Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26291
Title: Defense mechanisms of Apis dorsata fabricius and ars primorsky honey bee Apis mellifera linnaeus to the bee mite Tropilaelaps clareae delfinado and baker
Other Titles: กลไกการป้องกันไร Tropilaelaps clareae DELFINADO AND BAKER ของผึ้งหลวง Apis dorsata FABRICIUS และผึ้งสายพันธุ์เออาร์เอส ไพรมอสกี Apis mellifera LINNAEUS
Authors: Boonmee Kavinseksan
Advisors: Siriwat Wongsiri
Thomas E. Rinderer
Other author: Chulalongkorn Univercity. Faculty of Science
Issue Date: 2003
Abstract: Six new and 8 established colonies of Apis dorsata were collected in Samut Songkhram, Thailand, between April 2000 and September 2002 to investigate their infestation by Tropilaelaps clareae Delfinado and Baker. No mites were found in the 6 new colonies. The 8 established colonies had 2-119 mites in the sampled sealed brood, and 3 of 8 established colonies had 1-11 mites on the adult bees. Sixteen established and 13 deserted colonies of A. dorsata were also collected from different locations in Thailand, from March 2000 to October 2002, to determine for mite infestations. The sixteen established colonies had 0-146 T. clareae in the sampled capped brood, and 0-647 mites were found in sealed brood of the 13 deserted colonies. The average infestation rate was 0.3% on the adult bees, and 1.8 and 13.5% in sealed brood cells of the established and deserted colonies, respectively. Debris from two A. dorsata colonies (1 and 2) in Chiang Mai and three A. dorsata colonies (3. 4 and 5) in Samut Songkhram was collected between May 2000 and July 2002. A total of 9,163 and 1,806 T. c/areae were recovered from colonies 1 and 2. respectively, The number of mites collected in the debris of colonies 3. 4 and 5, was 10, 1 and 0. respectively. The percentage of injured mites in the debris from these A. dorsata colonies was 93.8%. Eleven A. dorsata, 10 ARS Primorsky (A. mellifera) and 10 Thai commercial colonies (A.mellifera) were used to investigate rates of non-reproduction by Tropilae/aps mites infesting brood and the number of progeny produced by reproductive mites. The mean percentage of non­ reproductive mites on the worker pupae of the A. dorsata colonies (65.2±5.1%) was significantly higher than that the mites in the Thai (50±3.8%) and Primorsky (48±5.2%) colonies. The mean percentages of non-reproductive mites in the Primorsky and Thai colonies were not significantly different. The numbers of progeny produced by reproductive mites in the A. dorsata (1.7±0.4). Thai (1.8±0.3) and Primorsky (2.0±0.3) colonies were not significantly different. Ten ARS Primorsky and 10 Thai colonies were studied regarding their potential resistance to T. clareae. The experiment was conducted in Chiang Mai during November 2001- February 2003. The average infestation rate of T. clareae on the Primorsky brood (18.5±2.6%) was significantly higher than that of the Thai brood (11.4±1.5%). The mite infestation rate on the adult bees (0.5±0.1 - 0.8±0.2%). the average number of mites through time in the test colonies (871.5±179.5 - 954.9±184.6). the mite number per infested cell (2.4±0.2 - 2.9±0.2), the injured mite percentage in the debris (70.3 - 72.7%), the rate of removal of freeze-killed brood (82.6±5.8 - 85.5±5.4%) and the colony longevity (4.6±0.5 - 6.2±0.8 months) of the Primorsky and Thai colonies did not significantly differ.
