Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสังวร ปัญญาดิลก-
dc.contributor.authorสุพัตรา ธันวานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-28T07:25:38Z-
dc.date.available2012-11-28T07:25:38Z-
dc.date.issued2518-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26589-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องการสินเชื่อของธุรกิจในประเทศไทยนั้น ก็เนื่องจากว่าในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจภายในประเทศไทยได้ขยายตัวกว้างขวางขึ้น มีการตื่นตัวในการลงทุนมากกว่าแต่ก่อน ทำให้มีความต้องการเงินทุนที่นอกเหนือจากเจ้าของ ซึ่งมักจะออกมาในรูปของการกู้ยืมหรือการให้สินเชื่อ จึงเป็นสาเหตุให้การสินเชื่อได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะนับเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการค้าประเภทเล็กน้อยหรือกิจกรรมที่มีขนาดใหญ่โต จำเป็นต้องพึ่งการสินเชื่อทั้งนั้น แต่ถ้ามีการให้สินเชื่ออย่างไม่ถูกต้องหรือเข้าใจผิดแล้ว การสินเชื่อกลับจะให้โทษแก่ผู้ใช้ เพราะจะทำให้ผู้ใช้นั้นขาดผลประโยชน์ที่ควรจะได้ รวมทั้งต้องเสียต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ได้ลงทุนไปในการให้สินเชื่อครั้งนี้ด้วย แต่ถ้าการสินเชื่อได้มีการศึกษาอย่างดี และนำไปใช้อย่างถูกต้อง มีหลักเกณฑ์แล้ว ก็จะทำให้ธุรกิจได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งผู้ให้สินเชื่อและผู้รับสินเชื่อ เพราะการสินเชื่อเปรียบเสมือนตัวกลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การผลิตไปถึงผู้บริโภครวดเร็วขึ้น ทำให้วงการค้าขยายตัว จึงสมควรที่จะศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสินเชื่อในวงการธุรกิจในเมืองไทย การศึกษาค้นคว้าเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ได้ศึกษาจากทฤษฎีและข้อมูลต่างๆ จากตำราต่างประเทศ และได้มีการจัดส่งแบบสอบถามไปยังธุรกิจต่างๆ ทุกขนาด และทุกประเภท รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสินเชื่อในวงการธุรกิจ เพื่อสรุปผลถึงความนิยมในทางปฏิบัติของธุรกิจในประเทศไทย เปรียบเทียบกับทฤษฎีที่ได้กล่าวไว้ โดยได้จัดส่งแบบสอบถามทั้งสิ้น 60 ราย คำตอบที่ได้รับ 37 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 62 ผลของการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การสินเชื่อที่ใช้กันอยู่ในวงการธุรกิจในประเทศไทย ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่เป็นแบบอย่างแน่นอน เพราะการธุรกิจของประเทศไทย ยังเชื่อถือในตัวบุคคลมากกว่าธุรกิจ การพิจารณาสินเชื่อจึงมักจะดูจากข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของกิจการเป็นใหญ่ การวิเคราะห์หรือการวิจัยข้อมูลทางด้านอื่นๆ ยังไม่ได้รับความนิยมและใช้ไม่ได้ผลเต็มที่ ทั้งนี้เพราะนักบริหารส่วนมาก ยังมีความเห็นว่าไม่ควรจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเงินที่แท้จริงต่อที่สาธารณะ เพราะจะทำให้คู่แข่งขันรู้ถึงแนวทางของกิจการตนได้ ตัวเลขที่แสดงออกสู่สายตาประชาชนจึงมักเป็นตัวเลขที่ตบแต่งแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดขวางการวิจัยข้อมูลประการหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวงการธุรกิจของประเทศไทยได้เจริญรุดหน้ามากกว่าเดิม มีการขยายการลงทุนกว้างขวางขึ้น โดยได้เปลี่ยนโฉมหน้าจากการดำเนินการให้แบบครอบครัว (Family Company) มาเป็นแบบบริษัทมหาชน (Public Company) และรัฐบาลก็ได้สนับสนุนให้มีการลงทุน โดยจะเห็นได้จากการมีบริษัทเงินทุนเพิ่มมากขึ้น ในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา และได้จัดให้มีตลาดหลักทรัพย์เพื่อสนับสนุนการลงทุน มีการลดอัตราภาษีสำหรับเงินปันผลที่ได้จากการลงทุน ซึ่งเชื่อได้แน่ว่าจะทำให้การดำเนินงานต่างๆ ขยายตัวกว้างขวางขึ้นและมีหลักเกณฑ์ที่เป็นไปตามทฤษฎีมากกว่าที่เป็นอยู่-
dc.description.abstractalternativeThe rapid growth and expansion of different business enterprises in Thailand indicate that the modern concept of financial management has changed considerably. There is tremendous demand being made on credit management for more detail and more accurate information, not only by business and industry itself but by government and some other institutions such as stock market. This demand in financial management has brought a rapid increase in number of persons employed as a professional executives in finance. The purpose of this research study planned to investigate credit management practices in Thailand on the basis of selected credit activities by comparing the credit practices to selected credit principles in order to recommend appropriate improvement based upon definite priorities of need. The research methodology of this survey was performed by the comparison of the selected credit principles in text books with the collected data which was obtained by mailing questionnaires to all sizes and types of business firms and interviewed concerned executives in different firms as well. The total responses to this mail questionnaires was 62 percent, which meant 37 returns out of 60 questionnaires mailed. The major research finding in this research study revealed that there were no standard credit practices of business firms in Thailand. The evaluation and rating of financial status of business and industry firms were based upon the reputation of the business, character of the owners and other non-financial factors rather than the financial factors analysis, because in Thailand all of managerial financial data are treated as “Top Secret” by most of business enterprises. The reasons why different businesses have failed or succeeded were usually not made available except when occasionally such information could be secured from outsiders and competitors. Therefore, the revelation of the details of financial information by business firms which can be used for financial evaluation, rating, and credit decision seem to be weak and unreliable as well. However, the rapid growth and development of business and industry indicate that the credit practicing in different business firms will improve considerably.-
dc.format.extent361445 bytes-
dc.format.extent259140 bytes-
dc.format.extent869774 bytes-
dc.format.extent1103377 bytes-
dc.format.extent1159107 bytes-
dc.format.extent948910 bytes-
dc.format.extent1499583 bytes-
dc.format.extent993251 bytes-
dc.format.extent966511 bytes-
dc.format.extent686023 bytes-
dc.format.extent246310 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสินเชื่อการค้า-
dc.subjectCommercial credit-
dc.titleวิธีการจัดการให้สินเชื่อขององค์การธุรกิจในประเทศไทยen
dc.title.alternativeCredit management in business organization in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphatra_Dh_front.pdf352.97 kBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch1.pdf253.07 kBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch2.pdf849.39 kBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch3.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch5.pdf926.67 kBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch6.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch7.pdf969.97 kBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch8.pdf943.86 kBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_ch9.pdf669.94 kBAdobe PDFView/Open
Suphatra_Dh_back.pdf240.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.