Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26706
Title: | ผลกระทบของระบบจำแนกตำแหน่งต่อขวัญ และความพึงพอใจในการปฎิบัติหน้าที่ราชการ ของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ |
Other Titles: | The impact of the position classification on morale and job satisfaction of the Bangkok metropolis's officials |
Authors: | สาวิตรี ปานะบุตร |
Advisors: | ไพโรจน์ สิตปรีชา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ข้าราชการพลเรือน -- การจำแนกตำแหน่ง ข้าราชการกรุงเทพมหานคร |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | “ข้าราชการ” นับเป็นทรัพยากรการบริหารอันสำคัญยิ่งของระบบราชการ เพราะจะเป็นตัวชี้บอกถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของส่วนราชการได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นการที่กรุงเทพมหานครจะบริหารราชการให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญแก่ “ข้าราชการ” ด้วย เพราะถ้าข้าราชการมีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ในระดับสูง ก็จะส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการเหล่านี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และประหยัดได้ อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการบริหารราชการโดยส่วนรวมของกรุงเทพมหานครในที่สุด และจากการที่กรุงเทพมหานครบริหารงานบุคคลภายใต้ระบบจำแนกตำแหน่งเป็นเวลานานถึง 7 ปีแล้ว เช่นนี้ นับเป็นการสมควรที่จะได้ประเมินผลการใช้ระบบจำแนกตำแหน่งในกรุงเทพมหานครว่าสามารถสร้างขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญได้มากน้อยเพียงใด อีกทั้งมีปัจจัยอะไรหรือไม่ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการนำระบบจำแนกตำแหน่งมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในกรุงเทพมหานครได้ โดยเฉพาะปัญหาและอุปสรรคที่จะมีผลกระทบต่อขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ และในการดำเนินการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้ใช้วิธีศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ( Descriptive and Analytical Method ) โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ( Documentary Data) และข้อมูลจากการวิจัยสนามทั้งวิธีออกแบบสอบถาม ( Questionnaire ) และวิธีสัมภาษณ์แบบเจาะจง ( Focus Interview) โดยใช้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่รับราชการมาตั้งแต่สมัยขั้นยศจำนวน 400 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย สำหรับผลการศึกษาวิจัยถึง “ผลกระทบของระบบจำแนกตำแหน่งต่อขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ” ในครั้งนี้พบว่า การนำระบบจำแนกตำแหน่งมาใช้ในการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครนั้นมิได้มีผลกระทบต่อขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญในลักษณะที่ดีขึ้นกว่าในระบบขั้นยศแต่อย่างไร ในทางตรงข้ามสภาพขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการเหล่านี้กลับลดลงกว่าในระบบเดิมเล็กน้อย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากประเด็นสำคัญ 2 ประการคือ 1. กรุงเทพมหานครไม่สามารถบริหารระบบจำแนกตำแหน่งให้มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในขั้นยศ เช่นปัญหาการใช้คนไม่ตรงกับงาน ปัญหาโอกาสก้าวหน้าในชีวิตราชการจึงไม่อาจแก้ไขให้ลุล่วงไปได้เมื่อนำระบบจำแนกตำแหน่งมาใช้ นอกจากนี้ความไม่เป็นธรรมในการบริหารงานบุคคล เช่นการแต่งตั้ง โยกย้าย การสอบ การพิจารณาความดีความชอบประจำปี ฯลฯ ตลอดจนความไม่เหมาะสมในการกำหนดตำแหน่ง ได้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในขณะที่นำระบบจำแนกตำแหน่งมาใช้ 2. ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญโดยส่วนรวมแล้วมีทัศนคติว่า หลักเกณฑ์ในเรื่องระดับควบซึ่งอยู่ในระบบจำแนกตำแหน่งนี้นั้น เป็นหลักเกณฑ์ที่ขีดคั่นความก้าวหน้าของข้าราชการด้วยคุณวุฒิทางการศึกษา และมุ่งสนับสนุนผู้มีปริญญามากกว่าผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาต่ำกว่านี้ ผลจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวนี้จึงชี้ให้เห็นได้ว่า โดยตัวของระบบจำแนกตำแหน่งแล้วมิได้มีข้อบกพร่องถึงขนาดที่จะบั่นทอนต่อสภาพขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ หากแต่ความบกพร่องที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการที่กรุงเทพมหานครไม่สามารถบริหารระบบจำแนกตำแหน่งให้มีประสิทธิภาพได้ดีเท่าที่ควร ประกอบกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นในขณะที่ใช้ระบบจำแนกตำแหน่งอยู่นี้มีจุดอ่อนในตัวเอง จึงส่งผลกระทบต่อข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญในลักษณะเช่นนี้ ฉะนั้นเพื่อส่งเสริมให้การบริหารระบบจำแนกตำแหน่งในกรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะเป็นแนวทางนำไปสู่การเสริมสร้างขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญในโอกาสต่อไป จึงขอเสนอแนะแนวทางปรับปรุงการบริหารงานบุคคลในกรุงเทพมหานครดังต่อไปนี้คือ 1. การปรับปรุงองค์กรการกลางบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร 1.1 การปรับปรุงโครงสร้างและจัดระบบงานของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร โดยจัดให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน ก.ก.) ขึ้นเพื่อแยกบทบาทของคณะกรรมการดังกล่าวออกจากอำนาจหน้าที่ของกองการเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในประเด็นนี้จะช่วยให้การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครได้ดำเนินไปตามขั้นตอนการบริหารงานที่ถูกต้องเหมาะสมภายใต้การกำกับ ตรวจสอบจากองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครอย่างรอบคอบรัดกุม 1.2 การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดคุณสมบัติขั้นพื้นฐานและอายุการดำรงตำแหน่งของกรรมการไว้ให้เหมาะสม เพื่อขจัดปัญหาในเรื่องคุณภาพและการสร้างฐานอำนาจของกรรมการแต่ละคน 2. การปรับปรุงกางวางแผนกำลังคน (Manpower Planning ) ในกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมโดยกำหนดแนวทางในการใช้และพัฒนากำลังคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งเสนอแนะเทคนิควิธีต่าง ๆ เพื่อจัดระบบงาน เพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเช่น ปัญหาในเรื่องระดับควบ เป็นต้น 3. การปรับปรุงการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนดโดยจัดกระบวนการบริหารงานบุคคลทุกขั้นตอนในรูปคณะกรรมการ ( Board ) ทั้งนี้จะช่วยขจัดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการบริหารงานบุคคลได้ 4. การพัฒนาคุณภาพเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานบุคคลให้ถึงพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์โดยใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสมและสม่ำเสมอเป็นเครื่องมือในการพัฒนา 5. การจัดสวัสดิการให้แก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญอย่างเพียงพอและทั่วถึงเพื่อเป็นการชดเชยค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยตัดความกังวลใจในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของข้าราชการเหล่านี้ลงได้บ้าง อันจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลในกรุงเทพมหานครดังกล่าวนี้ นับเป็นแนวทางสำคัญในการที่จะพัฒนาการบริหารระบบจำแนกตำแหน่งในกรุงเทพมหานครให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ที่จะ”ใช้คนให้ตรงกับงาน” และ “เงินเท่ากัน งานเท่ากัน” ได้ อันจะส่งผลให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญมีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ในระดับที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการโดยส่วนรวมของกรุงเทพมหานครได้ในที่สุด |
