Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ พนัสพัฒนา-
dc.contributor.authorนิลุบล ขัมภรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-25T01:49:44Z-
dc.date.available2012-11-25T01:49:44Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25867-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractงานศิลปประยุกต์เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์หรือประกอบเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ใช้สอย ด้วยเหตุที่งานศิลปประยุกต์ทำให้สิ่งของเกิดความสวยงาม และช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสิ่งของนั้นๆ งานศิลปประยุกต์จึงเป็นสิ่งที่สามารถสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้แก่ผู้สร้างสรรค์ได้เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์ภายใต้กฎหมายไทยมีความไม่ชัดเจนและมีปัญหาความคาบเกี่ยวและความซ้ำซ้อนระหว่างกฎหมายหลายฉบับ จึงเป็นช่องว่างให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากงานศิลปประยุกต์อย่างไม่เหมาะสม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์ ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และประเทศไทย เพื่อให้ทราบและวิเคราะห์ปัญหาการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์ นำมาซึ่งการเสนอแนะรูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์ในประเทศไทย ทั้งนี้ ได้มีการสัมภาษณ์ผู้สร้างสรรค์ เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และศาล ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองงานศิลปประยุกต์ด้วย จากการศึกษาวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กำหนดนิยามงานศิลปประยุกต์ไม่ชัดเจน โดยลักษณะของงานศิลปประยุกต์ที่สมควรได้รับความคุ้มครอง จะต้อง 1) เป็นสิ่งของที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ 2) เป็นการใช้ประโยชน์จากงานศิลปกรรม และ 3) ลักษณะทางศิลปะที่ปรากฏจะต้องไม่ถูกจำกัดโดยการทำงาน (functional) ของสิ่งของนั้น และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนว่างานศิลปประยุกต์ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากงานศิลปกรรมเสมอไป จึงควรมีการแก้ไขความหมายของงานศิลปประยุกต์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าหมายถึง การสร้างสรรค์งานศิลปะซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์หรือประกอบรวมเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ใช้สอย นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นำไปใช้สอย นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า และเพื่อขจัดความคาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอันนำมาซึ่งการให้ความคุ้มครองซ้ำซ้อน ควรกำหนดให้งานศิลปประยุกต์ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพียงประเภทเดียว โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 โดยใช้ปริมาณการผลิตในการแบ่งแยกงานศิลปประยุกต์ออกจากแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าภายใต้ กฎหมายเครื่องหมายการค้า และกำหนดให้ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิเลือกว่าจะให้งานศิลปประยุกต์ของตนได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายฉบับใด และเมื่อเลือกขอรับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายฉบับใดแล้ว งานศิลปประยุกต์ก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาฉบับอื่นได้อีกต่อไปen
dc.description.abstractalternativeWorks of applied art are a form of an artistic creation with utilitarian function or incorporate in an useful article. Since works of applied art intend to induce art appreciation and add the economic value to an article, the authors also gain great commercial benefit from such works. However, protection of works of applied art under Thai law is ambiguous and there are some problems concerning the overlapping and concurrent among various intellectual property legislations. This causes a loophole, as a result, inappropriation commercial exploitation of such works does occur. This research is conducted to study laws relating protection of works of applied art of the United States of America, the United Kingdom, Republic of the Philippines and Thailand. Its purpose is to examine and analyze legal problems on protection of works of applied art in order to find the appropriate patterns for providing legal protection of works of applied art for Thailand. In addition, interviews of authors, officers of the Department of Intellectual Property and a judge of the intellectual property section of the supreme court who closely pertain to works of applied art protection are also included in this research. It is found that the definition of works of applied art under the Copyright Act of B.E.2537 is unclear. In order to get protection under the Act, works of applied art requires 1) to be an article showing enough level of originality 2) to be utilization from artistic works and 3) appearance of article shall not dictated by functional considerations. To achieve a clear understanding that woks of applied art are not necessarily required to be originated from artistic works. It is, then, suggested that the definition of works of applied art under the Copyright Act of B.E.2537 should be amended. It should include and apply to an artistic creation with utilitarian function or incorporate in an useful article apart from the appreciation in the merit of the work such as for practical use of such work, decorating articles or appliances or using for commercial benefit. Furthermore, to remove the overlapping among various intellectual property provisions which leads to concurrent protection, it is suggested that works of applied art should be limited to claim protection merely only to any single field of the intellectual property law. Whereby amendments of the Copyright Act of B.E.2537, the Patent Act of B.E.2522 and the Trademark Act of B.E.2534 are suggested to require using a certain number of production to distinguish works of applied art from industrial designs under the patent law and trademarks under the trademark law. Moreover, the provision that entitles right holders to choose any appropriate intellectual property provisions to protect their works is needed. Whenever, work of applied art is chosen to enjoy protection under a specific field of intellectual property; it is no longer entitle to get protection under the other ones.en
dc.format.extent3803191 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1865-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศิลปประยุกต์en
dc.subjectศิลปกรรม -- การป้องกันen
dc.subjectลิขสิทธิ์ -- ศิลปกรรมen
dc.titleปัญหากฎหมายในการคุ้มครองงานศิลปประยุกต์en
dc.title.alternativeLegal problems on the protection of works of applied arten
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOrabhund.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1865-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nilubon_ku.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.