Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2656
Title: | มโนทัศน์เรื่องความแปรเปลี่ยนในปรัชญาของจวงจื่อ |
Other Titles: | Chuang-Tzu's concept of transformation |
Authors: | นารท ศรียามินธน์, 2520- |
Advisors: | สุวรรณา สถาอานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suwanna.Sat@Chula.ac.th |
Subjects: | ปรัชญาจีน จวงจื้อ ญาณวิทยา ลัทธิเต๋า |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | มโนทัศน์เรื่องความแปรเปลี่ยนในปรัชญาของจวงจื่อสามารถพิจารณาได้ว่ามีสองแง่มุม กล่าวคือ ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติ และความแปรเปลี่ยนทางญาณวิทยาของมนุษย์ คัมภีร์เต๋าเต๋อจิงกล่าวถึงความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติผ่านสรรพสิ่งโดยรวม และเห็นว่ากระบวนการแปรเปลี่ยนนั้นได้สร้างเอกภาพ ดุลยภาพ และสัมพันธภาพระหว่างสรรพสิ่ง คัมภีร์จวงจื่อพิจารณาความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติผ่านสิ่งเฉพาะ เช่น มนุษย์ สัตว์ และพืช ซึ่งได้ขยายความแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการแปรเปลี่ยนของธรรมชาติ โดยชี้ให้เห็นว่าในความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติ สรรพสิ่งล้วนดำรงอยู่ในกระแสความแปรเปลี่ยนที่ต่อเนื่อง จุดสิ้นสุดถาวรของสรรพสิ่งมิได้มีอยู่อย่างแท้จริง มีแต่การแปรเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ และด้วยโลกทัศน์ของธรรมชาติแบบปลายเปิดดังกล่าว ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติจึงทำให้เห็นได้ว่าตัวธรรมชาติเองมิได้มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อชีวิต แต่มีลักษณะที่จะเอื้ออำนวยให้ชีวิตรอดพ้นจากสภาวะวิกฤตด้วยลักษณะการแปรเปลี่ยนลื่นไหลไปสู่สภาวะอื่น คัมภีร์จวงจื่อยังค้นพบอีกว่าด้วยการตระหนักในความแปรเปลี่ยนที่ไม่สิ้นสุด มนุษย์สามารถคลายตัวตนให้สิ้นจากความยึดมั่นเพื่อนำไปสู่การบรรลุธรรมได้ ซึ่งเมื่อมนุษย์สามารถเข้าถึงสภาวะนี้ ตัวตนภายในของเขาก็จะถูกลืม อันทำให้ความแปรเปลี่ยนทั้งหลายของธรรมชาติไม่อาจสร้างความทุกข์ให้แก่ตัวตนภายในที่ถูกลืมไปแล้วได้ นอกจากนี้ คัมภีร์จวงจื่อยังให้ความสำคัญกับประเด็นทางญาณวิทยาและการสั่งสมศักยภาพของมนุษย์เพื่อผลักดันตัวตนภายในหรือแม้แต่สรรพสิ่งภายนอกให้แปรเปลี่ยนไปสู่สภาวะที่สูงส่งขึ้นกว่าเดิม อันเป็นการสร้างสรรค์สภาวะของตัวตนภายในมนุษย์เองที่มีมิติสุนทรียภาพ ความสามารถ คุณธรรม และทิพยภาวะผสมผสานกัน ในแง่นี้มนุษย์สามารถมีส่วนร่วมกับธรรมชาติในการกำหนด "ความแปรเปลี่ยน" ที่เหมาะสมให้แก่สรรพสิ่งได้เช่นกัน แต่กระนั้นก็ต้องกระทำด้วยท่าทีร5~ัดระวังและด้วยภูมิปัญญาที่เข้าใจธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้งแล้วเท่านั้น |
Other Abstract: | The Chuang-Tzu's concept of transformation could be considered into two aspects, namely transformation of nature and transformation of human epistemology. The Tao Te Ching considers the transformation of nature from a macrocosmic aspect, as abstract process of nature and regards the process of transformation as generation, unity, balance and harmony among all beings. The Chuang-Tzu considers the transformation of nature from a microcosmic aspect via particular beings such as human beings, animals and plants. The Chuang-Tzu extends the concept of transformation of nature by pointing out that in the transformation of nature; all beings exist in the stream of continuous transformation. With regard to the Chuang-Tzu{174}s open-ended nature, the transformation of nature indicates that death in nature is not an "end" to life but a stage wherein life pass on to another form. The Chuang-Tzu reveals that in the awareness of infinite transformation, human beings can relieve themselves from sufferings to achieve an enlighted state where their inner-self will be forgotten. In addition, the Chuang-Tzu also emphasizes the transformation of human epistemology resulting from inner cultivation. This transformation could drive the inner-self of human being into a nobler state. This transformation reveals the human condition as possessing a combination of aesthetic, virtuous and spiritual potentiality. In this aspect, human beings can co-operate with nature to determine the appropriate transformation for all beings. However this must be done with prudence and a profound understanding of nature. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2656 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.347 |
ISBN: | 9740311032 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.347 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.