Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26162
Title: อัตราชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
Other Titles: Prevalence rate and factors related to tiberculous infection among hospital personnel of Nopparat Rajathanee Hospital
Authors: จรัส โชคสุวรรณกิจ
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
ทศพร วิมลเก็จ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อหาอัตราชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างมีระบบจำนวน 398 คน จากบุคลากรทั้งสิ้น 1,592 คน เก็บข้อมูลทั่วไป และข้อมูลปัจจัยเสี่ยงโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง และข้อมูลอัตราชุกการติดเชื้อวัณโรคโดยการทดสอบทูเบอร์คูลิน ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ผลการศึกษาพบว่า มีผู้เข้าร่วมการวิจัยตามเกณฑ์คัดเลือก 386 คน คิดเป็นร้อยละ 96.98 ของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมกิจการวิจัยมีอายุเฉลี่ย 32.74 (±8.00) ปี ระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 7.22 (±5.95) ปี เป็นเพศชาย 59 คน (ร้อยละ 15.3) เพศหญิง 327 คน (ร้อยละ 84.7) อายุและระยะเวลาทำงานเฉลี่ยของเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.553 และ p=0.868 ตามลำดับ) มีการสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคนอกหน้าที่งาน 138 คน (ร้อยละ 35.8) สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคในหน้าที่งาน 220 คน (ร้อยละ 57.0) มีประวัติเคยได้รับวัคซีนบีซีจี 324 คน (ร้อยละ 83.9) พบมีรอยแผลเป็นบีซีจี 229 คน (ร้อยละ 92.3 ของผู้เคยได้รับวัคซีน) และพบว่าอัตราชุกของการติดเชื้อวัณโรคโดยการทดสอบทูเบอร์คูลินโดยวิธี Mantoux ที่ขนาดตุ่มนูนมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิเมตรเท่ากับร้อยละ 71 เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้าน สถานที่ปฏิบัติงาน การสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคในหน้าที่งาน ระยะเวลาทำงานตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่ขึ้นกับการมีรอยแผลเป็นบีซีจี ส่วนปัจจัยด้าน เพศ อายุ ตำแหน่งงาน การสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคนอกหน้าที่งาน และรอยแผลเป็นบีซีจี ไม่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า วัณโรคเป็นสิ่งคุกคามทางชีวภาพอย่างหนึ่งของบุคลากรในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ควรมีการเฝ้าระวังและดำเนินมาตรการควบคุมวัณโรคที่มีประสิทธิผลและสามารถจ่ายได้ที่สอดคล้องกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการศึกษานี้ เพื่อลดการสัมผัสโรคจากการทำงาน และสามารถนำข้อมูลจากการศึกษานี้ ไปใช้สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค หรือการศึกษาเพื่อประเมินมาตรการต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมวัณโรคต่อไป
Other Abstract: The purpose of this descriptive cross-sectional study was to determine the prevalence rate and factors related to tuberculous infection among hospital personnel of Nopparat Rajathanee Hospital. Three hundered and ninety-eight personnel were selected by systematic sampling from the list of 1,592 hospital personnel. The prevalence of tuberculous infection was determined by tuberculin skin test (TST) and its related factors were collected by self-administered questionnaires. The study was conducted during March and May 2003. Three hundred and eight-six personnel (96.98% of 398), participating in this study, were 59 males (15.3%) and 327 females (84.7%). The mean age and duration of employment were 32.74 (±8.00) years and 7.22 (±5.95) years, respectively, and there were no difference between gender. There were 138 non-occupational exposure (35.8%), 220 occupational exposure (57.0%), and 324 BCG vaccinated personnel (83.9%). Two hundred and twenty-nine of BCG vaccinated personnel had a BCG scar (92.3%). Seventy-one percent of participants had positive tuberculin skin test by Mantoux method with indurations of 10 mm or more. Working department, occupational exposures, and duration of employment of 1 year or more were significantly associated with TST positivity, while gender, age occupation, non-occupational exposures, and BCG scar were not.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26162
ISBN: 9741734425
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charas_ch_front.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Charas_ch_ch1.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Charas_ch_ch2.pdf19.27 MBAdobe PDFView/Open
Charas_ch_back.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.