Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26321
Title: | การศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A study of guideline intergrating basic education curriculum b.e. twenty-five, forty four in art area in schools in bangkok metropolis |
Authors: | บุษบา มธุรัสสกุล |
Advisors: | สุลักษณ์ ศรีบุรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านจุดมุ่งหมายการบูรณาการหลักสูตร คุณลักษณะการบูรณาการหลักสูตร รูปแบบการบูรณาการหลักสูตร ขั้นตอนการบูรณาการหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูศิลปศึกษา จำนวน 168 คน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรและนักวิชาการ ศิลปศึกษา จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยได้พบว่า ครูศิลปศึกษา มีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดกับการบูรณาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ในด้านจุดมุ่งหมายการบูรณาการหลักสูตร ด้านคุณลักษณะการบูรณาการหลักสูตร ด้านขั้นตอนการบูรณาการหลักสูตร และครูศิลปศึกษามีความคิดเห็นด้วยมากในด้านรูปแบบการบูรณาการหลักสูตร ครูศิลปศึกษาได้เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ ผู้เรียนควรเรียนรู้ในลักษณะองค์รวม สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้และบูรณาการให้สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยเลือกใช้รูปแบบการบูรณาการหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ โดยเน้นกิจกรรมปฏิบัติที่ใช้วัสดุในท้องถิ่น และส่งเสริมการนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรและนักวิชาการศิลปศึกษา ให้ความคิดเห็นในแต่ละด้านสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. ด้านจุดมุ่งหมายการบูรณาการหลักสูตร : ควรใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นแนวทางในการกำหนดจุดมุ่งหมาย 2. ด้านคุณลักษณะการบูรณาการหลักสูตร : ควรจัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้ความรู้แก่ผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ เชื่อมโยงบูรณาการสาระการเรียนรู้ และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ 3. ด้านรูปแบบการบูรณาการหลักสูตร : รูปแบบการบูรณาการหลักสูตรทุกรูปแบบมีความสอดคล้องที่จะนำมาใช้กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 4. ด้านขั้นตอนการบูรณาการหลักสูตร : ขั้นตอนการบูรณาการหลักสูตรมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะและควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะโครงงาน |
Other Abstract: | The objective of this research was to study the guideline for integrating basic education curriculum B.E 2544, in art area in schools in Bangkok metropolis in the aspects of; the objective of curriculum integration, the characteristic of curriculum integration, the procedure of the curriculum integration, and the model of curriculum integration. The research population were 168 art education teachers in schools in Bangkok metropolis, 12 experts in curriculum development and art educators. The research instruments were questionnaire and interview forms, then the data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis. The research findings revealted that the art teachers agreed at the highest level in integrating basic education curriculum in the aspect of the objective, the characteristic, and procedure of curriculum integration. And they agreed at the high level in the aspect of the model of curriculum integration. Art teachers gave more suggestions that were concluded as followings ; The learners should learn by the holistic of knowledge which they could apply in their life and their local area. The medel of curriculum integration should be selected in order to fit and match for learners and learning content. They should be stressed on performance activity with using local materials and including promoting for using in their livings. The opinions of curriculum experts and art educators were as following ; 1) Objective of the integrating curriculum : the objective should be set by using basic education curriculum , and learning standard as the guideline for setting objectives. 2) Characteristic of the integrating curriculum : the learning process should be arranged for students as to their aptitude and interest by combining and integrating content, merit and moral for students to use in their life, Parent and related community should co-operate in learning management. 3) Model of the integrating curriculum : the integrating model of other field of study, which were correlated, should be applied in the integrating basic education curriculum in the art area. 4) Procedure of the integrating curriculum : the procedure should be suitable for integrating basic education curriculum in the art area. The activity should be arranged as the art project. |
Description: | วิทยานิพนธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26321 |
ISBN: | 9741739273 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Busaba_ma_front.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaba_ma_ch1.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaba_ma_ch2.pdf | 28.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaba_ma_ch3.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaba_ma_ch4.pdf | 11.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaba_ma_ch5.pdf | 14.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busaba_ma_back.pdf | 12.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.