Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26276
Title: | การวิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรมใบยาสูบไทย ศึกษาเฉพาะพันธุ์เวอร์จีเนีย |
Other Titles: | An analysis of the structure of the Thai tobacco leaf industry : with special focus on virginia variety |
Authors: | สุรศักดิ์ บุญประกอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisors: | ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรมใบยาสูบไทย: ศึกษาเฉพาะพันธุ์เวอร์จิเนีย” นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมใบยาสูบไทยพันธุ์เวอร์จิเนียโดยเน้นที่การศึกษาระบบตลาดและการค้าของใบยาสูบไทยพันธุ์เวอร์จิเนียและของใบยาสูบโลกเป็นพื้นฐาน การวิเคราะห์โครงสร้างของอุตสาหกรรม จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพิจารณาวางนโยบายให้ถูกต้องกับอุตสาหกรรมนี้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมให้ได้พอดี ย่อมขึ้นอยู่กับระดับของความรู้ความเข้าใจโครงสร้างของตลาดหรือโครงสร้างของอุตสาหกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ในแง่ของการขยายข้อความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมใบยาสูบไทย ซึ่งยังนับว่ามีผู้ศึกษาน้อยมาก การศึกษานี้ ผู้เขียนวิเคราะห์โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีการจัดองค์การอุตสาหกรรม (Industrial Organization theory) อันเป็นรูปแบบการวิเคราะห์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้าง พฤติกรรมและการดำเนินงานของตลาด (Market Structure, Conduct, and Performance Approach) โดยศึกษาจากส่วนประกอบ 3 ตัว คือ 1. Vertical Integration หรือการรวมตัวในแนวตั้งของคู่ซื้อขายใบยาสูบ นับตั้งแต่ชาวไร่จนถึงบริษัทส่งออก 2. Export Concentration หรือระดับการกระจุกตัวของกาส่งออกของบริษัทส่งออกใบยาสูบเวอร์จิเนีย การวิเคราะห์นี้ใช้วิธีการวัด 2 วิธี คือ Comprehensive Concentration Index และ Thiel’s Method การคำนวณใช้ข้อมูลการส่งออกรายบริษัทของบริษัทส่งออกในปี 2512, 2518 และ2521 โดยอยู่ภายใต้สมมุติฐานว่าการส่งออกมีลักษณะเป็นอิสระต่อกัน (Independently) 3. Joint Venture หรือ การเข้าร่วมทุนของชาวต่างชาติ โดยพิจารณาจากการถือหุ้น ทั้งนี้การวิเคราะห์ทั้งหมดใช้ข้อมูล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 ถึง 2521 ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมใบยาสูบไทยพันธุ์เวอร์จิเนียเป็นอุตสาหกรรมที่มีการรวมตัวแนวตั้ง เฉพาะกรณีของบริษัทส่งออกเท่านั้น ส่วนคู่ซื้อขายอื่นมีลักษณะการซื้อขายแบบธรรมดาโดยความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะการให้เครดิต อุตสาหกรรมใบยาสูบไทยพันธุ์เวอร์จิเนียเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันในช่วงของการส่งออก อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาข้อเท็จจริงภายหลังของผู้เขียนพบว่า สมมุติฐานที่ว่าบริษัทส่งออกประกอบธุรกิจการส่งออกอย่างเป็นอิสระต่อกัน (independently) ไม่เป็นความจริง โดยบริษัทส่งออกมีความสัมพันธ์กัน เช่น ในฐานะของบริษัทแม่และบริษัทในเครือ แต่ผู้เขียนมิได้ทำการคำนวณค่าการกระจุกตัวภายใต้สภาพการณ์ใหม่นี้ ซึ่งหากมีการคำนวณแล้ว คาดว่าการกระจุกตัวจะสูงขึ้น และประการสุดท้าย อุตสาหกรรมใบยาสูบไทยพันธุ์เวอร์จิเนียมีลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมเป็นการร่วมทุน โดยมีชาวต่างชาติร่วมถือหุ้นในบริษัทส่งออกชั้นนำของไทย 10 บริษัท ถึง 38 เปอร์เซ็นต์ อันเนื่องมาจากลักษณะการขยายตัวของบริษัทในแนวตั้ง (Vertical Expansion) เพื่อพยายามควบคุมแหล่งวัตถุดิบ ของบรรษัทยาสูบข้ามชาติชั้นนำของโลก ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากลักษณะของอุตสาหกรรมทั้ง 3 ประการ ในระดับจุลภาค ทำให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในทุกระดับของคู่ซื้อขายใบยาสูบ โดยอาศัยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ในระดับมหภาค ก่อให้เกิดอุปสรรคของผู้เข้าแข่งขันรายใหม่ การโอนเทคโนโลยี่ คนไทยคงได้รับเพียงเทคโนโลยี่ระดับกลาง และเพิ่มความแตกต่างทางรายได้ โดยเฉพาะระหว่างประชาชนในภาคเหนือของประเทศ อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยต่อไปควรคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัทส่งออกมิได้ประกอบธุรกิจการส่งออกอย่างเป็นอิสระต่อกัน (independently) ส่วนการวัดระดับของการรวมตัวในแนวตั้งควรใช้วิธีเชิงปริมาณ เช่น อัตราว่างของมูลค่าเพิ่มต่อยอดขาย อัตราส่วนของสินค้าคงคลังต่อยอดขาย อันจะทำให้เกิดความสมบูรณ์และชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ น่าจะมีการศึกษาถึงลักษณะการใช้ทุนหรือแหล่งที่มาของเงินทุนของบริษัทต่างชาติในอุตสาหกรรมนี้ เพื่อพิสูจน์ว่าการเข้าร่วมลงทุนของชาวต่างชาติเป็นการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาหรือไม่ |
