Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2626
Title: ผลของขนาดของแรงดูดสูญญากาศต่อการเก็บโอโอไซต์ ด้วยเครื่องมือคลื่นเสียงความถี่สูงสอดผ่านทางช่องคลอดจากกระบือปลักไทย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The effect of aspiration vacumm after transvaginal ultrasound-guided oocyte retrieval from Thao swamp buffalo (Bubalus bubalis)
Authors: มงคล เตชะกำพุ
เอกชาติ พรหมดิเรก
นวเพ็ญ ภูติกนิษฐ์
จินดา สิงห์ลอ
Email: mongkol.t@chula.ac.th
nawapen.p@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
Subjects: กระบือปลัก
โอโอไซต์
การผสมเชื้อ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อหาระดับแรงดูดสูญญากาศที่เหมาะสมในการเก็บโอโอๆซด์ด้วยวิธีการใช้เครื่องมือคลื่นเสียงความถี่สูงสอดผ่านทางช่องคลอดในกระบือปลักไทย โดยทำศึกษาในกระบือปลักสาวหลังวัยเจริญพันธ์ (การทดลองที่ 1) และลูกกระบือปลักก่อนวัยเจริญพันธุ์ (การทดลองที่ 2) ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยฟอลลิเคิล สติมูเลติง ฮอร์โมน (FSH) ก่อนทำการเก็บโอโอไซด์ วัดความสำเร็จจากอัตราการเก็บโอโอไซด์และคุณภาพของโอโอไซต์ที่เก็บได้ และประเมินสภาวะพร้อมปฏิสนธิด้วยการย้อมสีโอโอไซต์ การทดลองที่1 ทดลองในกระบือปลักสาว อายุ 3 ปี จำนวน 6 ตัว ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน FSH ขนาด 280 มก. โดยแบ่งฉีด 3 วัน ติดต่อกัน (เช้า/เว็น 60/60, 50/50, 30/30 มก.) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้แรงดูดในระดับ 100 mmHg กลุ่มที่ 2 ใช้แรงดูดในระดับ 80 mmHg และกลุ่มที่3 ใช้แรงดูดในระดับ 60 mmHg แต่ละกลุ่มทำการเก็บ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 2 เดือน ครั้งละ 6 ตัว โดยหมุนเวียนกันจัดกลุ่มระดับแรงดูดด้วยการสุ่มรวมการเก็บทั้งหมด 36 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่าที่ระดับแรงสุดที่ 100 และ 80 mmHg ให้อัตราการเก็บโอโอไซต์ไม่แตกต่างกันเท่ากับ 81.2% (69/85) และ 79.1% (53/67) ส่วนที่ระดับแรงดูดที่ 60 mmHg ให้อัตราการเก็บไอโอไซต์เท่ากับ 90.1% (93/103) สูงกว่ากลุ่มแรงดูดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ได้จำนวนโอโอไซต์ในแต่ละกลุ่ม เท่ากับ 5.33 3.27, 4.42 2.71 และ 7.75 4.31 โอโอไซต์ต่อตัว ตามลำดับ เปอร์เซนต์โอโอไซต์ที่มีคุณภาพดี (COC, S P, EXP) ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 ระดับ เท่ากับ 44.8, 43.4 และ 49.4% ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ทดลองในลูกกระบือปลัก อายุ 1.5 ปี จำนวน 12 ตัว ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน FSH ขนาด 180 มก. โดยแบ่งฉีด 3 วัน ติดต่อกัน (เช้า/เย็น, 40/40, 30/30, 20/20) โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มระดับแรงดูด คือ 100, 80 และ 60 mmHg โดยมีกระบือกลุ่มละ 4 ตัว ทำการทดลอง 2 รอบ ห่างกัน 2 เดือน จากการศึกษาพบว่าที่ระดับแรงดูดที่ 100 และ 80 mmHg ให้อัตราการเก็บโอโอไซต์ไม่แตกต่างกัน เท่ากับ 78.4% (29/37) และ 83.6% (61/73) ส่วนที่ระดับแรงดูดที่ 60 mmHg ให้อัตราการเก็บโอโอไซต์เท่ากับ 65.7% (23/35) ต่ำกว่ากลุ่ม 80 mmHg อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ได้จำนวนโอโอไซต์ในแต่ละกลุ่มเท่ากับ 5.8 4.87, 7.6 8.6 และ 3.29 2.06 โอโอไซต์ต่อตัว ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์โอโอไซต์ที่มีคุณภาพดี (COC, S+P, EXP) ไม่แตกต่างกันใน ทั้ง 3 ระดับ เท่ากับ 82.0, 65.5 และ 79.3% ตามลำดับ ในการกระตุ้นรังไข่ทั้งสองการทดลองพบว่า ประมาณ 80% ของฟอบบิเคิลที่ตอบสนองอยู่ในขนาด 2-6 มม. และโอโอไซต์ที่เก็บจากกระบือปลักก่อนและหลังวัยเจริญพันธุ์ การเจริญเป็นระยะ prophase 1 และ metaphase 1 จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าระดับแรงดูดสูญญากาศ การเก็บโอโอไซต์ด้วยเครื่องมือคลื่นเสียงความถี่สูงสอดผ่านทางช่องคลอดมีผลต่อการเก็บโอโอไซต์ในกระลือปลักไทย แต่ไม่มีผลต่อคุณภาพของโอโอไซต์ที่เก็บได้
