Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/266
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนอง-
dc.contributor.authorกุลยา เหมวัสดุกิจ, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-06T08:02:00Z-
dc.date.available2006-06-06T08:02:00Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741718926-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/266-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบแวนฮีลี่ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 98 คน ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบแวนฮีลี่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม รูปแบบแวนฮีลี่ เรื่องเส้นขนานและความคล้าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดระดับความคิดทางเรขาคณิต ที่มีค่าความเที่ยง 0.7642 ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบแวนฮีลี่ นักเรียนที่มีระดับความคิดทาง เรขาคณิตคงที่มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือมีระดับความคิดทางเรขาคณิตเพิ่มขึ้น 1 ระดับและเพิ่มขึ้น 2 ระดับ ตามลำดับ และเมื่อจำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ พบว่า 1.1 นักเรียนกลุ่มสูงที่มีระดับความคิดทางเรขาคณิตคงที่มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือมีระดับ ความคิดทางเรขาคณิตเพิ่มขึ้น 2 ระดับและเพิ่มขึ้น 1 ระดับ ตามลำดับ 1.2 นักเรียนกลุ่มปานกลางและต่ำที่มีระดับความคิดทางเรขาคณิตคงที่มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ มีระดับความคิดทางเรขาคณิตเพิ่มขึ้น 1 ระดับและเพิ่มขึ้น 2 ระดับ ตามลำดับ 2. หลังได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบแวนฮีลี่ นักเรียนที่มีระดับความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 1 3 และ 4 มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยนักเรียนที่มีความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 4 มีจำนวน เพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนนักเรียนที่มีความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 0 และ 2 มีจำนวนลดลง โดยนักเรียนที่มีความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 0 มีจำนวนลดลงมากที่สุด และเมื่อจำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ พบว่า 2.1 นักเรียนกลุ่มสูงที่มีความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 4 มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดและอยู่ในระดับ 2 มีจำนวนลดลงมากที่สุด 2.2 นักเรียนกลุ่มปานกลางที่มีความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 4 มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดและอยู่ในระดับ 0 มีจำนวนลดลงมากที่สุด 2.3 นักเรียนกลุ่มต่ำที่มีความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 1 มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดและอยู่ในระดับ 0 มีจำนวนลดลงมากที่สุดen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the research were to study levels of geometric thought of mathayom suksa two students being taught by organizing teaching and learning activities based on van Hiele model. The subjects were 98 of mathayom suksa two students of Satrisamutprakan School in the second semester of academic year 2002. They were taught by organizing teaching and learning activities based on van Hiele model. The experimental materials constructed by the reseacher were lesson plans based on van Hiele model in parallel lines and similarity. The research instrument was the test of geometric thought levels with the reliability of 0.7642. The data were analyzed by frequency and percentage. The results of the study revealed that : 1. After being taught by organizing teaching and learning activities based on van Hiele model, the number of students with stabilised levels of geometric thought was at the most. Next, were the numbers of students with one-level increase and two-level increase respectively. When classified by mathematics achievements, it was revealed that: 1.1 The number of students in high group with stabilised levels of geometric thought was at the most. Next, were the numbers of students with two-level increase and one-level increase respectively. 1.2 The number of students in medium and low groups with stabilised levels of geometric thought was at the most. Next, were the numbers of students with one-level increase and two-level increase respectively. 2. After being taught by organizing teaching and learning activities based on van Hiele model, the number of students who had geometric thoughts at first, third and fourth levels increased while at zero and second levels decreased. The number of students who had geometric thoughts at fourth level increased at the most while at zero level decreased at the most. When classified by mathematics achievements, it was revealed that: 2.1 The number of students in high group with fourth level of geometric thoughts increased at the most while that with second level of geometric thoughts decreased at the most. 2.2 The number of students in medium group with fourth level of geometric thoughts increased at the most while that with zero level of geometric thoughts decreased at the most. 2.3 The number of students in low group with first level of geometric thoughts increased at the most while that with zero level of geometric thoughts decreased at the most.en
dc.format.extent964597 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.756-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเรขาคณิต--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษาen
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen
dc.subjectรูปแบบแวนฮีลี่en
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบแวนฮีลี่ที่มีต่อระดับความคิดทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2en
dc.title.alternativeEffects of organizing teaching and learning activities based on Van Hiele model on levels of geometric thought of mathayom suksa two studentsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAumporn.M@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.756-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kulaya.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.