Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2613
Title: การใช้อีไลซ่าเทคนิคในการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อซาลโมเนลลา เอนเตอริทิดิส ในไก่ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Use of ELISA for detection of antibody against Salmonella enteritidis in chicken
Authors: อินทิรา กระหม่อมทอง
วารี นิยมธรรม
เกรียงศักดิ์ พูนสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไก่--โรค
ซาลโมเนลลา
แอนติบอดีย์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการพัฒนาวิธีทดสอบแอนติบดีต่อเชื้อ ซาลโมเนลลา เอนเตอริทิดิส (Salmonella enteritidis) ในฝูงไก่ โดยวิธีอินไดเร็ค อีไลซ่า (Indirect Enzyme-linked immunosorbent Assay-ELISA) เปรียบเทียบกับวิธี อินไดเร็คฮีแมกกลูติเนชั่น (Indorect Hemagglutlinaton - IHA) โดยใช้สารสกัดไลโปโพลีแซคคาไรด์ (Lipopolysaccharide - LPS) จากผนังเซลล์ของเชื้อเป็นแอนติเจนในการทดสอบทั้งวิธี ELISA และ IHA ค่าตัดสินบวกและลบของวิธี ELISA คือ 0.34 ได้จากค่า O.D (optical density) เฉลี่ยของซีรั่มไก่ SPF (specific pathogen free) บวกกับ 3 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิธี IHA ซีรั่มไตเตอร์ 1:16 ขึ้นไปตัดสินเป็นบวก ทำการทดลองในไก่ให้ติดเชื้อ 2 การทดลอง คือ ไก่อายุ 8 วัน ใช้เวลาทดลอง 12 สัปดาห์ และในไก่อายุ 12 สัปดาห์ ใช้เวลา 8 สัปดาห์ โดยป้อนเชื้อ S.enteritidis 10 [superscript 5] CFU ทุกตัวๆ ละ 1 มิลลิลิตรครั้งเดียว แล้วเจาะเลือดไก่ทดลองแยกซีรั่มทุกสัปดาห์ เพื่อทดสอบแอนติบอดี้ต่อ S.enteritidis พร้อมทั้งสวอปอุจจาระจากก้นไก่ สัปดาห์ละครั้งเพื่อเพาะแยกเชื้อนี้ ผลการทดลองมีดังนี้ การทดลองที่ 1 ในไก่เล็ก พบว่า สามารถตรวจแยกเชื้อ S.enteritidis จากอุจจาระได้สัปดาห์แรกหลังป้อนเชื้อมีเปอร์เซ็นสูงสุด 38.2% จากนั้นพบเชื้อในอัตราไม่แน่นนอนจนสิ้นสุดการทดลอง และพบเชื้อต่ำสุด 5.4% ในสัปดาห์ที่ 5 และแยกเชื้อนี้ได้จากอวัยวะภายในของไก่ 13 ตัว ที่ตายระหว่างการทดลองและ 4 ตัวจากการทำลายหลังสิ้นสุดการทดลอง ในการทดลองครั้งนี้ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเลือดจากไก่ 13 ถึง 18 ตัวจากไก่ 50 ตัวในแต่ละสัปดาห์ ผลการตรวจแอนติบอดีโดยวิธีโดยวิธี IHA พบเพียง 2 ตัวอย่าง คือ 1 ตัวอย่าง (1/16) หลังป้อนเชื้อ 4 สัปดาห์ และอีก 1 ตัวอย่าง (1/16) ที่ 11 สัปดาห์ ส่วนวิธี ELISA สามารถตรวจพบ 2 ตัวอย่างสัปดาห์ที่ 4 เช่นกัน และพบอีกสัปดาห์ที่ 7 ขึ้นไปทุกสัปดาห์ให้ผลบวกระหว่าง 12-30% การทดลองที่ 2 ในไก่ใหญ่ ตรวจพบเชื้อจากอุจจาระไก่เพียง 1 ตัว (1/58) หลังป้อนเชื้อสัปดาห์แรกและอีก 1 ตัว (1/42) สัปดาห์ที่ 6 และพบเชื้อจากตับไก่ เพียงตัวเดียวที่ตายระหว่างการทดลอง ผลการตรวจแอนติบอดีวิธี IHA ให้ผลบวกหลังป้อนเชื้อสัปดาห์แรกจนตลอดการทดลองใช้ในช่วง 8-38% ทำนองเดียวกันวิธี ELISA ให้ผลบวกสัปดาห์แรกขึ้นไปจนสิ้นสุดการทดลองอยู่ในระหว่าง 29-66% ผลการทดลองแสดงว่าไก่อายุน้อยมีความไวรับโรคติดเชื้อ S.enteritidis มากกว่าไก่อายุมาก เนื่องจากพบอัตราการตายและพบเชื้อในอุจจาระมากกว่าไก่อายุมาก การตรวจแอนติบอดีวิธี ELISA มีความไวกว่าวิธี IHA มาก และสามารถบ่งชี้สภาวะการติดเชื้อในฝูงได้ดีในไก่อายุประมาณ 8 สัปดาห์ขึ้นไป การตรวจวิธี IHA และ ELISA มีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่สัมพันธ์กับการตรวจแยกเชื้อจากอุจจาระ ดังนั้นจึงสรุปจากผลการทดลอง แนะนำว่าวิธี ELISA เป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในปัจจุบันนี้สำหรับการสำรวจแอนติบอดีต่อ S.enteritidis ในฟาร์มเลี้ยงไก่
