Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26391
Title: พฤติกรรมการออกกำลังกาย และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรี ภาคปกติ สถาบันราชภัฎ จันทรเกษม กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Physical activity behavior and related factors among undergraduate students in Rajabhat Chandrakasem institute Bangkok
Authors: ประศักดิ์ สันติภาพ
Advisors: อานนท์ วรยิ่งยง
ทัสสนี นุชประยูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2546
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรี ภาคปกติ สถาบันราชภัฎ จันทรเกษม กรุงเทพมหานคร ทำการศึกษาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันราชภัฎ จันทรเกษมจำนวน 638 คน เก็บข้อมูลโดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองระหว่าง ธันวาคม 2546 ถึง กุมภาพันธ์ 2547 ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีการออกกำลังกายเพียงพอร้อยละ 24.49, มีการออกกำลังกายไม่เพียงพอร้อยละ 56.92 และไม่มีการออกกำลังกายเลยร้อยละ 18.59 นักศึกษาชายออกกำลังกายเพียงพอร้อยละ 41.6 มากกว่านักศึกษาหญิงที่ออกกำลังกายเพียงพอร้อยละ12.8, สายการเรียนพลศึกษามีการออกกำลังกายเพียงพอร้อยละ 71.7 มากกว่าสายการเรียนอื่นๆ, ผู้มีผลการเรียน(เกรดเฉลี่ย)ดีมาก(3.50 – 4.00)มีการออกกำลังกายเพียงพอน้อยที่สุดร้อยละ 17.4 การศึกษานี้ยังพบว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายต่างกันมีความแตกต่างกันในเรื่อง ทัศนคติการรับรู้สมรรถนะของตนเอง, ทัศนคติการรับรู้อุปสรรคตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคม, สายการเรียน, เพศ, ผลการเรียน, ดัชนีมวลกาย, การมีเพื่อนออกกำลังกาย, การร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย, การมีสถานที่ออกกำลังกาย ระยะเวลาเดินทางไปออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ส่วน โรคประจำตัว, ภูมิลำเนาเดิม, ค่าใช้จ่ายที่ได้รับ, ความเพียงพอในการใช้จ่าย, ฐานะเศรษฐกิจของครอบครัว ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)ในพฤติกรรมการออกกำลังกาย, แรงสนับสนุนทางสังคม, ทัศนคติการรับรู้อุปสรรคตนเอง, ทัศนคติการรับรู้สมรรถนะของตนเอง ต่อการออกกำลังกาย ระหว่างนักศึกษาชาย และนักศึกษาหญิง ข้อเสนอแนะ : สถาบันควรเพิ่มสถานที่, ความสะดวกในการออกกำลังกาย และจัดโปรแกรมการออกกำลังกาย, การเพิ่มทัศนคติ ที่เหมาะสมแก่นักศึกษาหญิงที่ได้ปฏิบัติในเวลาที่ว่างจากการเรียน
Other Abstract: The survey of 638, 1st.year undergraduate students of Rajabhat Chandrakasem Institute Bangkok was carried out during December 2003 to February 2004 to determine their physical activity behavior and related factors. The result of the study revealed that only 24.5% of them had adequate physical activity behavior, mostly were those in the faculty of physical education. Male students had more physical activity than female students. 18.6% had no physical activity behavior, the rest had inadequate physical activity behavior. The study also showed that there were statistical significant difference (p<0.05) between the following factors : self efficacy of exercise perception, self barrier of exercise perception , exercise social support, recent GPA, body mass index, having friends to exercise with, having exercise place in the institute and the physical activity behavior . We did not find the relationship between the physical activity behavior and physical illness, daily expense of students, socio-economic of family. Male students showed more physical activity, exercise social support, self barrier of exercise perception, self efficacy of exercise perception than female students with statistical significance (p<0.05). The Institute should provide more space for indoor as well as outdoor physical activity and appropriate exercise program for female students and for those who had outside Institute activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26391
ISBN: 9741751001
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasak_sa_front.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Prasak_sa_ch1.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Prasak_sa_ch2.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open
Prasak_sa_ch3.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Prasak_sa_ch4.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open
Prasak_sa_ch5.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open
Prasak_sa_back.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.