Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2663
Title: อิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศสในบทละครเยอรมัน
Other Titles: Influence of the French Revolution on German drama
Authors: วาสนา นิ่มนวล
Advisors: อนงค์นาฎ เถกิงวิทย์
พรสรรค์ วัฒนางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Anongnart.T@Chula.ac.th
Pornsan.W@Chula.ac.th
Subjects: บทละครเยอรมัน
ฝรั่งเศส--ประวัติศาสตร์--การปฏิวัติ, ค.ศ. 1789-1799
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789) ที่มีต่อการสร้างบทละครของนักเขียนเยอรมัน เกออร์ก บืชเนอร์ และปีเตอร์ ไวสส์ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบว่านักเขียนเยอรมันทั้งสองนำเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสมาสร้างสรรค์เป็นบทละครอย่างไร รวมทั้งศึกษาทัศนคติของนักเขียนทั้งสองที่มีต่อการปฏิวัติ บทละครเยอรมันที่นำมาศึกษาเป็นบทละครที่ได้รับอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศสโดยนำมาเป็นเนื้อหาหลัก ได้แก่ บทละครเรื่อง ความตายของดองตง และบทละครเรื่อง การตามล่าและการประหารชีวิตของชอง ปอล มาราต์ โดยกลุ่มนักแสดงโรงพยาบาลโรคประสาทชารองตงภายใต้การอำนวยการของนายเดอ ซาด ของเกออร์ก บืชเนอร์ และปีเตอร์ ไวสส์ ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า การปฏิวัติฝรั่งเศสมีอิทธิพลต่อการสร้างบทละครของนักเขียนเยอรมันทั้งสอง โดยเฉพาะเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศสในยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of Terror) ผู้ประพันธ์ได้นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์มาสร้างสรรค์เป็นบทละคร โดยปรากฏให้เห็นในองค์ประกอบต่างๆ ของบทละครทั้งแก่นเรื่อง โครงเรื่อง ฉาก และการสร้างตัวละครของผู้ประพันธ์ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าวรรณกรรมกับประวัติศาสตร์มีความแตกต่างกัน จากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศสทั้งทางการเมืองและสังคมกับเหตุการณ์ในบทละคร จะเห็นได้ว่าผู้ประพันธ์ทั้งสองนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์มาสร้างสรรค์ในบทละคร โดยมีจุดมุ่งหมายหลักที่แตกต่างกัน กล่าวคือ บืชเนอร์จำลองภาพเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศสมาสร้างสรรค์เป็นบทละครอย่างใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศอันโหดเหี้ยมของการปฏิวัติทั้งที่เกิดขึ้นจากประชาชนผู้ถูกบีบคั้น และผู้นำการปฏิวัติที่ใช้นโยบายปราบปรามกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงสาเหตุและผลของความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด ทั้งนี้เพราะบืชเนอร์ต้องการมุ่งเน้นให้อดีตอันโหดร้ายเป็นบทเรียนสำหรับทุกคนในสังคม ส่วนบทละครของไวสส์มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้อ่านได้เห็นถึงอุดมการณ์และทัศนคติของผู้นำที่มีต่อการปฏิวัติ โดยใช้กลวิธีของละครซ้อนละคร ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นถึงจุดมุ่งหมายและสารัตถะที่แท้จริงของการปฏิวัติ ซึ่งไม่เฉพาะการปฏิวัติฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการปฏิวัติทางสังคมในทุกสังคมโดยไวสส์ได้แสดงให้เห็นถึงบทเรียนที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส และนำมาเป็นเครื่องมือในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมได้อย่างลึกซึ้ง จากการศึกษาทัศนคติของผู้ประพันธ์ ผู้ประพันธ์ทั้งสองมีทัศนคติต่อต้านการปฏิวัติที่ใช้ความรุนแรงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นการชี้ให้เห็นว่าประวัติศาสตร์มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วรรณกรรม และขณะเดียวกันวรรณกรรมก็มีพันธกิจต่อสังคมด้วย
Other Abstract: This thesis has two objectives: to study the influence of the French Revolution (1789) on two German authors-Georg Buchner and Peter Weiss, and to compare the ways both deal with the situations surrounding the French Revolution in their plays and their attitudes toward the revolution. The plays studied in this thesis show the influence of the French Revolution in the appearance of that historical event in the main story lines. These plays are Dantons Tod by Georg Buchner and Der Verfolgung und Ermordung Jean Paul Marats dargestellt durch die Schauspielgruppe des Hospizes zu Charenton unter Anleitung des Herrn de Sade by Peter Weiss. The study revealed that both authors were influenced by the French Revolution, especially the situations during the Reign of Terror. The authors took real situations and people in history as materials of their plays. The influence of these historical subjects can be seen in theme, plot, setting and characterization. The manners in which the playwrights created these elements indicate an extent to which literary treatments of historical happenings can differ from their documentary counterparts. It is found that although both authors employed real situations in writing their plays, their purposes were different. Buchner closely followed historical records in reproducing the situations surrounding the revolution, in order to reflect the terrible atmosphere of that time generated alike by the oppressed people as well as the leaders who adopted a violence forcing policy to eliminate the opponent groups. Moreover, Buchner clearly displays the causes and effects of these acts of violence, so that some lessons might be garnered by all in the society. On the other hand, Weiss aimed to show the principles and attitudes of the leaders toward the revolution by using the play-within-the-play technique. This allowed the playwright to focus on the agenda and essence of the revolution-not only the French Revolution but also any social revolution. Weiss attempted to explore the experiences from theFrench Revolution and took these as instrument of social criticism. Regarding their attitudes toward the French Revolution, the two authors have similar views. Both Buchner and Weiss are against any "revolution" carried out by means of violence. Also, their attitudes similarly reflect that history can have influence on the creation of literature and that on the other hand, literary works might embody their authors' commitment to the society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2663
ISBN: 9741702566
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WasanaN.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.