Other Abstract: An indirect enzyme - linked immunosorbent assay (ELISA) for the detection of antibodies to Salmonella enteritridis in chicken was developed compared with an indirect hemagglutination (IHA) test using lipopolysaccharide as antigens. A cut off value of ELISA as 0.34 was calculated from the mean optical density from sera of specific pathogen free chicken plus three times of standard deviation. The IHA liters of 1:16 and above were taken as positive. There were two experiments carried out in 8 days to 13 weeks and 12 weeks to 20 weeks old chicken. All chicks were experimentally infected by oral inoculation with one milliliter of 10 [superscript 5] CFU S.enteritidis. Sera from blood samples were collected once a week for detection of antibodies to S.enteritidis as well as cloacal swabbing for bacterial isolation. Experiment 1. In young chicken, S.enteritidis was isolated from faecal excretion in 38.2% of the chicken at the first week after bacterial inoculation. The pattern for excretion was fluctuated until theend of an experiment with the lowest of detection at 5.4% at the fifth week. Simultaneously, the pathogen was found from organ samples of 9 Chicken died during the experiment and 4 after the experiment had terminated. In this experiment, serum samples were collected from 13 to 18 chicken out of 50 chicken in each week. By using IHA, one chicken (1/16) was identified positive at week 4 and the other (1/16) at week 11 following inoculation. Whereas two chicken (2/16) were indentified positive after week 4, and 12 to 36% of the samples were found seropositive between the period of week 7 to 12 by ELISA techique. Experiment 2. in adult chicken, S.enteritidis was isolated from faecal excretion of one chicken (1/58) at one week and the other (1/42) at 6 weeks after inoculation. From organ samples, S.enteritidis was isolated from one chicken throughout the experiment. Seropostive by IHA test was detected after week and continuously detected in 8 to 38% of the chicken through the experiment. Similarly, ELISA was detected from the first week and ranged 29 to 66%. The results showed that young chicken were more susceptible to S.enteritidis infection. The mortality rate and faecal isolation rate were higher than adult chicken. ELISA was more sensitive than IHA and possibly used to indicate the disease condition in the flock of over 8 weeks old chicken. There was a relation between ELISA is the possible technique for serological monitoring to S.enteritidis in chicken farms.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2613
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
IntiraUSe.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.