Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25858
Title: การศึกษาภาษาถิ่นย่อยของจังหวัดระยอง
Other Titles: A study of Rayong sub-dialects
Authors: สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์
Advisors: ปราณี กุลละวณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายหลักของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ การศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างกันของระบบเสียงและเสียงของภาษาถิ่นย่อยระยอง 5 ภาษา คือ ภาษาถิ่นย่อยระยองอำเภอเมือง อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลง อำเภอปลวกแดง และกิ่งอำเภอบ้านฉาง ก่อนที่จะเปรียบเทียบภาษาถิ่นย่อยระยองเหล่านี้ ผู้วิจัยต้องศึกษาวิเคราะห์ระบบเสียงของภาษาถิ่นย่อยระยองแต่ละภาษา ในการศึกษาวิเคราะห์ภาษาถิ่นย่อยระยองทั้ง 5 ภาษานี้ ผู้วิจัยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้บอกภาษา 5 คน ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ผู้บอกภาษาทั้ง 5 คนนี้ ผู้วิจัยได้คัดเลือกให้เป็นตัวแทนของผู้พูดภาษาถิ่นย่อยระยองแต่ละภาษา ผลของการวิจัยแสดงว่า ภาษาถิ่นย่อยระยองมีทั้งลักษณะเหมือนกันและแตกต่างกัน ภาษาถิ่นย่อยระยองส่วนใหญ่มีหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว 20 หน่วย มีเพียง 2 ภาษาเท่านั้นที่มีหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว 21 หน่วย โดยทั่วไปแล้วลักษณะทางสัทศาสตร์ของหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยวเหล่านี้คล้ายคลึงกัน ยกเว้นหน่วยเสียง / r / สำหรับหน่วยเสียงพยัญชนะที่ปรากฏร่วมกัน ภาษาถิ่นย่อยระยองอำเภอเมืองมีหน่วยเสียงพยัญชนะที่ปรากฏร่วมกันเพียง 4 แบบส่วนภาษาถิ่นย่อยระยองถิ่นอื่นๆมีหน่วยเสียงพยัญชนะที่ปรากฏร่วมกัน 10 แบบภาษาถิ่นย่อยระยองแต่ละภาษามีหน่วยเสียงพยัญชนะท้าย 9 หน่วยหน่วยเสียงสระเดี่ยว 18 หน่วย หน่วยเสียงสระประสม 3หน่วยลักษณะทางสัทศาสตร์ของหน่วยเสียงแต่ละชนิดที่กล่าวมานี้เมื่อเทียบภาษาถิ่นย่อยระยองทั้ง 5 ภาษาแล้ว คล้ายคลึงกัน สำหรับหน่วยเสียงวรรณยุกต์ มีเพียงภาษาถิ่นย่อยระยองอำเภอบ้านค่ายเท่านั้นที่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยภาษาถิ่นย่อยระยองอื่น ๆ มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วย รูปลักษณะของหน่วยเสียงวรรณยุกต์ของภาษาถิ่นย่อยระยองแต่ละหน่วยส่วนใหญ่เหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของระดับเสียงของรูปลักษณะของหน่วยเสียงวรรณยุกต์ซึ่งอาจจะสูงต่ำกว่ากัน นอกจากนี้ ภาษาถิ่นย่อยระยองอำเภอบ้านค่ายยังแตกต่างจากภาษาถิ่นย่อยระยองอื่นๆ ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงวรรณยุกต์กับหน่วยเสียงพยัญชนะต้นอีกด้วย เนื้อหาของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้แบ่งเป็น 8 บท คือ บทที่ 1 เป็นบทนำ กล่าวถึง ความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมาย ขอบเขต และวิธีการดำเนินการวิจัย บทที่ 2 ถึงบทที่ 6 กล่าวถึงระบบเสียงภาษาถิ่นย่อยระยองอำเภอเมือง อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลงอำเภอปลวกแดง และกิ่งอำเภอบ้านฉางตามลำดับ บทที่ 7 เป็นการเปรียบเทียบระบบเสียงและเสียงของภาษาถิ่นย่อยระยองทั้ง 5 ภาษา บทที่ 8 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ ในภาคผนวก ก. เป็นรายการคำที่ใช้ในการสอบถามผู้บอกภาษา ภาคผนวก ข. เป็นภาพคลื่นเสียงวรรณยุกต์ของภาษาถิ่นย่อยระยองทั้ง 5 ภาษา
Other Abstract: The main purpose of this theses is the comparative study of the phonological systems and the sounds of Rayong sub-dialects :Amphur Muang, Amphur Ban Khy, Amphur Klaeng, Amphur PluakDaeng and Ban Chang to see their similarities and deferences. To be able to compare these Rayong sub-dialects, the researcher had to study the phonological systems of each Rayong sub-dialect. The phonological analyses were based on the linguistic data collected from 5 informants in the areas. Each of these 5 informants was selected by the researcher as the representative of each Rayong sub-dialect. The comparative study has shown that Rayong sub-dialects have both similarities and differences. Most of the Rayong sub-dialects have 20 consonant phonemes, whereas only 2 Rayong sub-dialects have 21. In general these consonant phonemes are phonetically similar except for /r/ where there are differences. There are 10 clusters in the Rayong sub-dialects except for Amphur Muang sub-dialect which has only 4. Each Rayong sub-dialect has 9 final consonant phonemes, 18 single vowel phonemes and 3 diphthongs. There is no phonetic difference in each of these types of sounds when all the sub-dialects are compared. As for tones, only Amphur Ban Khay sub-dialect has 6 tones while the others have 5. The phonetic shape of each tone is largely similar. The difference lies in the level of pitches for each tone shape. Besides, Amphur Ban Khay sub-dialect shows a difference in the relationship between the tones and the initial consonants from the other dialects. The content of the thesis is divided into 8 chapters. The first chapter is the introduction which states the problem, the purpose, the scope and the introduction which state the problem, the purpose the scope and the process of the research. The second to the sixth chapter deal with the phonological systems of Amphur Muang, Amphur Ban Khay, Amphur Kleng, Amphur Pluak Daeng and Ban Chang sub-dialects respectively. The seventh chapter is the comparative study of the phonological systems and the sounds of these Rayong sub-dialects. The last chapter is the conclusion and suggestion. The first appendix presents the word list used in the field work and the second is the sound spectrograms of Rayong sub-dialects.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25858
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_Wi_front.pdf704.27 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_ch1.pdf623.21 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_ch2.pdf749.03 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_ch3.pdf690.27 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_ch4.pdf652.97 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_ch5.pdf598.39 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_ch6.pdf661.61 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_ch7.pdf982.76 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_ch8.pdf327.6 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Wi_back.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.