Other Abstract: จากการเปรียบเทียบประชากรไร Tropilaelaps clareae Delfinado and Baker ในรังของผึ้งหลวง (Apis dorsata Fabricius) ที่เพิ่งแยกรัง (ยังไม่มีตัวอ่อนของผึ้งหรือมีตัวอ่อนรุ่นแรก) จำนวน 6 รัง กับรังที่มีตัวอ่อนของผึ้งมากกว่ารุ่นแรกจำนวน 8 รัง ในจังหวัดสมุทรสงคราม ระหว่างเดือนเมษายน 2543 – กันยายน 2545 ผลการศึกษาไม่พบไรในรังที่เพิ่งแยกมา ส่วนรังที่มีตัวอ่อนของผึ้งมากกว่ารุ่นแรกพบไรในหลอดรวงตัวอ่อน 2-119 ตัวและพบไร 1-11 ตัว บนผึ้งตัวเต็มวัยของ 3 รัง จาก 8 รังดังกล่าว และจากการศึกษาประชากรไรในรังผึ้งหลวงที่มีตัวอ่อนมากกว่ารุ่นแรกจำนวน 16 รัง และ รังร้างจำนวน 13 รัง จากหลายพื้นที่ในประเทศไทยระหว่างเดือนมีนาคม 2543 – ตุลาคม 2545 พบว่ารังที่มีตัวอ่อนมากกว่านุ่นแรกมีไรอยู่ในหลอดรวง 0-146 ตัว อัตราการแพร่ระบาดของไรในหลอดรวงตัวอ่อนและบนผึ้งตัวเต็มวัยเท่ากับ 1.8 และ 0.3% ตามลำดับ รังร้างพบไรในหลอดรวงตัวอ่อน 0-647 ตัว และอัตราการแพร่ระบาดของไรในหลอดรวงตัวอ่อนเท่ากับ 13.5% ผลการศึกษาไร T. clareae ที่ร่วงตกลงมาจากรังของผึ้งหลวงจำนวน 5 รัง ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2543 – กรกฎาคม 2545 พบว่ารังที่ 1 และ 2 ซึ่งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่มีไรตกลงมา 9,163 และ 1,806 ตัว ตามลำดับ รังที่ 3, 4 และ 5 ซึ่งอยู่ในจังหวัดสมุทรสงครามมีไรตกลงมา 10, 1 และ 0 ตัว ตามลำดับ โดยเฉลี่ย 93.8% ของจำนวนไรที่ตกลงมาตายได้รับบาดเจ็บมาก่อน โดยผึ้งงานของผึ้งหลวงกัดไรทิ้ง การเปรียบเทียบจำนวนไรเพศเมียที่สืบพันธุ์ไม่ได้ และจำนวนลูกหลานของไรที่ผลิตโดยไรเพศเมียที่สืบพันธุ์ได้ ในหลอดรวงตัวอ่อนของผึ้งหลวงจำนวน 11 รัง ผึ้งสายพันธุ์เออาร์เอสไพรมอสกี (A. mellifera) จำนวน 10 รัง และผึ้งพันธุ์ (A. mellifera) ในประเทศไทยจำนวน 10 รัง พบว่าเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของจำนวนไรที่สืบพันธุ์ไม่ได้ในหลอดรวงตัวอ่อนของผึ้งหลวง (65.2±5.1%) สูงกว่าในหลอดรวงของผึ้งสายพันธุ์เอาอาร์เอสไพรมอสกี (48±5.2%) และผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย (50±3.8%) อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของจำนวนไรที่สืบพันธุ์ไม่ได้ในหลอดรวงตัวอ่อนของผึ้งสายพันธุ์เอาอาร์เอสไพรมอสกีและผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อัตราจำนวนลูกหลานเฉลี่ยต่อไรเพศเมีย 1 ตัว ในหลอดรวงตัวอ่อนของผึ้งหลวง(1.7±0.4 ตัว) ผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย (1.8±0.3 ตัว) และผึ้งสายพันธุ์เอาอาร์เอสไพรมอสกี (2±0.3 ตัว) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการเปรียบเทียบความต้านทานต่อไร T. clareae ระหว่างผึ้งสายพันธุ์เอาอาร์เอสไพรมอสกีและผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย การทดลองได้ทำขึ้นที่สุภาฟาร์มผึ้งในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544 – กุมภาพันธ์ 2546 โดยใช้ผึ้งสายพันธุ์ละ 10 รัง พบว่าอัตราการแพร่ระบาดเฉลี่ยของไรในหลอดรวงตัวอ่อนของผึ้งสายพันธุ์เอาอาร์เอสไพรมอสกี (18.5±2.6%) สูงกว่าของผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย (11.4±1.5%) อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ปัจจัยความต้านทานอื่นๆของผึ้งสองสายพันธุ์นี้ต่อไรได้แก่ อัตราการแพร่ระบาดเฉลี่ยของไรบนผึ้งตัวเต็มวัย (0.5±0.1 – 0.8±0.2%) จำนวนไรภายในรังผึ้งแต่ละรังเฉลี่ยต่อเดือน (871.5±179.5 – 954.9±184.6 ตัว) จำนวนไรเฉลี่ยต่อหลอดรวงตัวอ่อนที่ถูกบุกรุก (2.4±0.2 – 2.9±0.2 ตัว) เปอร์เซ็นต์ของจำนวนไรที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งตกลงมาใต้รังผึ้ง (70.3 – 72.7%) อัตราการเอาตัวอ่อนของผึ้งที่ตายแล้วออกจากหลอดรวง (82.6±5.8 – 85.5±5.4%) และใช้ความมีชีวิตยาวนานของรังผึ้งซึ่งถูกไรเข้าทำลาย (4.6±0.5 – 6.2±0.8 เดือน) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
Description: Thesis(Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2003
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Biological Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26291
ISBN: 9741741561
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonmee_ka_front.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_ch2.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_ch3.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_ch4.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_ch5.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_ch6.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_ch7.pdf7.1 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_ch8.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ka_back.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.