Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25982
Title: สภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยในเขตชนบทบริเวณพื้นที่ราบเชิงเขาบรรทัด จังหวัดปราจีนบุรี
Other Titles: The physical environment of rural housing in the piedmont plateau area of Banthad Mountain Range, Prachin Buri province
Authors: ดิเรก รอดสวาสดิ์
Advisors: เฉลิม สุจริต
ฐานิศวร์ เจริญพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันประชากรนเขตชนบทซึ่งมีจำนวนมากกว่า 80% ของประชากรทั้งประเทศยังมีสภาพความเป็นอยู่ล้าหลังมีรายได้ต่ำ และมีสภาพความเป็นอยู่แตกต่างจากสภาพความเป็นอยู่ของประชากรในเขตเมืองอย่างมาก ถึงแม้ว่าตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศในเขตเมืองและเขตชนบทให้มีความสัมพันธ์กันและสอดคล้องกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหันมาศึกษาปัญหาความล้าหลังของชาวชนบทอย่างละเอียดและแท้จริง และดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยมิใช่เพียงปัญหาใดปัญหาหนึ่ง อย่างไรก็ตามปัญหาที่อยู่อาศัยแม้ว่าจะไม่มีความสำคัญเป็นประการแรกแต่ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของการดำรงชีพของมนุษย์นอกเหนือไปจากอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ซึ่งเป็นปัจจัยที่มนุษย์จะขาดไม่ได้ เมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยในเขตชนบทแล้ว จะพบว่ามีรูปแบบที่แตกต่างกันในลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางสังคมและกายภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงกระบวนการออกแบบที่อยู่อาศัยในเขตชนบท พบว่ามิได้มีการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพข้อเท็จจริงมากนัก ส่วนมากมักจะเป็นการลอกเลียนแบบจากของเดิม จึงทำให้ไม่สามารถสนองประโยชน์ใช้สอยของประชากรได้อย่างสมบูรณ์และพึงพอใจ นอกจากนี้สภาวะวัสดุก่อสร้างที่นำมาใช้ก็มักจะไม่เหมาะสมรวมทั้งขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องเทคนิคการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยขาดความมั่นคงแข็งแรง ด้วยเหตุนี้จากการศึกษาวิจัยในเบื้องต้นและการศึกษาวิจัยในอดีตที่ผ่านมาพบว่าประชากรชาวชนบทยังไม่ได้รับความพึงพอใจในด้านที่อยู่อาศัยในเรื่องสภาพบ้าน สภาพวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ตลอดจนความสะดวกสบายเกือบทุกพื้นที่ในเขตชนบททั่วประเทศ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยในเขตชนบทบริเวณที่ราบเชิงเขาบรรทัด จำนวน 12 หมู่บ้าน ในอำเภสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรีอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาบรรทัด ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชดำริ เพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยด้วยความเหมาะสมกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและลักษณะทางสังคมของชุมชนนั้น โดยมีผลเนื่องมาจากการศึกษาวิจัยลักษณะทางกายภาพ สถานภาพทางเศรษฐกิจและลักษณะทางสังคม สภาพวัสดุก่อสร้างและเทคนิคการก่อสร้างรวมทั้งผลกระทบเนื่องมาจากความรู้สึกและทัศนคติของประชากรในชนบทที่มีต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัย โดยตั้งสมมุติฐานการวิจัยที่ว่ารูปแบบและขนาดของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในเขตชนบทมีความสัมพันธ์กับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสภาพทางสังคมของประชากรในท้องถิ่นนั้น สมมุติฐานนี้ได้อาศัยทฤษฎีการตั้งถิ่นฐานมนุษย์และพฤติกรรมมนุษย์ในสภาพแวดล้อมร่วมประกอบการพิจารณาด้วย ในการศึกษาวิจัยได้เลือกศึกษาเฉพาะหมู่บ้านในอำเภอสระแก้วที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องลักษณะทางสังคม สถานภาพทางเศรษฐกิจตลอดจนลักษณะกรตั้งชุมชนที่เหมือนกันโดยเลือกตัวแทน 4 หมู่บ้าน ที่มีประชากรมากพอและแต่ละหมู่บ้านได้คัดเลือกบ้านที่เป็นตัวแทนศึกษาอย่างมีระบบ จำนวน 130 หลังคาเรือน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 20.97 ของครัวเรือนที่เป็นหมู่บานตัวแทน สำหรับการศึกษาด้านความรู้สึกและทัศนคติได้กำหนดมาประเมิน 5 ขั้น และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์สอบถามและแบบสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือซึ่งผลการศึกษาวิจัยปรากฏผลดังนี้ ลักษณะทางสังคมและสถานภาพทางเศรษฐกิจก็จะพบว่า ประชากรมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 6.24 คนต่อครอบครัว และมีระดับอายุในช่วง 11 - 20 ปี มากที่สุด การศึกษาจบชั้นประถมปีที่ 4 มากที่สุด สำหรับการประกอบอาชีพในการทำนาไร่ รายได้เฉลี่ย 849.36 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว ซึ่งแสดงว่าประชากรอยู่ในฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน ลักษณะสภาพแวดล้อมกายภาพชุมชนพบว่า มีองค์ประกอบของชุมชนดังนี้ คือ เขตที่อยู่อาศัย วัด บริเวณสาธารณะ ร้านค้า โรงเรียน สถานีอนามัย และบริเวณเขตเกษตรกรรม ลักษณะรูปแบบการตั้งชุมชนเป็นแบบตามยาวเรียงไปตามที่ราบเชิงเขา ลักษณะสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยพบว่า มีองค์ประกอบดังนี้ คือ ลานบ้าน บันได ชาน ระเบียง ห้องนอน ห้องพระ เรือนโข่ง ครัว ร้านน้ำ ห้องส้วม ยุ้งหรือเล้าข้าว และใต้ถุนบ้าน โดยมีรูปแบบสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยเป็นลักษณะเรือนหลังคาจั่วทรงต่ำ มีเพิงหลังคาเอียงลาดทางด้านหน้าจั่วพบมากที่สุด ลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีส่วนยื่นด้านข้างหรือด้านหน้ามากที่สุด โดยพื้นที่รวมเฉลี่ย 11.12 ตารางเมตรต่อคน 1 คน ซึ่งนับว่ามีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับเขตอื่นของประเทศ ลักษณะวัสดุโครงสร้างตั้งแต่โครงสร้างเสา หลังคา คาน ตง พื้น ผนัง ประตูหน้าต่าง ล้วนใช้ไม้ป่าตัดเลื่อยเองเป็นส่วนมาก จีวัสดุอื่นระกอยบางส่วน ได้แก่ วัสดุมุงหลังคาสังกะสี หรือพวกใบไม้ หญ้าคาหรือแฝก บางส่วน สำหรับเทคนิคในการก่อสร้างพบมากที่สุด คือ การใช้ตอกตะปูหรือน๊อตยึด สภาพที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปพบว่าส่วนมากมีลักษณะถาวร ในด้านการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสังคมและสถานภาพทางเศรษฐกิจกับลักษณะทางสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยพบว่า ขนาดของพื้นที่บ้านมีความสัมพันธ์กับจำนวนสมาชิกในครบครัวในลักษณะผันแปรตามกันน้อย แต่ขนาดของพื้นที่บ้านไม่มีความสัมพันธ์กับรายได้ของครอบครัวและอายุของบ้าน ในเรื่องความรู้สึกและทัศนคติของประชากรชาวชนบทที่มีต่อสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยพบว่า ประชากรมีความรู้สึกและทัศนคติเป็นกลางในเรื่องความสวยงามและความชอบบ้านหลังเดิมความปลอดภัยของบ้านและความสบายในการอยู่อาศัย แต่มีความรู้สึกและทัศนคติไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจในเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของที่อยู่อาศัย จากการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยในเขตชนบทมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากในเขตที่มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกัน ลักษณะสภาพทางสังคมและสถานภาพทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน จากผลของการศึกษาวิจัยดังกล่าวสามารถนำมาพิจารณาประกอบการกำหนดแนวทางสำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยในเขตชุมชนที่ทำการศึกษาโดยกล่าวได้ดังนี้ ขนาดของพื้นที่บ้านควรมีขนาดผันแปรไปจามจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่อยู่อาศัย โดยลักษณะวางอาคารหันหน้าสู่ทิศตะวันออกและสู่ถนนหรือทางสัญจรโดยวางอาคารไปตามแนวทิศตะวันออกทิศตะวันตกส่วนห้องนอนควรอยู่ทางทิศตะวันออกอาคารโดยติดกับชานและระเบียงเป็นส่วนต้อนรับแขกควรอยู่ด้านหน้าอาคารส่วนครัวควรอยู่ตำแหน่งหลังบ้านและควรอยู่ทิศตะวันตก เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวนและควรแยกจากห้องนอนอย่างเด็ดขาด ส่วนการสัญจรควรใช้ชานและระเบียงเป็นศูนย์กลางการสัญจรแนวนอนในการเชื่อมโยงกับส่วนอื่น ๆ ของอาคาร สำหรับบันไดใช้เป็นทางสัญจรทางแนวดิ่งสำหรับเชื่อมโยงลานบ้านกับพื้นบ้าน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ คาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งและเป็นแนวทางช่วยในการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพที่อยู่อาศัยในบริเวณที่ราบเชิงเขาบรรทัดในโครงการสร้างจริงทำจริงและหรือน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะทำการศึกษาวิจัยในเรื่องที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยในเขตชนบท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชนบทสมบูรณ์ตามนโยบายของรัฐที่ตั้งไว้
Other Abstract: At present, the rural inhabitants which amount to more than 80% of the total population of Thailand still earn very low income. Their living conditions are very far behind those of the urban communities eventhough policy has been planned in the Fifth Five year Plan to balance the development of both areas in close relation and in accordance to each other. It is then very essential to consider the existing problems carefully and in every detail. Obviously, the solution ways and means would be done successfully only by extensive integrated system instead of separate efforts. Although housing problem does not rank first among the most urgent matters, but this problem should not be overlooked since housing has been one of the necessary living factors besides foods, garments and medicines. Survey of physical environment indicated that the patterns of rural housing differ with respect to geographical locations, social and economic conditions. Rural housing does not follow systematic design which taking actual circumstances into consideration. Existing houses mostly imitate eachother planning, therefore their utilization cannot meet with complete satisfaction. Moreover, building materials used are inappropriate and structure of the house is not strong and durable enough owing to lack of. experience in construction techniques. In this connection, it has been found from both past and present studies that rural people are in need of housing development regarding improved conditions, better materials, as well as convenience for living. This research covers studies of rural housing of 12 villages in piedmont plateau area, Ban Thad mountain range, Amphoe Sra Keao, Prachin Buri Province in various aspects such as physical environment, social and economic conditions, availability of building materials, construction know-how, and impact of change to peoples