Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2594
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุวรรณา กิจภากรณ์ | - |
dc.contributor.author | สุพัตรา ศรีไชยรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาเภสัชวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-18T11:23:38Z | - |
dc.date.available | 2006-09-18T11:23:38Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2594 | - |
dc.description.abstract | กระต่ายลูกผสมคละเพศพันธุ์นิวซีแลนไวท์กับพื้นเมือง อายุ 1 เดือน จำนวน 56 ตัว สุ่มออกเป็น 7 กลุ่มๆ ละ 8 ตัว ได้รับอาหารข้นที่มีโปรตีน 160 กรัม/กก. พลังงานย่อยได้ 3,300 กิโลแคลอรี่/กก. ของอาหาร และได้รับหญ้าขนเป็นแหล่งอาหารหยาบ โดยให้กินเต็มที่ กระต่ายกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม อีก 6 กลุ่มที่เหลือทำการเสริมสารปฏิชีวนะออกซีเททระไซคลินในระดับ 5 10 20 และเวอร์จิเนียไมซินในระดับ 10 20 และ 40 มก/กก. ของอาหาร ตามลำดับ ทำการบันทึกข้อมูลน้ำหนักตัว ปริมาณอาหารที่กินทุกสัปดาห์ เป็นเวลานาน 10 สัปดาห์ จากนั้นทำการสุ่มกระต่าย 4 ตัวจากแต่ละกลุ่มนำมาฆ่าเพื่อตรวจวัดคุณภาพซาก และเก็บชิ้นเนื้อบริเวณสะโพกเพื่อตรวจหาสารตกค้าง กระต่ายที่เหลือเลี้ยงต่อด้วยอาหารที่ไม่มีการเสริมสารปฏิชีวนะเป็นเวลานาน 1 สัปดาห์ ทำการฆ่ากระต่ายที่เหลือเพื่อเก็บชิ้นเนื้อมาตรวจวัดสารตกค้างอีกครั้งหนึ่งโดยวิธีการ EEC-four plate แผนการทดลองเป็นแบบ Completely Randomized Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Analysis of Variance และ Duncan's New Multiple Range test. ผลจากการทดลองไม่พบความแตกต่างด้านการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารของกระต่ายทุกกลุ่มเมื่อคิดรวม 10 สัปดาห์ กระต่ายกลุ่มที่ได้รับสารปฏิชีวนะทั้ง 2 ชนิด มีแนวโน้มให้ผลดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัปดาห์ที่ 8 พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของน้ำหนักเพิ่ม (P<.01) และอัตราการแลกเนื้อ (P<.05) ระหว่างกระต่ายที่ได้รับเวอร์จิเนียไมซินกับกลุ่มควบคุม และในกลุ่มที่เสริมสารปฏิชีวนะ พบว่าการใช้ออกซีเททระไซคลินและเวอร์จิเนียไมซินทุกระดับให้ผลไม่แตกต่างกันแต่มีแนวโน้มว่าการใช้เวอร์จิเนียไมซินที่ระดับ 10 มก/กก. ของอาหารให้อัตราการแลกเนื้อดีที่สุด ขณะที่ให้น้ำหนักเพิ่มใกล้เคียงกับกลุ่มอื่น ทางด้านคุณภาพซากไม่พบความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์ซากและเปอร์เซ็นต์ไขมัน แต่มีแนวโน้มว่ากระต่ายกลุ่มที่ได้รับสารปฏิชีวนะจะมีเปอร์เซ็นต์ไขมันสูงกว่า และไม่พบสารตกค้างในเนื้อกระต่ายที่ได้รับสารปฏิชีวนะทุกระดับที่ไม่มีการหยุดและมีการหยุดใช้สารดังกล่าวเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนฆ่า | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2531 | en |
dc.format.extent | 2561093 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กระต่าย -- การเจริญเติบโต | en |
dc.subject | ออกซีเททราซัยคลิน | en |
dc.subject | เวอร์จิเนียไมซิน | en |
dc.title | การใช้สารเร่งการเจริญเติบโตในกระต่าย : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Growth promotant in rabbits | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Suwanna.Ki@Chula.ac.th | - |
dc.email.author | Supatra.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SuwannaG.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.