Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25938
Title: | ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมต่อความปลอดภัยในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของคนงานส่วนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เหล็ก ในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Knowledge, attitude, behavior toward safety and related factors of workers in production department of steel furniture industrial factory in Samut Prakan Province |
Authors: | กัญชลา ศรีสวัสดิ์ |
Advisors: | บุรณี กาญจนถวัลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมต่อความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมต่อความปลอดภัย ตัวอย่างเป็นคนงานส่วนการผลิตของโรงงานเฟอร์นิเจอร์เหล็กขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 300 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยให้คนงานตอบแบบสอบถามด้วยตนเองประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ต่อความปลอดภัย แบบวัดทัศนคติต่อความปลอดภัย และแบบวัดพฤติกรรมต่อความปลอดภัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ร้อยละ วิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนและวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. คนงานส่วนการผลิตมีความรู้ต่อความปลอดภัยในการทำงานระดับสูง ร้อยละ 72 (ค่าพิสัย 3.3) พบปัจจัยที่ทำนายความรู้ต่อความปลอดภัยได้คือ การศึกษา โดยคนงานที่มีการศึกษาสูงจะมีความรู้ต่อความปลอดภัยสูงและคนงานที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมีความรู้ต่อความปลอดภัยสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.01 2. คนงานส่วนการผลิตมีทัศนคติต่อความปลอดภัยระดับปานกลาง ร้อยละ 63.7 (ค่าพิสัย 13) พบปัจจัยที่ทำนายทัศนคติต่อความปลอดภัยได้คือ รายได้ โดยคนงานที่รายได้สูงจะมีทัศนคติต่อความปลอดภัยที่ดี และคนงานที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมีทัศนคติต่อความปลอดภัยที่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.01 3. คนงานส่วนการผลิตมีพฤติกรรมต่อความปลอดภัยระดับปานกลาง ร้อยละ 49 (ค่าพิสัย 17) พบปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมต่อความปลอดภัยได้คือ อายุ โดยคนงานที่มีอายุมากจะมีพฤติกรรมต่อความปลอดภัยที่ดี และคนงานที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมีพฤติกรรมต่อความปลอดภัยดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.01 นอกจากนี้พบว่าความรู้กับทัศนคติต่อความปลอดภัยมีความสัมพันธ์ต่อกันทางบวก (r=.329) คนงานที่มีความรู้ต่อความปลอดภัยสูงจะมีทัศนคติที่ดีต่อความปลอดภัย ทัศนคติกับพฤติกรรมต่อความปลอดภัยมีความสัมพันธ์ต่อกันทางบวก (r=.242) คนงานที่มีทัศนคติที่ดีต่อความปลอดภัยก็จะมีพฤติกรรมต่อความปลอดภัยที่ดี ส่วนความรู้และพฤติกรรมไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อกัน |
Other Abstract: | The purpose of this descriptive study were to study knowledge, attitude, behavior toward safety and related factors. Three hundred workers in production department of a large steel furniture factory participated in this study by a Multi-stage sampling. They completed the questionnaires that consisted of various dimensions such as sociodemographic, safety knowledge, safety attitude and safety behavior. Statistical methods used in the analysis included Arithmetic Mean, Percent, t-test, ANOVA, Stepwise Multiple Regression Analysis, and Pearson’s Correlation Coefficient. Research results were as follows: 1. The workers in production department had a high level of safety knowledge (72%). The statistical predictors of knowledge in safety were education the high educated workers had higher safety knowledge, and good relationship with co-workers had higher level of safety knowledge at significant P<0.01. 2. The subjects had a moderate level of good attitude in safety (63.7%). The statistical predictors of attitude in safety were income, the subjects who had high income had good attitude in safety, and good relationship with co-workers had a good attitude in safety at significant P<0.01 3. The subjects had a moderate level of safety behavior (49%). The statistical predictors of behavior in safety were age, the aged had better behavior, and good relationship with co-workers had a good behavior at significant P<0.01. Furthermore, knowledge in safety had a positive correlation with safety attitude (r=.329). And attitude in safety had a positive way correlated with safety behavior (r=.242). However, the research did not found any correlation between knowledge and behavior. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25938 |
ISBN: | 9741734891 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sanchala_sr_front.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanchala_sr_ch1.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanchala_sr_ch2.pdf | 11.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanchala_sr_ch3.pdf | 3.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanchala_sr_ch4.pdf | 14.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanchala_sr_ch5.pdf | 9.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanchala_sr_back.pdf | 5.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.