attitude as part of the overall development project of such area initiated by H.M. the King. Results of the studies were used as basic data to establish guidelines for the design of rural housing suitable to physical environment, social and economic conditions at each location and community. This research was carried out on a hypothesis based on the theories of human settlement and human behaviour to environment that the design, environment and size of rural housing have close relation with social and economic conditions of each location. Four villages of Amphoe Sra Keao having sufficient number of population and similar social and economic conditions and settlement characteristics were selected for study, taking sample altogether 130 households or 20.97% of the overall households. Five step evaluation of public opinions and attitudes was carried out based on data obtained from questionnaires, interviews and observations. Results of the study are as follows: Information on social and economic conditions indicated that the average number of population per household was624at the age ranging mostly from 11-20years old with elementary study up to grade4.Income earns from farming occupation was rather low or approximately 849.36 baht per household. Physical environment of each community covered residential area, temple, public facilities, shops, schools, health center, and agricultural land settled horizontally along the piedmont plateau. Physical environment of rural housing consisted of ground area, staircase, terrace, veranda, bedroom, Reon Khonge (multi purpose area), kitchen, Ran Nam (water storage), toilet, rice bin, and open basement with general characteristic of gable-roof construction joined by another lean to roof at the front of gable, rectangular layout with adjacent part infront or beside the house. The average area of 11.12 square metre per person seems to be small in comparison to the other parts of the country. Structural parts such as columns, roof, beams, joists, floor, walls, doors and windows were made of sawn timber obtained from the forest. Other materials for roofing consisted of galvanized sheets, leaves, alfalfa grass. Nailing and knot fastening were the construction techniques mostly used. Housing in general was in permanent condition. Study of the relation between social and economic conditions and physical environment. indicated that the average floor area varied .very little to members of each family, but there is no relation with family income or the age of the house. People's attitude concerning physical environment of housing showed no significant ideas about beauty, satisfaction, security and convenience for living. However, their impressions were against or unsatisfactory with the strength of the house. Results of the study that physical environment of rural housing in similar geographical, social and economic circumstances did not differ much could be used as guidelines for the design of rural housing as follows: Floor area should vary to the number of members of each family. Building should face to the east or roadway placing along the line eastward and westward. Bedroom should be on the east side of the building adjacent to terrace and veranda as, the front part of the building for using as living quarter. Kitchen should be set at the rear of the house on the west side to prevent from smoke and smell and should definitely be separated from the bedroom, and communication could be done horizontally by means of terrace or veranda, and vertically by stairs. This research study has twofold benefits, i.e. for using as a guideline for the design of physical environment of as-built rural housing project in piedmont plateau area, Ban Thad mountain range, and also for the other research studies regarding rural housing improvement as part of the implementation to the Government's policy on the overall rural development.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25982
ISBN: 9745624004
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Direk_Ro_front.pdf731.72 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ro_ch1.pdf705.3 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ro_ch2.pdf878.76 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ro_ch3.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Direk_Ro_ch4.pdf580.59 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ro_ch5.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Direk_Ro_ch6.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Direk_Ro_ch7.pdf542.47 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ro_back.pdf490.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.