Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25853
Title: | การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องโลกุปปัตติ |
Other Titles: | An analytical study of Lokuppatti |
Authors: | สมพงษ์ ปรีชาจินดาวุฒิ |
Advisors: | ฐานิสร์ ชาครัตพงษ์ สุภาพรรณ ณ บางช้าง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะ ตรวจสอบชำระ แปล และศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โลกุปปัตติ คัมภีร์นี้เป็นผลงานการแต่งของ พระสิริสมันตภัททบัณฑิตพระภิกษุชาวพม่า แห่งอาณาจักรพุกาม ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยที่การศึกษาภาษาบาลีในอาณาจักรพุกามกำลังเจริญรุ่งเรือง คัมภีร์โลกุปปัตตินี้ เป็นวรรณกรรมโลกศาสตร์ภาษาบาลีเรื่องหนึ่งในจำนวน 11 เรื่อง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวลานี้ เนื้อหาของคัมภีร์กล่าวถึง โลก 3 คือ สังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก การเกิดขึ้นและการเสื่อมสลายของโลกทั้ง 3 นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ ทวีป มหาสมุทร ภูเขา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ นักษัตร และวิถีโคจรของดวงดาวในจักรวาลการ กำหนด วัน เดือน ปี และยังได้บรรยายถึงรายละเอียดของส่วนประกอบของโลกตลอดจนสรรพสัตว์ในโลกที่เกิดขึ้นและดับไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทผู้ประพันธ์ได้อาศัย พระไตรปิฏก อรรถกถา และฏีกาเป็นหลักฐานโดยตลอด คัมภีร์นี้มีคุณค่าต่อวรรณกรรมโลกศาสตร์ที่แต่งในสมัยหลังเพราะมีการอ้างถึงในเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง จันทสุริยคติทีปนี จักกวาฬทีปนี และติโลกทีปนี คำประพันธ์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้ว โดยมีร้อยกรองแทรกอยู่บ้าง ร้อยกรองที่ปรากฏในเรื่องส่วนมากคัดมาจากคัมภีร์พระไตรปฏก อรรถกถา หรือฏีกา ส่วนที่แต่งเองมีอยู่บ้างเพียงเล็กน้อยเป็นที่น่าสังเกตว่า เนื้อเรื่องที่กล่าวถึง โอกาสโลก ภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ ในไตรภูมิพระร่วงคล้ายคลึงกับเรื่องโลกุปปัตติทั้งนี้เข้าใจว่า เนื้อเรื่องส่วนนี้ในคัมภีร์ทั้ง 2 คงจะมาจากที่เดียวกัน ข้อเสนอแนะในงานวิจัยคือ ในวรรณกรรมโลกศาสตร์ภาษาบาลีทั้ง 11 เรื่องได้มีผู้ศึกษาเพียงบางเรื่อง เรื่องที่ยังไม่มีผู้ศึกษาคือ ฉคติทีปนี มหากัปปโลกสัณฐานปัญญัตติ จันทสุริยคติทีปนี โลกทีปนี โอกาสโลกทีปนี และโลกสัณฐานโชตรณคันถี น่าจะมีผู้ศึกษาเรื่องดังกล่าวมานี้ เพื่อทราบเนื้อหาและทัศนะที่ปรากฏในวรรณกรรมโลกศาสตร์ภาษาบาลีโดยตลอด |
Other Abstract: | It is the objective of the present research to edit, translate and conduct a critical analysis of the Lokuppatti, a word of Sirisamantabhaddapandita, a Burmese Buddhist monk in the Pagan Kingdom in the second half of the 12th century A D., when the academic interest in Buddhist and Pali study readed its peak, and this thesis is the outcome of it. The text is one of the eleven Pali texts on Buddhist cosmology known to day. According to the text, there are three worlds, namely, Samkharloka, Sattaloka and Okasaloka. It describes how these worlds came into existence and how they would come to their final dissolution. It further gives details on the continents, oceans, mountains, the sun, the moon, the naksatras and the orbits of these planets and stars in the universe. There is a section dealing with chronology of the universe. There is a section dealing with chronology of the world, explaining that the division time is the consequence of the movement of the planets. The text has a lengthy exposition on the nature of worldly beings which rises falls in accordance with the Paticcasamuppda theory as recorded in the Tripitaka, commentaries and subcommentaries. This work has been received with high esteem as evidenced by the fact the references to it are made in such later texts as Tebhumikatha, Candasuriyagatidipani, Cakkavaladlpanl, and Tilokadlpani. The work was written in standard Pali in prose, often interspersed with veses Most of the verses are taken from the Tripitaka, commentaries and subcommentaries, with a small portion composed by the author himself. It is noteworthy that the sections on Okasaloka, the geographical description of the world and the heavenly bodies as related in Tebhumikatha agree closely with those of the present texts. The present researcher believes that this is partly due to the influence of this Lokuppatti and finally to the common Buddhist Sources. Some of eleven Pali texts on cosmology have been studied but some of them, Chagatidipani, Mahakappalokasanthanapannatti Candasuriyagatidipani, Okasalokadipani and Lokasanthanajotaranaganthi have not yet been studied. We still don’t know what they say or think in these Pali cosmological texts. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาตะวันออก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25853 |
ISBN: | 9745641987 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompong_Pr_front.pdf | 581.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pr_ch1.pdf | 965.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pr_ch2.pdf | 982.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pr_ch3.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pr_ch4.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pr_ch5.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pr_ch6.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pr_ch7.pdf | 309.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pr_back.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.