Other Abstract: | “Government Officials” are the main resource of bureaucratic administration on which governmental success or failure really depends. To efficiently run its affairs to meet the demands of Bangkokers, Bangkok metropolitan Administration has to realize the importance of its staffs. If they are treated satisfactorily, they will be able to work efficiently, effectively and economically. Consequently, Bangkok Metropolitan Administration will finally run its bureaucratic administration successfully. It is seven years since Position Classification System was introduced to personnel administration of Bangkok Metropolitan Administration. Evaluation of such system should be done to find out how this system can create morale and satisfaction among Bangkok Metropolis’s Officials and to find out problems and obstacles to the efficient application of P.C. System to Bangkok Metropolitan Administration. This research has been done through descriptive and analytical method by gathering documentary data, field analytical data which used questionnaires and focus interview to four hundred Bangkok Metropolis’s Officials to whom Rank Classification System is applied. According to research studies, the introduction of P C. System to personnel administration of Bangkok Metropolitan Administration does not make morale and satisfaction of its officials better than when R.C. System was exercised due to two reasons :- 1. Bangkok Metropolitan Administration failed to efficiently exercise P.C. System. Therefore, the same problems occurred to R.C. System as putting the wrong man to the wrong job and chance of advancement have not been solved. Besides, unfair promotion, transfer, examination and annual upgrade obviously exist when P.C. System was exercised. 2. Officials of Bangkok Metropolitan Administration believe that the principle of deep-class of P.C. System limits their advancement only to those better educated. The P.C. System itself is not defective. The research studies indicate that it does not worsen the morale and the satisfaction of Bangkok Metropolis’s Officials. It is its administration which is unable to manage the system efficiently. The P.C. System applied to Bangkok Metropolitan Administration is to be improved so that it can efficiently build up morale and satisfaction among its officials. The following are some suggestions for the improvement of personnel administration:- 1. Improvement of Central Personnel Administration Organization of Bangkok Metropolitan Administration. 1.1 Structural and re-organizational improvement by forming the office of Bangkok Metropolitan Administration Civil Service Commission to work separately from the authority of Personnel Division of Bangkok Metropolitan Administration. In this case personnel administration of Bangkok Metroopolitan Administration will be run logically and properly under careful supervision and control by Central Personnel Administration Organization. 1.2 Internal improvement of Bangkok Metropolitan Administration Civil Service Commission-setting the minimum desired qualification and the term in office of each committee. It is believed that authorities abused by the committee will be reduced. 2. Manpower planning improvement which develop manpower to its best use. In addition to the introduction of some new techniques to assist personnel administration work efficiently. Besides, such problem that occurred to P.C. System as deep class will be solved. 3. Personnel administration of Bangkok Metropolis improvement should be performed by a board of administration so that inequity resulting from such administration will be eliminated. 4. Skill development and regular training for all staffs concerned are required. 5. Adequate welfare should be equally covered to all officials. Such compensation will reduce their worries caused by higher and higher-ling cost resulting in more attention will be paid on their work. These suggestions for the improvement of personnel administration of Bangkok Metropolitan Administration are believed to be a guideline to make P.C. System really work out. Putting the right man to the right job and equal pay for equal work are also included in these suggestions. As a result, these will finally enable most officials work more efficiently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26706 |
ISBN: | 9745617903 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Savitri_Pa_front.pdf | 765.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Savitri_Pa_ch1.pdf | 477.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Savitri_Pa_ch2.pdf | 923.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Savitri_Pa_ch3.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Savitri_Pa_ch4.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Savitri_Pa_ch5.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Savitri_Pa_ch6.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Savitri_Pa_back.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.