Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2584
Title: ประสิทธิผลของวัคซีน พี อาร์ เอส ชนิดเชื้อเป็นในสุกรหย่านม
Other Titles: Efficacy of attenuated PRRS vaccine in weanling pigs
Authors: ระพี ปัญญาทอง, 2522-
Advisors: รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช
สันนิภา สุรทัตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Roongroje.T@Chula.ac.th
Sanipa.S@Chula.ac.th
Subjects: สุกร--โรค
วัคซีน
ไวรัสพีอาร์อาร์เอส
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน พี อาร์ อาร์ เอส ชนิดเชื้อเป็น (V1) ต่อการป้องกันโรคไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส สายพันธุ์ ประเทศไทย ในลูกสุกรอายุ 3 สัปดาห์จำนวน 5 กลุ่ม ๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 ได้รับเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส สายพันธุ์ 02SB3 (EU genotype) กลุ่มที่ 3 ได้รับเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส สายพันธุ์ 01NP1 (US genotype) กลุ่มที่ 4 ได้รับวัคซีนเชื้อเป็นชนิด V1 ก่อนได้รับเชื้อไวรัส 02SB3 กลุ่มที่ 5 ได้รับวัคซีนเชื้อเป็นชนิด V1 ก่อนได้รับเชื้อไวรัส 01NP1 โดยทำการฉีดวัคซีนให้สุกรกลุ่ม 4 และ 5 ในวันที่ 0 และ 21 ของการทดลอง และทำการฉีดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ประเทศไทยแต่ละชนิดตามความเหมาะสมให้สุกรกลุ่ม 2 3 4 และ 5 ในวันที่ 42 ของการทดลอง วัดประสิทธิผลของวัคซีนจาก อาการทางคลินิก การมีไข้ ค่าโลหิตวิทยา รอยโรคทางมหพยาธิวิทยาของปอด ต่อมน้ำเหลืองขั้วปอด และ ต่อมน้ำเหลืองลำไส้ รอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาของปอด การย้อมอิมมูนโนฮิสโตเคมีใน ปอด ต่อมน้ำเหลืองขั้วปอด ต่อมทอนซิล ลำไส้เล็ก ต่อมน้ำเหลืองลำไส้ และม้าม ปริมาณไวรัส และสารพันธุกรรมของไวรัสในเลือด และเนื้อเยื่อ ด้วยวิธี virus titration และ RT-PCR การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันด้วยวิธี ELISA และ serum neutralization ต่อไวรัส 3 สายพันธุ์ คือ 01NP1 (US genotype) 02SB3 (EU genotype) และ V1 และวัดประสิทธิภาพการผลิต จากการทดลอง ไม่พบการมีไข้ในสุกรทุกกลุ่ม และไม่มีความแตกต่างของค่าโลหิตวิทยา เว้นแต่สุกรกลุ่ม 3 ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นเวลา 5 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส พบการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองขั้วปอดในสุกรกลุ่ม 3 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พบรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาของปอดในสุกรกลุ่ม 3 4 และ 5 สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พบผลบวกต่อการย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมีใน ปอด ต่อมทอนซิล และต่อมน้ำเหลืองขั้วปอดอย่างละ 1 จาก 6 ตัวอย่างในกลุ่ม 2 ใน ปอด 1 จาก 6 ตัวอย่างในกลุ่ม 4 และใน ต่อมทอนซิล และต่อมน้ำเหลืองขั้วปอดอย่างละ 1 จาก 6 ตัวอย่างในกลุ่ม 5 สามารถตรวจพบไวรัสวัคซีนในกระแสเลือดของสุกรกลุ่ม 4 และ 5 รวม7 ตัวอย่างจากสุกรที่ทำวัคซีนครั้งแรกทั้งหมด 12 ตัว และการฉีดวัคซีนครั้งที่สองในวันที่ 21 ของการทดลองจะให้ ผลบวกของจำนวนตัวอย่าง ปริมาณไวรัสเฉลี่ย น้อยกว่าการให้วัคซีนครั้งแรก หลังจากการฉีดเชื้อพิษทับสายพันธุ์ต่าง ๆ ในวันที่ 42 ของการทดลองพบว่าสุกรทุกกลุ่มสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสในกระแสเลือดได้ยกเว้นสุกรกลุ่ม 4 โดยสุกรกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจะมีผลบวกของจำนวนตัวอย่าง และปริมาณไวรัสน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสุกรกลุ่มที่ได้รับการฉีดเชื้อพิษทับเพียงอย่างเดียว จากทั้งการทดสอบด้วยวิธี virus titration และ RT-PCR ผลการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในเนื้อเยื่อพบผลบวก 7/23 6/23 ตัว และ 3/13 ในต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอด ปอด และต่อมทอนซิลตามลำดับ โดยสุกรที่ได้รับการฉีดเชื้อพิษทับอย่างเดียวจะให้สัดส่วนผลบวกในปอดมากกว่าสุกรที่ได้รับวัคซีนร่วมด้วย แต่สุกรที่ได้รับวัคซีนร่วมด้วยจะมีสัดส่วนผลบวกในต่อมน้าเหลืองขั้วปอดมากกว่าสุกรที่ไดัรับการฉีดเชื้อพิษทับอย่างเดียว สุกรมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันตั้งแต่ 7 วันหลังได้รับวัคซีนโดยการทดสอบด้วยวิธี ELISA และมีค่าเฉลี่ย S/P ratio สูงสุดที่ 