Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25918
Title: การวิเคราะห์โครงสร้างของปริมาณวลีในภาษาไทย
Other Titles: An analysis of the strycture of Thai quantily phrase
Authors: สรัญญา เศวตมาลย์
Advisors: เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะโครงสร้างปริมาณวลีในภาษาไทยตามแนวทฤษฎีไวยากรณ์ปริวรรตแปรรูป (Generative Transformational Framework) ที่โนม ชอมสกี้ ( Noam Chomsky ) ได้เสนอไว้ในหนังสือ Aspects of the Theory of Syntax ( 1965 ) โดยจะศึกษาในเรื่องของจำนวนองค์ประกอบของปริมาณวลี และลักษณะความสัมพันธ์ทางวากยสัมพันธ์ที่องค์ประกอบเหล่านั้นมีต่อกัน ซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ในรูปของกฎโครงสร้าง ( Phrase Structure Rules ) และกฎแปรรูป ( Transformational Rules ) นอกจากนี้ยังจะได้ศึกษาถึงข้อกำหนดที่เป็นเงื่อนไขการเกิดร่วมของรายคำแต่ละชนิดในปริมาณวลีเดียวกันด้วย ข้อกำหนดนี้จะเสนอในรูปของเงื่อนไขการเกิดร่วม ( Selectional Restriction ) จากผลการวิเคราะห์อาจสรุปได้ว่า ปริมาณวลีในภาษาไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ ปริมาณวลีแสดงปริมาณ และปริมาณวลีแสดงอันดับ สำหรับปริมาณวลีแสดงอันดับนั้น ยังแยกย่อยออกได้เป็น 2 ชนิดคือ ปริมาณวลีแสดงอันดับที่บอกปริมาณได้ และปริมาณวลีแสดงอันดับที่บอกปริมาณไม่ได้ ตามลักษณะโครงสร้างผิว ปริมาณวลีในภาษาไทยจะประกอบด้วยองค์ประกอบเป็นจำนวนทั้งหมด 6 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบและองค์ประกอบขยาย 3 องค์ประกอบ องค์ประกอบทั้งหมดนี้ต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้ในรูปของกฎโครงสร้างจำนวน 4 กฎ และกฎแปรรูปจำนวน 7 กฎ นอกจากนี้ยังจะสามารถสรุปข้อกำหนดที่เป็นเงื่อนไขการเกิดร่วมของรายคำแต่ละชนิดได้อีกเป็นจำนวน 22 ข้อ
Other Abstract: This thesis is a study of the characteristics and the structure of the quantity phrase in Thai within the Generative Transformational Framework which was proposed by Noam Chomsky in Aspects of the Theory of Syntax (1965). The study aims at identifying the number of constituents of the quantity phrase and their syntactic relations. The study, moreover, includes the selectional restrictions governing the co-occurrence of lexical items in the quantity phrase. The analysis allows us to propose a generalization about the quantity phrase in Thai as follows. 1. There are two types of quantity phrase: ordinal phrase and cardinal phrase. The former can be sup-classified into two sub-types: quantified end unquantified ordinal phrases. 2. Six types of constituents are identified in the surface representation of quantity phrase. Four of these are main constituent while the rest are modifying constituents. 3. Four phrase structure rules can be proposed to account for the underlying structure of the quantity phrase. Seven Transformational rules to account for the surface behavior of the quantity phrase and twenty-two redundancy rules to account for the co-occurrence of lexical items in the quantity phrase.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25918
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarunya_Sa_front.pdf413.29 kBAdobe PDFView/Open
Sarunya_Sa_ch1.pdf811.67 kBAdobe PDFView/Open
Sarunya_Sa_ch2.pdf551.42 kBAdobe PDFView/Open
Sarunya_Sa_ch3.pdf632.33 kBAdobe PDFView/Open
Sarunya_Sa_ch4.pdf356.26 kBAdobe PDFView/Open
Sarunya_Sa_ch5.pdf864.18 kBAdobe PDFView/Open
Sarunya_Sa_ch6.pdf476.99 kBAdobe PDFView/Open
Sarunya_Sa_back.pdf275.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.