Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2671
Title: สภาพเศรษฐกิจบริเวณลุ่มน้ำป่าสักตอนบน พ.ศ. 2442-2458
Other Titles: The cconomy of the upper Pasak Basin, 1899-1915
Authors: กีระติกาญน์ ซื่อตรง, 2519-
Advisors: ฉลอง สุนทราวณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Chalong.S@Chula.ac.th
Subjects: ไทย--ภาวะเศรษฐกิจ--2423-2473
ลุ่มน้ำป่าสัก--ภาวะเศรษฐกิจ
เพชรบูรณ์--ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพเศรษฐกิจของบริเวณลุ่มน้ำป่าสักตอนบนในช่วงที่เป็นมณฑลเพชรบูรณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2442-2458 โดยประเด็นหลักของการศึกษาจะเน้นไปที่บทบาทของรัฐบาล และบรรดาข้าราชการในการพยายามบำรุงและส่งเสริมสภาพเศรษฐกิจในมณฑลเพชรบูรณ์ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจภายในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักตอนบน อันเป็นผลเนื่องมาจากการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจต่างๆ ดังกล่าวในระหว่างปี พ.ศ. 2442-2458 เป็นสำคัญ ผลจากการศึกษาทำให้ทราบว่า โครงสร้างเศรษฐกิจของบริเวณลุ่มน้ำป่าสักตอนบนในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2442 นั้น ยังคงมีลักษณะเป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพสูงมาก การผลิตเพื่อขายยังไม่เกิดขึ้นมากนัก การค้าที่พอจะมีอยู่บ้างก็เป็นเพียงการค้าเล็กๆ น้อยๆ โดยอุปสรรคสำคัญของการขยายตัวทางการค้าในภูมิภาคนี้ก็คือ สภาพการคมนาคมที่ไม่เอื้ออำนวย ต้องรอจนกระทั่งเมื่อรัฐได้จัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2442-2458 และได้พยายามส่งเสริมและบำรุงเศรษฐกิจด้วยการดำเนินมาตรการต่างๆ จนส่งผลทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เริ่มปรับเปลี่ยนสภาพไป เศรษฐกิจแบบการค้าได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจนในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี การดำเนินการต่างๆ ของรัฐและบรรดาข้าราชการในมณฑลเพชรบูรณ์ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2442-2458 นั้น ก็ต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มากมาย เช่น การขาดเงินทุนและบุคลากร ปัญหาสภาพดินฟ้าไม่เอื้ออำนวย ฯลฯ เป็นต้น ประกอบกับการขาดความสามัคคีของข้าราชการในมณฑลเพชรบูรณ์ ในระยะหลังจึงส่งผลทำให้ความพยายามที่จะส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้าในภูมิภาคนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร รายได้ไม่คุ้มกับรายจ่ายในการจัดตั้งมณฑล และทำให้รัฐบาลตัดสินใจยุบยกเลิกมณฑลนี้ไปเมื่อปี พ.ศ. 2458 ในท้ายที่สุด
Other Abstract: To study the economy of the Upper Pasak Basin during 1899-1915 when it was under the administration of the Monthon Phetchabun. It focuses upon the role of the central government and its civil servants in the promotion and development of Monthon Phetchabun's economy, as well as on the impact of the government's policy on the economy of the Upper Pasak Basin during the period. The research finds that the pre 1899 economy of the region under discussion was a self sufficient one, with little commercial production or commercial activity. The one single most important obstacle to trade expansion was transportation. It was only during 1899-1915 when the region was put under the administration of Monthon Phetchabun and economic promotion measures were enforced by the government that there appeared 'changes' in its economy. Trading activities expanded to a certain degree, for instance. However, the economic promotion effort of the government also confronted several other problems and hindrances, such as limited budget and personnel, and crop failures due to erratic climate. Emerging conflicts among civil servants of Monthon Phetchabun during the later years of its short existence further hindered the already slow progress of the region's economic growth. Subsequently, revenue from the region was far lower than the government's administrative expense for Monthon Phetchabun. It was partly due to this 'budget deficit' that Monthon Phetchabun was eventually dissolved for good in 1915.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2671
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.163
ISBN: 9741714009
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.163
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Keeratikan.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.