Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26455
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisorปิยนาถ บุนนาค
dc.contributor.authorสุรีย์ เลียงแสงทอง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-27T16:13:42Z
dc.date.available2012-11-27T16:13:42Z
dc.date.issued2524
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26455
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองภูเก็ต นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำให้ทราบประวัติของเมืองแล้ว ยังทราบถึงวิวัฒนาการการเติบโตของเมืองด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ตนี้ ผู้เขียนศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ.2396 อันเป็นปีที่รัฐบาลเลื่อนฐานะเมืองภูเก็ตจากเมืองเล็กๆ อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองถลาง ให้มีฐานะเทียบเท่าเมืองถลาง การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองภูเก็ตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเด่นชัดภายหลังปี พ.ศ.2396 เป็นต้นไป ผู้เขียนจึงศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองภูเก็ต โดยยึดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองนี้ เป็นหลักในการพิจารณา เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มีส่วนผลักดันโดยตรง ให้เมืองภูเก็ตเปลี่ยนแปลงฐานะของเมืองให้เติบโตขึ้นเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีผลต่อการเพิ่มรายได้ภาครัฐบาลและภาคเอกชน และประการสำคัญได้มีส่วนผลักดันให้เมืองภูเก็ตได้รับฐานะปกครองสูงขึ้น ทั้งสภาพสังคมในเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจด้วย สิ่งเหล่านี้จะได้นำเสนอวิเคราะห์ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่างของการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อการวิวัฒนาการการเติบโตของเมือง โดยแบ่งเป็น 4 บท ดังนี้ บทที่ 1 เป็นการกล่าวถึงสภาพทั่วๆ ไปของเมืองภูเก็ตก่อนปี พ.ศ.2396 โดยกล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์ของเมืองภูเก็ตว่ามีส่วนเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและวิวัฒนาการเป็นเมืองใหญ่เพียงใด ทั้งได้ศึกษาถึงสภาพทั่วไปทางการปกครองและเศรษฐกิจก่อนจะขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผลของการศึกษาปรากฏว่า สภาพภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เมืองภูเก็ตขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นเมืองใหญ่ได้ แต่เนื่องจากยังไม่มีแรงผลักดันอื่นๆ ให้เมืองขยายตัว จึงมีผลให้สภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจของราษฎรเป็นแบบพอยังชีพเท่านั้น บทที่ 2 เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังปี พ.ศ. 2396 รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งผลของการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจเมืองภูเก็ตขยายตัว คือ ปัจจัยจากภายนอกประเทศ อันเนื่องมาจากการผลการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้แร่ดีบุกเป็นที่ต้องการของตลาดโลกซึ่งเมืองภูเก็ตเป็นแห่งหนึ่งที่มีดีบุกมาก จึงสามารถขยายกิจการเหมืองแร่ดีบุกได้ ส่วนนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองภูเก็ตในขณะนั้น พบว่าเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจโดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ในระยะแรกได้ให้เจ้าเมืองภูเก็ตเป็นผู้มีบทบาทสำคัญแต่ผู้เดียว ส่วนในระยะที่สอง รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญโดยตรง บทที่ 3 เป็นการศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจของเมืองภูเก็ตระหว่างปี พ.ศ. 2444 – 2475 ซึ่งเป็นระยะที่เศรษฐกิจเมืองภูเก็ตขยายตัวอย่างเด่นชัดในกิจการสามด้าน คือกิจการเหมืองแร่ดีบุก การค้า และการเกษตรกรรม โดยศึกษาว่ามีสาเหตุใดที่ผลักดันให้ภาวะเศรษฐกิจทั้งสามด้านดังกล่าวขยายตัว ผลจากการศึกษาปรากฏว่าพระยารัษฏานุประดิษฐ์ซึ่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตตั้งแต่ปี พ.ศ.2444 – 2456 มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยปรับปรุงเส้นทางคมนาคม เพื่อการทำเหมืองแร่ และการค้าขายให้เป็นไปโดยสะดวก ขณะเดียวกันได้ส่งเสริมการเกษตรด้วย บทที่ 4 วิเคราะห์ถึงผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองภูเก็ต ว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงฐานะของเมืองทางการปกครองและสังคมอย่างไร ผลของการศึกษาเด่นชัดว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองภูเก็ต ทำให้ฐานะเมืองภูเก็ตในด้านการปกครองสำคัญเพิ่มขึ้น ควบคู่กับความสำคัญทางเศรษฐกิจ และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมภายในเมืองด้วย
dc.description.abstractalternativeThe study of Phuket’s history is very impressive one. It provides us the history as well as the evolution of the town. The history of Phuket was dated back to B.E.2396 when government promoted Phuket from a town to province, due to the rapid growth of the Town Economy and population. Phuket’s economy had rapidly expaused and distinguished after B.E.2396. I began to study Phuket’s Town story by focusing on economic expansion. Though the influences of economic expansion that Phuket become a interesting town, this expansion had direct effects on incomes for both Governmental and private enterprises. The higher administration status within the town had also caused the economic expansion of Phuket. This thesis is to point out the importance of economic expansion and economic policy of Government which started stimulation of the growth devides into 4 chapter as following:- the first chapter deals with the general situation of the town before B.E.2396 by commenting on the influences of Phuket’s Geography, on the economic changes, evolution of the town and on the general governmental administration background economic study before and after expansion revealed that geographical factor can possibly enhanced Phuket to become a bigger town. However the lack of the other factors favored the economy so that the Phuket economy still remained only self-support. The second chapter points out the factors influence the Economic expansion after B.E.2396. The government policy toward economic expansion, according to the study the most important factor was external. The industrial evolution in Europe-increasing the demand of Tim though out world market. Phuket has the large Tin resource, mining productivity due to the rapid economic expansion. The government applied short term policies which were practical at that time for support the world demands. The policy has 2 steps the first step was in the hands of the Puket’s Governor, and government took the second step. The third chapter studied the economic situation of Phuket between B.E.2444-2475. This period the economy of Puket had activity expanded in three aspects, Tin mining, trading and Agricultural aspect. The study in the changes caused Economic expansions disclosed the name Phraya Rasada, the higher commissioner of Monthon Puket from B.E.2444-2456 played an important role in promoting of Economic communication to facilitate the mining productivity and trades, at the same time he also was interested in Agricultural promotion. The last chapter is an analysis of the results of Phuket’s economic growth. It has vast effect on all level of societies of Puket province.
dc.format.extent728092 bytes
dc.format.extent885121 bytes
dc.format.extent3000400 bytes
dc.format.extent2052125 bytes
dc.format.extent4053476 bytes
dc.format.extent1489799 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจเมืองภูเก็ตระหว่าง พ.ศ.2396-2475en
dc.title.alternativeAn analytical study of Phuket's economy during 1853-1932en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suree_Li_front.pdf711.03 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Li_ch1.pdf864.38 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Li_ch2.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Suree_Li_ch3.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Suree_Li_ch4.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open
Suree_Li_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.