Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26655
Title: | แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยในที่สถาบันธัญญารักษ์ |
Other Titles: | Social support of methamphetamine users treating as in-patients at Thanyarak Institute |
Authors: | ณัฐ เด่นดวงบริพันธ์ |
Advisors: | รัศมน กัลยาศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Rasmon.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การใช้ยาในทางที่ผิด การติดยาเสพติด -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ การใช้สารเมทแอมเฟตามีนในทางที่ผิด เครือข่ายสังคม |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน และปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์แบบผู้ป่วยใน จำนวน 249 คน โดยมีแบบสอบถาม 2 ชุดคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามวัดแรงสนับสนุนทางสังคม ใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆกับแรงสนับสนุนทางสังคมโดยใช้สถิติไคสแควร์ และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก จากผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางจำนวน 165 คน (66.3%) ระดับสูงจำนวน 50 คน (20.1%) และระดับต่ำจำนวน 34 คน (13.7%) มีค่าเฉลี่ย 60.63 โดยทำการวิเคราะห์เบื้องต้นโดยการใช้สถิติไคสแควร์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้เข้ารับการบำบัดรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ระดับการศึกษา จำนวนบุตร ความรุนแรงของการใช้ยาบ้าซึ่งประกอบด้วยจำนวนและความถี่ในการใช้ยาบ้า ปัญหาทางด้านร่างกายจากการใช้ยาบ้า ระยะเวลาที่ผ่านการบำบัดในครั้งปัจจุบัน และผลที่ได้จากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบ 2 กลุ่ม พบว่าผู้ที่มีปัญหาทางด้านการเงินจากการใช้ยาบ้ามาก มีโอกาสจะมีแรงสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่าผู้ที่มีปัญหาน้อยถึง 3 เท่า (3.250) ส่วนผู้ที่มีความรุนแรงของการใช้ยาบ้ามาก มีโอกาสจะมีแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าผู้ที่มีความรุนแรงน้อยถึง 3 เท่า (3.316) และผู้ที่ผ่านการบำบัดในครั้งปัจจุบันมากกว่า 30 วัน มีโอกาสที่จะมีแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าผู้ที่ผ่านการบำบัดมาน้อยกว่า 30 วัน อยู่ 2 เท่า (2.452) การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน และปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์แบบผู้ป่วยใน จำนวน 249 คน โดยมีแบบสอบถาม 2 ชุดคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามวัดแรงสนับสนุนทางสังคม ใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆกับแรงสนับสนุนทางสังคมโดยใช้สถิติไคสแควร์ และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก จากผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางจำนวน 165 คน (66.3%) ระดับสูงจำนวน 50 คน (20.1%) และระดับต่ำจำนวน 34 คน (13.7%) มีค่าเฉลี่ย 60.63 โดยทำการวิเคราะห์เบื้องต้นโดยการใช้สถิติไคสแควร์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้เข้ารับการบำบัดรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ระดับการศึกษา จำนวนบุตร ความรุนแรงของการใช้ยาบ้าซึ่งประกอบด้วยจำนวนและความถี่ในการใช้ยาบ้า ปัญหาทางด้านร่างกายจากการใช้ยาบ้า ระยะเวลาที่ผ่านการบำบัดในครั้งปัจจุบัน และผลที่ได้จากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบ 2 กลุ่ม พบว่าผู้ที่มีปัญหาทางด้านการเงินจากการใช้ยาบ้ามาก มีโอกาสจะมีแรงสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่าผู้ที่มีปัญหาน้อยถึง 3 เท่า (3.250) ส่วนผู้ที่มีความรุนแรงของการใช้ยาบ้ามาก มีโอกาสจะมีแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าผู้ที่มีความรุนแรงน้อยถึง 3 เท่า (3.316) และผู้ที่ผ่านการบำบัดในครั้งปัจจุบันมากกว่า 30 วัน มีโอกาสที่จะมีแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าผู้ที่ผ่านการบำบัดมาน้อยกว่า 30 วัน อยู่ 2 เท่า (2.452) |
Other Abstract: | This descriptive study aims to study social support in methamphetamine (MA) users treating as in-patients. Data were collected from 249 in-patients of the residential treatment at Thanyarak Institute during March, 2012. The research instruments consisted of the demographic questionnaire and The Personal Resource Questionnaire : PRQ Part 2. Data were analyzed by using descriptive statistics, chi-square test and logistic regression analysis. High, medium, and low levels of social support were found in 50 (20.1%), 165 (66.3%), and 34 (13.7. %) MA users, respectively. Education level, number of children, severity of MA-use as measured by amount and frequencyof use, medical illness, treatment duration were associated with social support in the initial analyses with statistical significance at the 0.05 level. MA users with financial problems were 3 times more likely to have less social support than those without. With respect to MA-use severity, Severe MA users were 3 times more likely to have higher social support than mild MA users. In addition, Individuals with more than 30 days of hospital stay (> 30 days) were 2 times more likely to have higher social support than those who went through the present treatment less than 30 days. Financial problems, severe MA-use, and longer duration of hospital stay were associated with social support. The result might be used to encourage increasing social support at appropriate time along the course of MA addiction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26655 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1924 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1924 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nut_de.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.