28 วันหลังจากทำวัคซีน หลังจากการฉีดเชื้อพิษทับสุกรทั้งสี่กลุ่มมีการตอบสนองต่อการฉีดเชื้อพิษทับ 12 วันให้หลัง โดยสุกรสองกลุ่มจะมีความใกล้เคียงกัน การทดสอบด้วยวิธี serum neutralization พบว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นสามารถ neutralization ได้เฉพาะกับไวรัส V1 (Vaccine virus; EU genotype) เท่านั้น โดยเริ่มพบไตเตอร์เฉลี่ยมากกว่า 2 ในวันที่ 42 หลังจากการทำวัคซีนเข็มแรกในสุกรทั้งสองกลุ่ม และเพิ่มขึ้น ตลอดจนสิ้นสุดการทดลอง ไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนของประสิทธิภาพการผลิต จากการทดลองพบว่าการฉีดวัคซีนพี อาร์ อาร์ เอส ชนิด V1 สามารถลดระยะเวลา และปริมาณไวรัสในกระแสเลือด แต่ไม่สามารถลดรอยโรค และไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิต
Other Abstract: The objective of this study was to evaluate efficacy of a modified live PRRS vaccine (V1) for controlling the disease induced by Thai PRRSV isolates. Five groups of pigs were included in the study. Each group contained six pigs. Group I was a control group. Group II was challenged with the EU genotype (02SB3). Group III was challenged with the US genotype (01NP1) . Group IV and V were initially vaccinated with V1 vaccine twice and later challenged with 02SB3 or 01NP1, respctively. Vaccine was given twice to group IV and V on day 0 and 21. All pigs were challenged with the Thai isolates on day 42. The vaccine efficacy was evaluated by : clinical symptoms, hematologic values, pathological findings, relative weight of lymph nodes, immunohistochemistry , the presence of virus in blood and tissues and production parameters. Immunologic responses to the challenged viruses were determined by ELISA and serum neutralization. None of the challenged groups developed fever. There was no statistical difference in hematological changes among all groups, except group III showing leucopenia for five days after receiving 01NP1. There was significant lymphadenopathy in group III and V (p<0.05) measured by an increased relative weight and histopathology. Positive immunohistochemical staining for PRRSV antigen of lung, tonsils, and lung hilar lymph nodes was demonstrated in one out of six samples obtained from group II III and V. The vaccine virus was detected in 7/12 blood samples after the first vaccination in group IV and V. After the second vaccination, positive samples and averaged viral titers and duration were less than those of the first vaccination. Following challenged with the Thai isolates, viremia was observed in all challenged groups. Both virus titration and RT-PCR demonstrated that vaccinated groups had less number of positive PCR samples and had lower viral load than the control group. At necropsy, the non-vaccinated groups had more PCR-positive lung samples than the vaccinated pigs. However, the vaccinated groups had more PCR-positive lung hilar lymph nodes. The antibody responses was firstly detected by ELISA, at 7 days after the first vaccination and peaked on day 28 . No anamnestic response was seen following the second vaccination. However, after challenged with the Thai isolates (both 01NP1 and 02SB3), the ELISA S/P ratio of the vaccinated groups moderately increased. Serum neutralization (SN) test demonstrated that significant neutralizing titers against V1 virus were found only in the vaccinated pigs. An average SN titer over 2 was observed from day 42 and continuously increased to the end of study. There were no differences in the production parameters. The results indicated that previous vaccination with the modified live PRRS vaccine could reduce viremia in some degree, but had no effect on pathological lesions and productivity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2584
ISBN: 9741769075
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Raphee.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.