Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26393
Title: ขอบเขตการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4 (2) : ศึกษากรณีองค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมโดยเฉพาะ
Other Titles: The scope of enforcement of article 4 (2) under the administrative procedure Act B.E. 2539 : a study onorgans specifically empowered by the constitution
Authors: อุณห์สุดา พฤกษะวัน
Advisors: มานิตย์ จุมปา
บรรเจิด สิงคะเนติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัญหาในเรื่องการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4 อนุมาตรา 2 ซึ่งได้บัญญัติยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แก่องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ ผลจากการวิจัยพบว่าการที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 บัญญัติเอาไว้เช่นนี้ เป็นกรณีที่ยกเว้นมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยมองในแง่ของรูปแบบองค์กรที่ใช้อำนาจ แต่ไม่ได้มองในแง่ของเนื้อหาในการใช้ขณะเดียวกันองค์กรตามรัฐธรรมนูญก็มีการใช้อำนาจในหลายๆ ลักษณะไม่เพียงแค่เฉพาะอำนาจที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เท่านั้น ในบางกรณีมีลักษณะของการใช้อำนาจทางปกครองด้วย ซึ่งส่งผลให้การใช้อำนาจทางปกครองขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทั้งนี้หลักเกณฑ์และสิทธิพื้นฐานต่างๆ อาทิ หลักการโต้แย้งคัดค้านและแสดงเหตุผล หลักความไม่มีส่วนได้เสียของเจาหน้าที่ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนเพื่อควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจทางปกครอง ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สามารถที่จะนำมาบังคับใช้กับ การใช้อำนาจในทางปกครองขององค์กรตามรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งการที่พระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติยกเว้นในแง่ขององค์กรเช่นนี้เกิดปัญหาตามมาว่า ขอบเขตขององค์กรตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ หมายถึงองค์กรใดบ้าง เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) ได้ บัญญัติองค์กรตามรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งองค์กรเหล่านี้ล้วนแต่มีลักษณะของการใช้อำนาจได้ในหลายลักษณะ แต่ขณะที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538) ที่บังคับใช้ขณะนั้น ยังไม่ได้บัญญัติถึงองค์กรตามรัฐธรรมนูญข้างต้นเอาไว้ จากการที่พระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติไว้เช่นนี้ ส่งผลให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทุกองค์กร ไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ดังนั้นจึงควรบัญญัติเอาไว้ให้ชัดเจนว่าการยกเว้นมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้กับ องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ เป็นการยกเว้นในฐานะที่เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ และยกเว้นไว้เฉพาะกรณีที่เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติเอาไว้โดยแท้เท่านั้น ในกรณีที่มีการใช้อำนาจทางปกครองย่อมต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการใช้บังคับของพระราชบัญญัติฉบับนี้
Other Abstract: To study the problem regarding the enforcement under section 4 (2) of the Administrative Procedure Act B.E. 2539 (the ACT), which specifies the Exception that the ACT shall not apply to the exercise of power by organs specifically empowered by the Constitution. The result of the research shows that the above mentioned Exception is based upon form but not on the substance of such organs. In fact, those organs exercise not only the power provided directly by the Constitution but sometimes the administrative power also. Hence, administrative power exercised by these organs might not be controlled by the ACT. In other words, principles and other fundamental rights that are provided by the law to protect Rights and Liberties of the people as well as to control the legality of the exercise of the administrative power, might not be applied to these organs. This also leads to the problem whether which organs are the organs under the Exception since there are several organs that are newly bom by the present Constitution e.g. the National Counter Corruption Commission, the National Election Commission, etc. Thus, according to the Exception provided under section 4 (2) of the ACT, these newly established organs might not fall within scope of enforcement under the ACT. The result of the research suggests that the ACT should specify clearly that the Exception prescribed under section 4 (2) shall mean only the organs specifically empowered by the Constitution, and just when these organs exercise power specifically provided by the Constitution. That is, the exercise of administrative power by these organs shall fall within the scope of enforcement under the Administrative Procedure Act.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26393
ISBN: 9741756275
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unnassuda_pr_front.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open
Unnassuda_pr_ch1.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open
Unnassuda_pr_ch2.pdf12.31 MBAdobe PDFView/Open
Unnassuda_pr_ch3.pdf14.34 MBAdobe PDFView/Open
Unnassuda_pr_ch4.pdf12.92 MBAdobe PDFView/Open
Unnassuda_pr_ch5.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
Unnassuda_pr_ch6.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Unnassuda_pr_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.