Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26142
Title: | จีนกับการให้ความช่วยเหลือโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านระหว่าง ค.ศ. 1988-2008 |
Other Titles: | China’s assistance to Iran’s nuclear program during 1988-2008 |
Authors: | เอกสิทธิ์ พงษ์ไสว |
Advisors: | ไชยวัฒน์ ค้ำชู |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chaiwat.K@Chula.ac.th |
Subjects: | พลังงานนิวเคลียร์ -- อิหร่าน จีน -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- อิหร่าน จีน -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- อิหร่าน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาจีนกับความช่วยเหลือโครงการนิวเคลียร์อิหร่านระหว่างปีค.ศ.1988-2008 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเหตุผลของการให้ความช่วยเหลือของจีนต่อโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ (Foreign Aids) มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ภายหลังสิ้นสุดสงครามอิรัก-อิหร่าน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและอิหร่านเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ จีนได้เข้ามามีบทบาทในอิหร่านภายหลังสงครามผ่านการให้ความช่วยเหลือการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ การให้กู้ยืมเงิน รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การให้ความช่วยเหลือของจีนแก่โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้กลายเป็นปัญหาในเวทีระหว่างประเทศจีนได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านมีจุดประสงค์เพื่อสันติและอิหร่านมีสิทธิในการมีโครงการนิวเคลียร์ พร้อมทั้งไม่เห็นด้วยกับนานาประเทศในการออกมติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน การให้ความช่วยเหลือของจีนต่อโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านตั้งแต่ค.ศ.1988-2008 นั้น สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดประเทศเป็นต้นมา ทำให้นโยบายจีนเน้นหนักที่ความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งนี้อิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจึงเปรียบเสมือนตลาดพลังงานที่มั่นคงของจีน ท่ามกลางความสัมพันธ์บนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอันมีผลประโยชน์ร่วม ทำให้ทั้งสองมีความแน่นแฟ้นอย่างมากภายใต้ความร่วมมือทางด้านพลังงานใน 4 ขอบข่ายคือ 1. น้ำมันดิบ 2. แก๊สธรรมชาติ 3. การพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ และ 4.การก่อสร้างท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ |
Other Abstract: | This thesis focuses on China’s assistance to Iran’s nuclear program during 1988-2008. The objective is to analyze the reasons for China's assistance to Iran's nuclear program. It employs the concept of Foreign Aids as conceptual framework. The study found that at the end of Iran-Iraq war, Sino-Iranian economic relations had remarkably grown when China offered Iran’s post-war reconstruction. Not only did China give a loan, but also assisted Iran’s nuclear program. But at the turn of 21 century, owing to global and regional security, China’s assistance to Iran’s Nuclear Program became an international issue. China opposed UN’s resolution of economic sanctions against Iran and made clear that Iran had the rights to have a nuclear program for a peaceful use.China’s assistance to Iran’s nuclear program during 1988-2008 had a lot to do with China’s economic growth strategy to meet its rising energy needs. As Iran was the world’s third largest oil reserves and the world’s third largest exporter of oil, it was therefore not surprising that China's policy focused on energy security to stimulate economic growth through its cooperation with Iran in energy field in four areas, namely oil, natural gas, upstream and downstream industrial development, and the construction of oil and gas pipelines. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26142 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1873 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1873 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ekkasit_ph.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.