Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/263
Title: | ผลของการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร |
Other Titles: | Effects of form-focused instruction in communicative tasks on English oral ability of the Information System undergraduates, Business Administration Faculty at Rajamangala Institute of Technology, Bangkok Commercial Campus |
Authors: | ธิดารัตน์ นาคเกี้ยว, 2510- |
Advisors: | สุมิตรา อังวัฒนกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sumitra.A@chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน การสื่อทางภาษา ความสามารถทางภาษา |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ที่ได้รับการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างก่อนและหลังได้รับการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร ตัวอย่างประชากรในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ปีการศึกษา 2544 จำนวน 28 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร จำนวน 9 แผนๆ ละ 2 คาบรวมทั้งสิ้น 18 คาบ ผู้วิจัยสอน สัปดาห์ละ 4 คาบ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งเป็นแบบสอบคู่ขนานและผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและมีค่าความเที่ยงของแบบสอบฉบับที่ 1 เท่ากับ .88 และฉบับที่ 2 เท่ากับ 81 โดยแบบสอบฉบับที่ 1 ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง และฉบับที่ 2 ใช้ทดสอบหลังการทดลอง แล้วนำผลการทดสอบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษมาวิเคราะห์โดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองโดยการหาค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ ระดับปริญญาตรี สถาบันบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยา เขตพณิชยการพระนคร ที่ได้รับการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 35.35 และเมื่อพิจารณาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยจำแนกตามกิจกรรมพบว่า ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษจากการทำกิจกรรมการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการสมัครงาน การบรรยายภาพการสนทนาทางโทรศัพท์ การแสดงบทบาทสมมติในการนัดหมาย อยู่ในระดับปานกลาง ดี และดี โดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 13.14, 7.12 และ 15 ตามลำดับ 2. นักศึกษาสาขาวิชาระบบสารสนเทศ ระดับปริญญาตรี ที่ได้รับการสอนแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ในงานปฏิบัติ เพื่อการสื่อสาร มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังการทดลองคิดเป็นร้อยละ 70.7 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษก่อนการทดลองร้อยละ 23 |
Other Abstract: | Investigates English oral proficiency of the Information System undergraduates, Business Administration Faculty at Rajamangala Institute of Technology, Bangkok Commercial Campus taught by using form-focused instruction in communicative tasks and to compare English oral proficiency of the undergraduates before and after being taught by using form-focused instruction in communicative tasks. The subjects of this study were 28 first year Information System undergraduates, Business Administration Faculty at Rajamangala Institute of Technology, Bangkok Commercial Campus, in the academic year 2001 which were purposively selected. The instrument used for the experiment was 9 lesson plans, two periods for each plan, totally 18 periods. The researcher taught the subjects four periods a week for five weeks. The instruments used for data collection were 2 parallel sets of oral proficiency test with the approval of 3 speaking test experts and had the reliability of the first test at .88 and the second test at .81. The first oral proficiency test was administered to the group at the beginning of the experiment and the second one was administered at the end of the experiment. Then the collected data were analyzed by means of arithmetic mean, percentage of arithmetic mean, standard deviation and t-test. The findings were as follows: 1. English oral proficiency of the Information System undergraduates, Business Administration Faculty at Rajamangala Institute of Technology, Bangkok Commercial Campus taught by using form-focused instruction in communicative tasks was at the good level with the percentage of mean score at 35.35, When consider the oral English proficiency of the undergraduates according to each activity in the test, which are the job interview, the picture narration of telephone conversation and the role play of making an appointment, it was found that their English oral proficiency were at the average, good and good level with the percentage of mean score at 13.14, 7.12 and 15 respectively, 2. English oral proficiency of the undergraduates after being taught by using form-focused instruction incommunicative tasks was higher than that before being taught at the .01 level of significance. The percentage of mean score was 70.7, which was 23 percent higher than the before the experiment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/263 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.553 |
ISBN: | 9741704429 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.553 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thidarat.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.