Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26201
Title: | ผลของวิธีสอนและระดับอายุในการเรียนสัญญลักษณ์ที่คล้ายกัน |
Other Titles: | Effects of teaching method and age level on learning similar symbols |
Authors: | ชีพสุมน รังสยาธร |
Advisors: | นิรมล ชยุตสาหกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2522 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาผลของวิธีสอนและระดับอายุในการเรียนสัญลักษณ์ที่คล้ายกัน โดยต้องการทดสอบว่า (1) การเรียนสัญลักษณ์ที่คล้ายกันโดยใช้วิธีสอนที่เน้นลักษณะพิเศษของสัญลักษณ์ และไม่เน้นลักษณะพิเศษของสัญลักษณ์ วิธีสอนที่เสนอสัญลักษณ์พร้อมกันและเสนอสัญลักษณ์ไม่พร้อมกัน มีความแตกต่างกันหรือไม่ (2) การเรียนสัญลักษณ์ที่คล้ายกันในเด็กก่อนวัยเรียน ช่วงระดับอายุ 3, 4 และ 5 ปี มีความแตกต่างกันหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ถึง 5 ปี จากโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ซึ่งแต่ละกลุ่มได้รับการทดลองที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มที่ 1 เรียนโดยเน้นลักษณะพิเศษและเสนอสัญลักษณ์พร้อมกัน กลุ่มที่ 2 เรียนโดยไม่เน้นลักษณะพิเศษ และเสนอสัญลักษณ์พร้อมกัน กลุ่มที่ 3 เรียนโดยเน้นลักษณะพิเศษและเสนอสัญลักษณ์ไม่พร้อมกัน กลุ่มที่ 4 เรียนโดยไม่เน้นลักษณะพิเศษและเสนอสัญลักษณ์ไม่พร้อมกัน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ตัวแปร และทดสอบนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า (1)ผู้รับการทดลองทั้ง 4 กลุ่ม เรียนสัญลักษณ์ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 (2)ผู้รับการทดลองทั้ง 3 ระดับอายุเรียนสัญลักษณ์ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 |
Other Abstract: | The purpose of this study was to investigate the effects of teaching methods and age levels on learning similar symbols. Specific questions investigated were two-fold: (1) Did the four methods differ in learning similar symbols? (2) Did pre-school children of 3 to 5 years of age differ in learning similar symbols? One hundred and twenty pre-school children of 3 to 5 years of age, randomly devided into 4 groups were used as subjects of this investigation. The four methods utilized were the following: (1) illustrating the distinctive features and showing two similar symbols; (2) did not illustrating the distinctive features and showing two similar symbols; (3) illustrating the distinctive features and showing one similar symbols; (4) did not illustrating the distinctive features and showing one similar symbols. Means were statistically computed and two-way analysis of variance was conducted, followed by Newman-Keuls test. Two majors findings were as follows: (1) There were no significant difference among the four methods. (2) There were significant difference among the three age levels. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26201 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Shiepsumon_Ru_front.pdf | 385.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Shiepsumon_Ru_ch1.pdf | 753.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Shiepsumon_Ru_ch2.pdf | 449.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Shiepsumon_Ru_ch3.pdf | 352.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Shiepsumon_Ru_ch4.pdf | 346.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Shiepsumon_Ru_ch5.pdf | 314.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Shiepsumon_Ru_back.pdf | 450.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.