Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26061
Title: การนำเสนอรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของผู้เรียนเพื่อการใช้สื่อในการเรียนการสอน ในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: A proposed model for organizing a classroom physical environment for the utilization of instructional media in higher education institutions
Authors: อรวี จันทร์บาง
Advisors: สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของห้องเรียนที่เหมาะสม กับการใช้สื่อในการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ห้องเรียนแบบปิดที่ใช้เพื่อการบรรยายขนาด ความจุ 60 - 80 ที่นั่ง ในสถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 ห้อง อาจารย์ที่มีชื่อสอนในห้องดังกล่าว จำนวน 45 คน และนักศึกษาที่เป็นผู้เรียนในห้องเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 672 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมจำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรมจำนวน 3 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 คน รวบรวมข้อมูลโดยแบบสำรวจและแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของห้องเรียน เพื่อการใช้สื่อการเรียนการสอน ในสถาบันอุดมศึกษา ควรมีลักษณะตังนี้ 1. ห้องเรียนควรมีผนังทั้ง 2 ข้างของห้องไม่ขนานกัน ประตูเข้าออกห้องเรียนอยู่ด้านหลังห้อง พื้นห้องเรียบ เสมอกันยกระดับหน้าชั้นเรียน พื้นที่ส่วนผู้เรียนเฉลี่ยคนละ 1.3 ตารางเมตร เว้นระยะพื้นทีหน้าชั้นเรียนสำหรับผู้สอน ประมาณ 3.3 เมตร การจัดที่นั่งของผู้เรียนแต่ละแถวเหลื่อมซ้อนกัน เว้นทางเดินสัญจรภายในห้องกว้างประมาณ 1.0 เมตร ลักษณะที่นั่งของผู้เรียนเคลื่อนย้ายได้ สีของผนังห้องเรียนเป็นสีอ่อน ส่วนของพื้นห้องใช้สีเข้มกว่าผนัง 2. ผนังห้องเป็นวัสดุสะท้อนเสียงในพื้นที่ 1/3 ของห้อง และกรุด้วยวัสดุดูดซับเสียงในพื้นที่ 2/3 ของห้อง เพดานเป็นวัสดุสะท้อนเสียงในพื้นที่ 2/3 ของห้อง และกรุด้วยวัสดุดูดซับเสียงในพื้นที่ 1/3 ของห้อง ลำโพงเป็นชนิดฝังฝ้าเพดาน ติดตั้ง 4 ตำแหน่ง พร้อมทั้งมีสวิตช์ควบคุมแยกแต่ละตำแหน่ง ติดตั้งลำโพงติดผนังในส่วนหน้าของห้องทั้ง 2 ข้างของกระดาน 3. แบ่งพื้นที่แสงสว่างของห้องเรียน มีสวิตช์ไฟแยกแต่ละพื้นที่ ส่วนของผู้เรียนสามารถหรี่แสงได้ บริเวณผู้สอนมีไฟส่องสว่างบริเวณกระดานและจอฉายแยกต่างหากจากบริเวณอื่นๆ หลอดไฟใช้เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์แสง ค่อนไปทางสีขาว ใช้ Electronic Ballast ใช้โคมที่มีการกระจายแสงแบบ Bat wing และตะแกรงเป็นแผ่นสะท้อนแสงชนิด Matt Enamel 4. เครื่องปรับอากาศที่ใช้เป็นระบบ Central Unit โดยมีตัวควบคุมอุณหภูมิแยกแต่ละเครื่อง 5. สื่อพื้นฐานที่ติดตั้งประจำห้อง มีดังนี้ กระดานไวท์บอร์ดแบบผิวด้าน จอฉายชนิด Matt White ฝังฝ้าเพดาน ควบคุมด้วยมอเตอร์ เครื่อง Visualizer เครื่อง LCD Projector โดยมีแผงควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ติดตั้งที่แท่นบรรยาย ของผู้สอนหน้าชั้นเรียน ติดตั้ง Wireless Access Point เพื่อการเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายด้วยระบบไร้สาย
Other Abstract: To propose a model for organizing classroom physical environment for the utilization of instructional media in higher education. Samples were 9 closed lecture rooms, which contain 60-80 seats in higher education institute within Bangkok area: 45 lecturers, 672 students; 5 architectural specialists; 3 senior architects; and 3 educational technology specialists. A Survey form and questionnaires were used to collect information. The results showed that 1. the classroom should have two sides of unparalleled walls, access doors at the back of the room, flat smooth and even floor with teaching platform at the front of the room; average space for a person is 1.3 sqm; lecturer's space is 3.3 meter away from the front room partition, student seats arrangement should be non-align between rows and movable; circulation within the room should be one meter in width; light color should be used for partition and floor color should be darker than room wall. 2. one third of wall should be covered with non-acoustic material, and two third should be acoustic; two third of ceiling should be covered with non-acoustic material, and one third should be acoustic; ceiling mounted speakers should be installed at 4 points with separate control switch; two wall mounted speakers should be installed at both sides of the white board areas. 3. four lighting zone in classroom needed: back row, center seating area, front presentation area, and lectern/side board; dimmer should be installed เท student area, white board should be lighten and separated from other area; cool white fluorescent electronic ballast, bat wing type reflector, and matte enamel reflective grill were recommended. 4. central control unit air-condition with separate thermostat should be used. 5. basic equipment needed were matte white board, ceiling mounted matte white projector screen with motorized control, visualize, LCD projector and wireless internet equipped with a control panel.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26061
ISBN: 9741757964
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orrawee_ja_front.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Orrawee_ja_ch1.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Orrawee_ja_ch2.pdf13.16 MBAdobe PDFView/Open
Orrawee_ja_ch3.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Orrawee_ja_ch4.pdf15.56 MBAdobe PDFView/Open
Orrawee_ja_ch5.pdf7.88 MBAdobe PDFView/Open
Orrawee_ja_back.pdf17.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.