Other Abstract: | The objective of this study, “An analysis of the Structure of the This Tobacco Leaf industry: With Special Focus on Virginia Variety, is to analyse the characteristics and structure of the Thai Virginia tobacco leaf industry, with an emphasis on the study of market system of Thai Virginia and of world tobacco leaf. Such a study increases understanding of the market structure which is useful for policies formulation and market development. In this study, the problems are analysed by using Industrial Organization Theory concerning the relation between market structure, conduct and performance approach. Three principal aspects are analysed, namely, 1) Vertical Integration, 2) Export Concentration which are employed two methods in calculating the concentration value: Comprehensive Concentration Index and Thiel’s Method. Cross sectional data of export companies of 1969, 1975 and 1978 are used in the calculation with the assumption that firms; export is independently determined. and 3) Joint Venture which is based on the amount of share holdings. The main findings can be summarized as follow: Thai Virginia tobacco leaf industry is vertically integrated with reference to export companies only, other production and distribution levels are on credit basis. Besides, the industry is very competitive in exports. The empirical results, however, reveal that it is not true that exports. In export company is independent. The relation is between mother company and its subsidiary, concentration value under this situation do not calculated. Finally, Thai Virginia tobacco leaf industry is joint venture by foreigners who hold about 38% shares in ten Thai leading export companies. This characteristic is a result of vertical expansion of world multinational tobacco leaf industry and its attempt to control natural resources in Thailand. The economic impacts of these three characteristics are, in micro level, the benefits of both sellers and buyers in every level of tobacco leaf contractors by interdependent; and, in macro level, the barriers to new entry, transfer of intermediate technology to Thais, and increase in income differences among the people in the North. Further study, however, should take into account the fact that the exporting companies are interdependent. The measurement of vertical integration should be quantitative, such as value added-sales ratio, inventory-sales ratio, for increased understanding. Furthermore, any research on capital utilization, and sources of capital of foreign companies in this industry should be promoted as well to prove whether foreign joint-ventures result in foreign exchange surplus for Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26276 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surasak_Bo_front.pdf | 496.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_ch1.pdf | 364.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_ch2.pdf | 364.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_ch3.pdf | 523.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_ch4.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_ch5.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_ch6.pdf | 863.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_ch7.pdf | 474.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_ch8.pdf | 380.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surasak_Bo_back.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.