Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2620
Title: การผลิตตัวอ่อนจากการปฏิสนธินอกร่างกายของโอโอไซต์ที่เก็บจากรังไข่ลูกโค : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Embryo production by in vitro fertilization of calf oocyte
Authors: มงคล เตชะกำพุ
ชัยณรงค์ โลหชิต
วิชัย ทันตศุภารักษ์
ศิริวัฒน์ ทรวดทรง
จินดา สิงห์ลอ
Email: mongkol.t@chula.ac.th
chainarong.L@chula.ac.th
wichai.t@chula.ac.th
siriwat.s@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
Subjects: โค--ตัวอ่อน
ปฏิสนธิในหลอดแก้ว
การปรับปรุงพันธุ์
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการผลิตตัวอ่อนด้วยการปฏิสนธินอกร่างกายจากโอโอไซด์ของลูกโคพื้นเมืองก่อนวัยเจริญพันธุ์อายุ 4-6 เดือน หลังจากกระตุ้นครั้งแรกและกระตุ้นซ้ำอีก 3 ครั้ง ด้วยฟอลลิคูล่าร์สติมูเรดดิ้ง ฮอร์โมน ขนาด 192 มก. ฉีดเข้ากล้ามวันละ 2 ครั้ง (เช้า/เย็น) ติดต่อกัน 4 วัน โดยขนาดลดโด๊ส (32/32ม24/24ม24/24ม16/16) ตรวจการตอบสนองของรังไข่และการเก็บโอโอไซด์ด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดช่องท้องหลังกระตุ้นเข็มสุดท้าย 60 ชม. นำโอโอไซด์ที่ได้มาเลี้ยงให้เกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธินอกร่างกาย และปฏิสนธิกับตัวอสุจิ แล้วนำตัวอ่อนที่ได้เลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนหรือฝากในท่อนำไข่ของแกะหรือกระต่ายนาน 6 วัน ผลการศึกษาพบว่า การตอบสนองของรังไข่ของลูกโคต่อการฉีดกระตุ้นฮอร์โมนมีความผันแปรค่อนข้างสูงในลูกโคแต่ละตัว โดยมีค่าเฉลี่ยของการตอบสนองของรังไข่ (ฟอลลิเคิล+คอร์ปัส ฮีโมราจีกัม) จากการกระตุ้น 4 ครั้ง เท่ากับ 31.9+-3.0 ใบ/ครั้ง/ตัว ได้โอโอไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 17.6+-1.8 ใบ/ครั้ง/ตัว คิดเป็นอัตราการเก็บโอโอไซด์เท่ากับ% การกระตุ้นทำให้ผลของการตอบสนองของรังไข่และจำนวนโอโอไซด์เฉลี่ยต่อตัวลดลงจากการกระตุ้นครั้งแร (P<0.05) โอโอไซด์สามารถเจริญพร้อมปฏิสนธิในอัตราเฉลี่ย 73.6% และอัตราการแบ่งตัวหลังเลี้ยงในหลอดทดลองเท่ากับ 31.6% ตัวอ่อนที่เลี้ยงไว้ในท่อนำไข่ของแกะหรือกระต่ายสามารถแบ่งตัว และพัฒนาจนถึงระยะมอรูล่าและระยะบลาสโตซีดได้แต่ท่อนำไข่ของแกะดูจะเหมาะสมมากกว่า สามารถนำตัวอ่อนไปแช่แข็งและบางส่วน (20%) พัฒนาได้หลังแช่แข็งในหลอดทดลอง นอกจากนี้ทางคณะผู้วิจัยได้พัฒนาการเก็บโอโอไซด์ในลูกโคด้วยวิธีการเจาะผ่านช่องคลอดด้วยเครื่องมือคลื่นความถี่สูง รวมทั้งได้ปรับเทคนิคนี้ไปใช้การกระตุ้นและเก็บโอโอไซด์ในลูกโคที่มีพันธุกรรมดี การศึกษานี้จะเป็นแนวทางใหม่ในการนำเอาเทคนิคการผลิตตัวอ่อนจากลูกโคก่อนวัยเจริญพันธุ์ไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้นด้วยการไปลดช่วงห่างระหว่างชีวิตได้
Other Abstract: The embryo production by in vitro fertilization of prepubertal calf oocytes were studied. The calves aged 4-6 months were superstimulated by 192 mg follicle stimualting hormone (FSH) for 4 consecutive days (am/pm) in the reducing manner; 32/32, 24/24,24/24,16/16. The calves were repeated stimulated for 4 times. Sixty hours after the last FSH injection, the ovarian responses were examined and the oocytes were directly aspirated from growing follicles after caudal midline laparotomy. The oocytes were later matured and fertilized in vitro (IVF). After IVF, the embryos were either cultivated in vitro or transferred in ligated oviducts of sheep or rabbit doe for 6 days. Results showed that a high variation of responses among calves existed with the avergae of 31.9+-3.0 follicles per calf and the avergae oocytes per claf was 17.6+-1.8 which presented the recovery rate of 55.2%. A repeat stimulation tended to reduce the responses and the average number of recovered oocytes per donor significantly (P<0.05). The invitro maturation rate was 73.6% and the cleavage and developed to morula or blastocyst stage, however, it seemed that sheep oviduct was more appropriated to culture calf oocytes than rabbit oviduct. Subsequently, some of these embryos (20%) were able to develop in vitro after frozen-thawed. In addition, the oocyte collection by intravaginal ultrasound-guided aspiration (Ovun Pick Up) was developed and the technique applied for oocyte collection technique in a high genetic value calf. This study suggests a new track for cattle breeding improving in the future by a reduction of generation interval, using prepubertal calf and in vitro fertilization and embryo transfer techniques.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2620
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mongkol.pdf8.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.