Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26448
Title: | แนวทางการออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัย อาคารขนาดใหญ่ ประเภทอาคารอยู่อาศัยรวม |
Other Titles: | Guidelines for determining evacuation routes for large residential buildings |
Authors: | พรเทพ อินพานิช |
Advisors: | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | vtraiwat@chula.ac.th |
Subjects: | การออกแบบสถาปัตยกรรม อาคารชุด -- การออกแบบ การอพยพจากอาคาร -- การออกแบบ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อาคารขนาดใหญ่ ประเภทอาคารอยู่อาศัยรวมเป็นอาคารประเภทหนึ่งที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัยเพราะมีลักษณะการใช้งานและกิจกรรมภายในอาคารที่หลากหลาย มีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเส้นทางอพยพหนีภัยตามกฎหมายครอบคลุมลักษณะอาคารในความหมายกว้างมีข้อกำหนดให้มีรูปแบบลักษณะเดียวกันทั้งหมด ไม่สอดคล้องกับขนาดของอาคารที่มีความจุคนแตกต่างกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมกฏหมายที่มีผลบังคับใช้เกี่ยวกับการออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยอาคารขนาดใหญ่ ประเภทอาคารอยู่อาศัยรวมในปัจจุบันและศึกษารวบรวมทฤษฏีข้อกำหนดของต่างประเทศ โดยแบ่งอาคารออกเป็น 4 จำพวกตามขนาด พื้นที่ ความสูงของอาคารโดยสร้างแบบจำลอง 3 ลักษณะเพื่อพิจาณาถึงจำนวนความจุคนของอาคาร ได้แก่ 1) อาคารที่มีห้องพักอยู่ด้านเดียวของช่องทางเดิน 2) อาคารที่มีห้องพักอยู่ 2 ด้านของช่องทางเดิน 3) อาคารที่มีห้องพักอยู่รอบแกนกลางของอาคาร นำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับข้อกำหนดของต่างประเทศ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อได้แนวทางในการออกแบบเส้นทางอพยพ หนีภัยที่สามารถปฏิบัติได้อย่างปลอดภัยและสอดคล้องกับขนาดอาคารที่มีความจุคนต่างกัน จากการศึกษาสรุปได้ว่า การออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยให้เหมาะสมกับจำนวนคนในอาคารแบ่งได้เป็น 1) อาคารพื้นที่ 2,000 ตร.ม. ถึงน้อยกว่า 4,000 ตร.ม. และมีความสูงไม่เกิน 4 ชั้น หรือความสูงน้อยกว่า 15 ม. 2) อาคารพื้นที่ 4,000 ตร.ม. ถึงน้อยกว่า 10,000 ตร.ม. มีความสูงไม่เกิน 4 ชั้น หรือความสูงน้อยกว่า 15 ม. 3) อาคารพื้นที่ 1,000 ตร.ม. ถึงน้อยกว่า 4,000 ตร.ม. และมีความสูงเกิน 4 ชั้นขึ้นไป หรือความสูง 15 ม. ถึงน้อยกว่า 23 ม., 4) อาคารพื้นที่ 4,000 ตร.ม. ถึงน้อยกว่า 10,000 ตร.ม. และมีความสูงเกิน 4 ชั้นขึ้นไปหรือความสูง 15 ม. ถึงน้อยกว่า 23 ม. ข้อเสนอแนะแนวทางการออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัย อาคารขนาดใหญ่ประเภทอาคารอยู่อาศัยรวม ควรมีการออกแบบที่สอดคล้องกับขนาดพื้นที่และความสูงอาคารที่มีจำนวนคนแตกต่างกัน และควรให้มีทางเลือกในการออกแบบให้สามารถปฏิบัติได้อย่างปลอดภัย บุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ควรมีการศึกษาแนวทางการออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยสำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูงและอาคารที่มีลักษณะการใช้งานประเภทอื่นๆ ต่อไป |
Other Abstract: | Large residential buildings carry a risk of fire disaster due to their various functions and activities conducted inside them. Recently, there has been substantial growth in the of construction of this type of building. At present, evacuation routes required for these buildings according to the law are standard and do not correspond to the size of individual buildings which accommodate different numbers of residents. This research has as its objectives to review the laws that are imposed on the design of evacuation routes for large residential buildings at present and also to study theories and regulations practiced overseas. The buildings looked at in the study are categorized into four different groups based on their area size, height, and accommodation capacity. The models are as follows: 1) 12 buildings of the type with rooms on only one side of the corridor inside the building, 2) 11 buildings of the type with rooms on both sides of the corridor, 3) 10 buildings of the type with rooms around the central core of the building. The data was then compared against regulations used overseas and specialists were specifically interviewed. The results provide guidelines for designing evacuation routes that can be followed safely and that correspond to the size of buildings with different accommodation capacities. In conclusion, the design of evacuation routes suitable for the number of people in a residential building should be based on building type separated into the following four groups: 1) a building of 2,000 - 3,999 square meters and of no more than four stories high or less than 15 meters in height, 2) a building of 4,000- 9,999 square meters and of no more than four stories high or less than 15 meters in height, 3) a building of 1,000-3,999 square meters and of over four stories high or 15 to no more than 23 meters in height, 4) a building of 4,000 - 9,999 square meters and of over four stories high or 15 to no more than 23 meters in height. The recommendations for designing evacuation routes in large residential buildings are that the design should correspond to the area size and height of buildings which can accommodate various numbers of people and there should be design alternatives that can be practiced/followed safely. Those concerned should place importance on these issues. In addition, there should be further research into guidelines for designing evacuation routes in extra large or tall buildings, and buildings with other functionalities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26448 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1907 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1907 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
phonthep_in.pdf | 9.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.