กลุ่มตัวอย่างสามารถจดจำได้ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการนำเสนอที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ หรือการใช้สินค้าหรือตราสินค้าเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งในการเล่าเรื่องหรือดำเนินเรื่องภาพยนตร์ ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างสนใจและจดจำสินค้าหรือตราสินค้า ได้แก่ การเน้นไปที่สินค้าหรือตราสินค้า ลักษณะเฉพาะตัวของสินค้าหรือตราสินค้า สินค้าหรือตราสินค้าเข้ามามีบทบาทอยู่ในเนื้อเรื่อง และนักแสดงกับการจับคู่กับสินค้าหรือตราสินค้า คือ การใช้นักแสดงนำชื่อดังเข้ามานำเสนอสินค้าหรือตราสินค้า รูปแบบการนำเสนอกลยุทธ์การวางตราสินค้าโดยการนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าโดยการสร้างอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆผ่านสินค้าหรือตราสินค้า และการนำเสนอสินค้าหรือตราสินค้าเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบด้านสัญลักษณ์ในเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ ได้รับการให้คะแนนความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่งและสอง โดยการนำเสนอในรูปแบบที่ต่างจากการโฆษณามีคะแนนความนิยมน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการนำเสนออื่นๆทั้ง 6 รูปแบบen
dc.description.abstractalternativeThis research was studied the approach of brand placement’s presentation in romantic – comedy movie, and audience’s attitude for the presentation in each difference ways. The piece was used Qualitative Research which separated into two sections. The study of brand presentation strategy in teenager romantic – comedy movie, I analyzed context of 10 teenager romantic – comedy movies and in-depth interviewed 3 persons in movie industry whom involve on brand placement strategy. The study of audience’s attitude, I managed group interviews which total 30 persons sample. The results showed that the brand placement’s presentation can be strategically placed to 6 types the presentation of product or brand is used as a component in the scene. The presentation of product or brand used as a characters showed. The presentation of a product or brand used for identifies locations. The presentation of a product or brand used for creating a mood or feeling. The presentation of a product or brand in different perspective from advertising. And presenting a product or brand to use as a component of the symbol in the story of the movie. And attitudes of the audience to the presentation of the brand placement, the majority of the samples are aware of the existence of brand placement and can describes the basic strategy of the brand placement. The samples can recognize to representation of the brand placement are most of the styles that are relevant to the story of the movie or the use of a product or brand for any purpose or purposes of the narrative of the movie. Factors that make samples can recognize product or brand including a focus on the product or brand, characteristics of a product or brand, product or brand to play a role in the story and take the lead actors to present a product or brand. The presentation of a product or brand used for creating a mood or feeling and presenting a product or brand to use as a component of the symbol in the story of the movie has been rated as the most popular first and second and the presentation of a product or brand in different perspective from advertising are less popular compared to other forms of presentation of the six forms.en
dc.format.extent5826799 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1860-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาพยนตร์รักen
dc.subjectชื่อตราผลิตภัณฑ์en
dc.subjectโฆษณาแฝงen
dc.titleแนวทางการวางตราสินค้าในภาพยนตร์ประเภทรักวัยรุ่นen
dc.title.alternativeBrand placement approach in teenage romantic–comedy filmsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuthiluck.V@Chula.ac.th-
dc.email.advisorTatri.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1860-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kasin_ti.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.