Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26687
Title: การจัดบริการนักศึกษาของวิทยาลัยครูในประเทศไทย
Other Titles: Student personnel services of teacheers colleges in Thailand
Authors: สายพิณ ธรรมบำรุง
Advisors: วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการจัดบริการนักศึกษาในวิทยาลัยครูศึกษาความคิดเห็น และเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดบริการนักศึกษาในวิทยาลัยครู และศึกษาความคุ้นเคยของนักศึกษาที่มีต่อบริการนักศึกษาในวิทยาลัยครู วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา จากวิทยาลัยครู 8 แห่ง โดยวิธีสุ่มแบบแยกประเภท และสุ่มแบบง่าย รวมทั้งสิ้น 883 คน เครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจากเอกสารการสัมภาษณ์ และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ ได้ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ( Content Analysis ) ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ( Percent ) ค่าเฉลี่ย ( Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation ) การจัดอันดับความสำคัญ ( Ranking ) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน ( ANOVA) การเปรียบเทียบรายคู่ด้วย Scheffe Method สรุปผลการวิจัย 1. ลักษณะและขอบข่ายของการจัดบริการนักศึกษาในวิทยาลัยครูแฝงอยู่ในแผนกต่าง ๆ 14 แผนก คือ แผนกทะเบียนวัดผล แผนกหอสมุด แผนกแนะแนว แผนกโสตทัศนอุปกรณ์ แผนกอนามัยและสุขาภิบาล แผนกรักษาดินแดน แผนกบริการการศึกษา แผนกสวัสดิการ แผนกหอพักนักศึกษา แผนกธุรการ ร้านสหกรณ์ของวิทยาลัย แผนกอาคารสถานที่ แผนกวินัยและปกครอง และแผนกกิจกรรมนักศึกษา สำหรับการแบ่งสายงานบริการนักศึกษาในแต่ละวิทยาลัยครูมีลักษณะเป็นเอกเทศ 2. ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ เป็นปัญหาทางด้านบริการและสวัสดิการ ด้านกิจกรรมนักศึกษา และด้านส่งเสริมและพัฒนาบุคลิกภาพ 3. เกี่ยวกับความสำคัญของการจัดบริการนักศึกษา ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา เห็นว่าโดยส่วนรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และระดับปานกลาง โดยผู้บริหารและอาจารย์เห็นว่าประกาศทะเบียนวัดผลมีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับ 1 แต่นักศึกษาเห็นว่าบริการจัดหางาน และโครงการเสริมความรู้สอบบรรจุสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับ 1 4. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดบริการนักศึกษาพบว่า ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นบริการด้านอาหารและหอพัก เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเป็นรายคู่พบว่า ส่วนใหญ่เป็นความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างผู้บริหารกับนักศึกษา และอาจารย์กับนักศึกษา 5. เกี่ยวกับความคุ้นเคยของนักศึกษาที่มี่ต่อบริการนักศึกษาพบว่า บริการส่วนใหญ่นักศึกษามีความคุ้นเคยปานกลาง 6. ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพการจัดบริการนักศึกษา ขึ้นอยู่กับความคุ้นเคย ข้อเสนอแนะ 1. สภาการฝึกหัดครู และกรมการฝึกหัดครู ควรจะปรับปรุงการจัดองค์การของวิทยาลัยครูให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดบริการนักศึกษาโดยตรง มีรูปแบบที่เหมือนกันทุกวิทยาลัย มีขอบข่ายของงานริการนักศึกษาครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพ ด้านกิจกรรมนักศึกษา และด้านบริการและสวัสดิการ โดยจัดให้มีการประชุมสัมมนาร่วมกันระหว่างผู้บริหารกิจการนักศึกษาทุกวิทยาลัย 2. วิทยาลัยครูแต่ละแห่งควรได้มีการประเมินการจัดบริการนักศึกษา และสำรวจความต้องการของนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงงานด้านบริการนักศึกษา
Other Abstract: Purpose of the Study This study sought information concerning various aspects of student personnel services including the students’ familiarity with such services. It also surveyed and compared the students’ instructors and Administrators’ opinions on these services. Methodology The sample consisted of 160 administrators, 191 instructors, and 523 students from eight Teacher Colleges. It was drawn through the stratified random sampling technique. The data collection made use of an intensive analysis of relevant documents, an interview and a questionnaire surveys. Several techniques of data analysis were performed in this study. The detailed information obtained from the documents and interviews were handled using the content analysis procedure. The questionnaire data were analysed to obtain such descriptive statistics as means, standard deviations, percentages and importance ranking. The comparisons of means of opinions were accomplished through ANOVA and the Scheffe’ multiple comparison method. Research Conclusion The major findings were: 1. The student personnel services in teachers colleges were made available through 14 devisions as follows: Registration and Records, Library, Counseling, Audio – Visual Instructional Resources, Health Care, Military Affair, Educational Provision, Student Welfare, Student Housing, General Administration, Collegiate Co-operative Store, Physical Plant, Student Control and Supervision, and Extra- Curricular Activities. As far as student personnel services are concerned each Teachers College had its own organization structure. 2. The common problems found in most Teachers Colleges were associated with the student welfare, extra – curricular activities and student development programs. 3. On the average, the importance ratings on the student personnel services given by the administrators, instructors and students were at high and medium levels. The administrators and instructors placed the highest importance on an announcement of student grades. But the students concerned the most on student employment service and tutorial programs or subjects tested in job placement examinations. 4. The administrators, instructors and students, in most cases, expressed different opinions regarding the importance of the student personnel services. The only area where insignificant difference was found was the food and residence hall service. However, according to the Scheffe’ multiple comparison, these differences were between the administrators’ and students’ opinions and between the instructors’ and students’ opinions. 5. Most students reported some familiarity with the services in question, which in turn determined their opinions. Recommendation 1. The teacher Education Council and the Teacher Education Department should improve the organizational structure of the Teacher Colleges. To do so, they should encourage an establishment of a functional unit responsible for all student personnel services, with an identical format for all colleges under control. Such a unit should encompass at least three major functions, the student development, the extra – curricular/co – curricular activities, and the student caring and welfare. A brainstorming seminar of the deans of students should be conducted to consider this matter. 2. All teachers colleges should periodically conduct an evaluation of their existing student personnel services and students’ needs. The information gained will serve as a basis for further improvement of their services programs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26687
ISBN: 9745632708
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saipin_Th_front.pdf494.3 kBAdobe PDFView/Open
Saipin_Th_ch1.pdf604.3 kBAdobe PDFView/Open
Saipin_Th_ch2.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Saipin_Th_ch3.pdf391.58 kBAdobe PDFView/Open
Saipin_Th_ch4.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Saipin_Th_ch5.pdf940.4 kBAdobe PDFView/Open
Saipin_Th_back.pdf670.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.