Other Abstract: The objective of the study was to investigate the effect of the aspiration vacuum after transvaginal, ultrasound-guided, oocyte retrieval from Thai swamp buffalo. Two experiments were conducted in buffalo heifers (Exp.I) and in prepubertal buffalo calves (Exp. 2), after Follicle Stimulating Hormone (FSH) treatment. The oocyte recovery, oocyte quality and maturation stages were compared for the different groups of aspiration vacuum pressure, that were used. Experiment 1: Six buffalo heifers, aged 3 yrs were treated with 280 mg FSH, twice a day, in a divided dose for 3 d (60/60, 50/50, 30/30X. Three accuum pressures were used; 100 (n=12x} 80(n=12) and 60 mmHg(n=12). The animals were treated repeatedly and collected with 2 sets of each pressure every 2 months giving a total of 36 collections. The results showed that there was no differece in the oocyte recovery rate between the 100 and 80 mmHg giving 81.2% (69/85) and 79.1%(53/67), while the 60 mmHg provided a better rate, 90.1%(93/103) (P<0.05) than the othertwo pressures. The oocytes collefcted per donor were 5.33 3.27, 4.42 2.71 and 7.75 4.31 respectively. The COC, S+P and EXP oocytes showed no differences between the different pressures being 44.8, 43.4 and 49.4% Experiment 2: Twelve prepubertal calves} aged 1.5 yrs were treated with 180 mg FSH twice a day, in a divided dose for 3 d(40/40, 30/30, 20/20). The animals were randomized into 3 groups, according to the different vacuum pressures, 100 (n=8), 80 (n=8) and 60 mmHg (n=8) and 60 mmHg (n=8). Two sets of treatments, were performed with 2 months interval between them. The results were similar to Exp. 1 with oocyte recovery rates using 100 and 80 mmHg, no different at 78.4% (29/37) and 83.6% (61/73). The 60 mmHg gave a lower rate, 65.7% (23/35) compared to 80 mmHg group (P<0.05). The oocytes recovered per donor were 5.8 4387, 7.6 8.6 and 3.29 2.06 respectively. The percentage of COC, S+P, EXP oocytes showed no differences between the pressures, being 82.0, 65.5 and 79.3%. The two experiments showed that the follicles with a size of 2-6 mm were dominant after FSH treatment, being around 80% of the total number. Furthermore the maturation stage of these oocytes proceeded to be prophase I and metaphase I. In conclusion, the vacuum pressure used for the transvaginal, ultrasound-guided, oocyte retrieval technique, influenced the recovery rate but not the oocyte quality.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2626
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MongkolEffe.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.