Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26457
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทย์ วิศทเวทย์
dc.contributor.authorสุรีย์ สุวรรณปรีชา
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-27T16:27:02Z
dc.date.available2012-11-27T16:27:02Z
dc.date.issued2520
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26457
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractจุดมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อศึกษาว่า ทฤษฏีการเมืองของปอบเปอร์ เป็นผลโดยตรงจากทฤษฏีความรู้ของเขาหรือไม่ หรือมีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด และการทรรศนะทางการเมืองของเขา เขานำไปวิเคราะห์ทฤษฏีการเมืองของนักปรัชญาอื่นอย่างไร และในความเห็นที่ต่างกัน พอจะสรุปได้หรือไม่ว่า ทรรศนะทางการเมืองของนักปรัชญาแต่ละลัทธิเท่าที่ศึกษามา ต่างเป็นผลโดยตรงจากทฤษฏีความรู้ของตน และทรรศนะทางปรัชญาแต่ละด้านของปรัชญาแต่ละลัทธินั้นสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผลของการวิจัยทำให้ทราบว่า จากพื้นฐานทางทฤษฏีความรู้ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ปอบเปอร์ได้แสดงทรรศนะทางการเมืองที่มีต่อทฤษฏีการเมืองของนักปรัชญาอื่น และแสดงทรรศนะทางการเมืองของตน จากทฤษฏีความรู้ ปอบเปอร์เน้นในเรื่องกระบวนการแก้ปัญหาอันเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ และก่อนให้เกิดความก้าวหน้าทางความรู้ เมื่อวิเคราะห์ทฤษฏีการเมืองของนักปรัชญาอื่น ปอบเปอร์ให้ทรรศนะว่าสังคมที่ยึดทฤษฏีการเมืองแบบเบ็ดเสร็จนิยมของเพลโตและเฮเกล และทฤษฏีการเมืองแบบมาร์กซิสต์ของมาร์กซ์เป็นสังคมปิด ทั้งนี้เพราะยึดในหลักประวัติศาสตร์นิยม อันเป็นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อคาดการณ์อนาคต ซึ่งปอบเปอร์เห็นว่าเป็นวิธีการเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เขาไม่เห็นด้วย ปอบเปอร์ให้ทรรศนะทางการเมืองว่า สังคมควรจะเป็นสังคมเปิดที่ไม่ยึดทฤษฏีการเมืองทฤษฏีใดทฤษฏีหนึ่งตายตัว แต่เป็นสังคมที่เปิดให้สมาชิกในสังคมมีโอกาสแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาได้หลายๆ แนวทาง และมีการทดสอบวิพากษ์วิจารณ์แนวทางแก้ปัญหาแต่ละแนวได้อย่างอิสระ ปอบเปอร์เชื่อว่าสังคมจะก้าวหน้า ถ้าสังคมนั้นเป็นสังคมเปิด จากการวิจัยครั้งนี้ พอจะสรุปได้ว่า ทรรศนะทางการเมืองของนักปรัชญาต่างๆ เท่าที่ได้ศึกษามา ต่างเป็นผลจากทฤษฏีความรู้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม นักปรัชญากลุ่มจิตนิยม ทฤษฏีการเมืองจะเป็นผลโดยตรงจากเมตาฟิสิกส์ และจะเป็นโดยอ้อมจากทฤษฏีความรู้และจริยศาสตร์ ส่วนนักปรัชญาในกลุ่มสสารนิยม ทฤษฏีการเมืองจะเป็นผลโดยตรงจากทฤษฏีความรู้ และสำหรับปอบเปอร์ ทรรศนะทางการเมืองของเขาเป็นผลจากทฤษฏีความรู้โดยตรง ข้อเสนอแนะในการวิจัยสำหรับผู้ที่สนใจในทรรศนะทางการเมืองของปอบเปอร์ คืออาจศึกษาถึงทรรศนะทางจิตวิทยาสังคมที่มีผลต่อทรรศนะทางการเมืองของปอบเปอร์และอาจวิเคราะห์ความคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในปรัชญาการเมืองของปอบเปอร์และปรัชญากลุ่มเอกซิสเตนเชียลลิสต์ในเชิงเปรียบเทียบ
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study Karl Popper’s political view-point and his theory of knowledge together with its relation between the two and the application of his political ideas as opposed to the political thoughts of the other thinkers. With regard to the different points of vies, it is liable to conclude that the points of view of each philosopher derives from their theories of knowledge. And again the political theories of the other thinkers, different as may be, can be connected harmoniously. The result from this research exposed the fact that Popper express his idea through criticizing the other thinker’s thought from his theory of knowledge and it is from this theory that Popper emphasize the progress of the problem-solving. In this way , his method of seeking knowledge has made great advance in the theory of knowledge. After scrutinizing the other’s thoughts, Popper expounds that the society in the form of Plato and Hegel’s totalitarianism as well as the political theory of Marxism is nothing but the closed society. This is because it advocates historicism which is the method for future prediction, Popper thinks that the society should be open without any political attachment, and for the social members to seek their ways of problem-solving in the various ways. And again, the society should be tested and criticized in order to find other methods independently and differently. As it is said so far, we may conclude that political ideas of different thinkers are the outcome of their theory of knowledge. According to the idealistic philosopher, their political theories can be drawn out directly from metaphysics and indirectly from the theory of knowledge and ethics. But in the light of materialistic philosophers the political theories must bear fruit directly from the theory of knowledge. According to Popper, his political idea and his theory of knowledge do not contradict each other. The suggestion for further research may be given here in some aspects, that is to say, the relationship between socio-psychological theory and Popper’s political ideas should be taken to be studied and another subject may be the analysis of his ideas of freedom in comparison with the Existentialist philosophies.
dc.format.extent402297 bytes
dc.format.extent418572 bytes
dc.format.extent1430710 bytes
dc.format.extent2594842 bytes
dc.format.extent1241516 bytes
dc.format.extent473157 bytes
dc.format.extent275210 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีความรู้และทฤษฎีการเมือง ของปอบเปอร์en
dc.title.alternativeThe relationship between Popper's theory of knowledge and political theoryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suree_Su_front.pdf392.87 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Su_ch1.pdf408.76 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Su_ch2.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Suree_Su_ch3.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
Suree_Su_ch4.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Suree_Su_ch5.pdf462.07 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Su_back.pdf268.76 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.