Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25863
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกองกาญจน์ ตะเวทีกุล
dc.contributor.authorอัฏฐพล ส่งแสง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-24T16:17:23Z
dc.date.available2012-11-24T16:17:23Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741715781
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25863
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เรื่องสั้นในช่วงระยะเวลา พ.ศ. 2538-2542 ในด้านเนื้อหารูปแบบ รวมถึงบริบททางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องสั้นดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าเรื่องสั้นในช่วงปีพุทธศักราช 2538-2542 สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมใหญ่ ๆ คือ ปัญหาครอบครัว เด็กและคนชรา โสเภณี อาชีพการงานของคนในสังคม วิถีชีวิตในเมืองหลวง ความยากจน ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม วงราชการ การทำธุรกิจ และปัญหาเศรษฐกิจ ด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์ พบว่า การใช้สัญลักษณ์สะท้อนค่านิยมและความเชื่อที่สร้างผลกระทบต่อครอบครัวรวมทั้งความเชื่อท้องถิ่นที่ถูกคุกคาม และวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมที่ขาดอิสรภาพ การเสนอเรื่องด้วยฉากสะท้อนสภาพแวดล้อมของเด็ก โดยแสดงให้เห็นถึงความหวาดกลัวและความรุนแรงในสังคมที่คุกคามเด็ก และสะท้อนสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของคนในท้องถิ่นต่อความเจริญ การตกเป็นทาสของวัตถุ และความเจริญกอบโกยทรัพยากรจากท้องถิ่น การเสียดสีสะท้อนระบบราชการที่ล่าช้าและค่านิยมการรับราชการ อีกทั้งสะท้อนวิถีชีวิตในเมืองที่ยากลำบาก รีบเร่ง นิยมวัตถุและภาวะตกงาน นอกจากนี้ยังสะท้อนวิถีชีวิตในชนบท โดยเสียดสีความเจริญที่เข้ามาสู่ชนบท อีกทั้งสะท้อนความยากจน โดยเสียดสีการประเมินคุณค่าของคนร่ำรวยที่มีต่อคนจน และเสียดสีการทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้กระแสสำนึกสะท้อนสภาวะบีบคั้นในจิตใจของคนในสังคม การจบเรื่อง พบว่าเรื่องสั้นจบด้วยความพ่ายแพ้ของตัวละครมากที่สุด โดยสะท้อนให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ของมนุษย์ต่อสามัญสำนึกและคุณธรรม มนุษย์ต่อสถานการณ์ มนุษย์ต่อมนุษย์ มนุษย์ต่อชะตากรรม และมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมทางสังคม ส่วนการจบด้วยความสุข พบว่า ตัวละครมักเป็นเด็ก แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้เขียนที่มีความหวังต่อเด็ก
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to analyze the short stories written during the period of 1995-1999 in terms of content, form and the social contexts that influenced those stories. The study shows that the short stories written during the years 1995-1999 reflect significant social problems, namely those concerning the family, children and the elderly, prostitutes, career life, urban life, poverty, environment changes, bureaucracy, business and the economy. In terms of literary techniques, it is found that symbols are used to present the values and beliefs that affect the family, the local creeds that are being threatened and the lack of freedom of people in the society. The settings convey the atmosphere of fear and violence that are a menace to children and the picture of the communities responding to progress and succumbing to materialism, and the exploitation of natural resources by the process of development. In these short stories, authors variously satirize red tape bureaucracy and people’s aspiration to become government officials; the urban life with its hardship, hastiness, materialism and unemployment; and the onward march of progress into the countryside, the assessment of the poor by the rich and environmental destruction. The research shows that the technique of stream of consciousness is used to portray the feeling of oppression experienced by people in the society. In terms of ending, it is found that most short stories end with the failures of the characters at maintaining their common sense and morality and at coping with the situations they are facing, their fellow human beings, their fates and their social surroundings. On the other hand, most happy endings are found in short stories with children as main characters. This clearly indicates the hope that the authors find in children.
dc.format.extent2613517 bytes
dc.format.extent3812560 bytes
dc.format.extent9954662 bytes
dc.format.extent44918096 bytes
dc.format.extent27967881 bytes
dc.format.extent4997962 bytes
dc.format.extent1405232 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleภาพสะท้อนสังคมในเรื่องสั้นไทยระหว่างพุทธศักราช 2538-2542en
dc.title.alternativeReflections of society in Thai short stories 1995-1999en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวรรณคดีเปรียบเทียบes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Attapol_so_front.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Attapol_so_ch1.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Attapol_so_ch2.pdf9.72 MBAdobe PDFView/Open
Attapol_so_ch3.pdf43.87 MBAdobe PDFView/Open
Attapol_so_ch4.pdf27.31 MBAdobe PDFView/Open
Attapol_so_ch5.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Attapol_so_back.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.