Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26711
Title: การบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการการประถมศึกษา จังหวัดในภาคเหนือ
Other Titles: The primary education administration of the provincial primary education committee in northern region
Authors: สายัณห์ แกล้วกสิกรรม
Advisors: อมรชัย ตันติเมธ
สนานจิตร สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษาขั้นประถม
คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาการบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดในภาคเหนือ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน เกี่ยวกับการบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดในภาคเหนือ 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดในภาคเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติใน 9 จังหวัดในภาคเหนือ ซึ่งกำหนดตามขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan ได้ 364 คน กลุ่มตัวอย่างประชากรจำแนกตามขนาดของโรงเรียนในแต่ละจังหวัดได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบศึกษาข้อมูลจากเอกสารซึ่งใช้วิเคราะห์รายงานการประชุมของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดและแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ มาตราส่วนประมาณค่าและคำถามปลายเปิด ประกอบด้วยสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานและปัญหาอุปสรรคของการบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดในงาน 7 ด้าน คือ ( 1 ) การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการประถมศึกษาของจังหวัด ( 2 ) การจัดตั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อการประถมศึกษา ( 3 ) การจัดตั้งบริหาร รวม ปรับปรุงและเลิกล้มโรงเรียน ( 4 ) การแต่งตั้งหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอและผู้บริหารสถานศึกษา ( 5 ) การพิจารณาความดีความชอบประจำปีของข้าราชการครู ( 6 ) การออกระเบียบปฏิบัติงานในหน้าที่ และ ( 7 ) ปฏิบัติงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนดและตามที่คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมอบหมาย แบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน 364 ฉบับ ได้รับคืนมา 328 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.11 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มด้วยไค – สแควร์ และค่าความแปรปรวนทางเดียว สรุปผลการวิจัย 1. จากการวิเคราะห์เอกสารรายงานการประชุมพบว่า มีการประชุมคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด 210 ครั้ง เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการประชุม 2.45 ชั่วโมง ผู้ที่มาประชุมมากที่สุดคือ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ผู้ที่ขาดประชุมมากที่สุดคือ ผู้ทรงคุณวุฒิโดยการแต่งตั้ง ผู้ที่มีบทบาทในการร่วมอภิปรายมากที่สุดคือ กรรมการผู้แทนข้าราชการครู ส่วนผู้ที่มีบทบาทอภิปรายน้อยที่สุดคือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด การประชุมส่วนใหญ่เป็นการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่องที่มีการประชุมมากที่สุดคือการแต่งตั้งย้ายผู้บริหารสถานศึกษา และเรื่องที่มีการประชุมน้อยที่สุดคือ การออกระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ 2. จากแบบสอบถาม พบว่า 2.1 ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่เป็นชาย มีวุฒิปริญญาตรีอายุราชการ 21 ปีขึ้นไป และอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาระหว่าง 6 – 10 ปี 2.2 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า ในการบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด มีการพิจารณากำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการประถมศึกษาจังหวัด ซึ่งนโยบายและแผนที่กำหนดขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น การจัดตั้งและจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามขนาดของโรงเรียนความเหมาะสม การจัดตั้งบริหาร รวม ปรับปรุง และเลิกล้มโรงเรียน ส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักเกณฑ์แต่มีผลกระทบต่อบุคลากรในโรงเรียนและชุมชน การพิจารณาแต่งตั้งย้ายหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และหัวหน้าสถานศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ การพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูส่วนมากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีการออกระเบียบเกี่ยวกับปฏิบัติงานในหน้าที่ แต่ระเบียบดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานได้น้อยมาก การปฏิบัติงานตามที่กฎหมายกำหนดและที่คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมอบหมายเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 ขนาด ปรากฏว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 33 ข้อ ในจำนวน 37 ข้อ เรื่องที่มีความเห็นแตงต่างกันมี 4 ข้อ ได้แก่ ( 1 ) การยุบ รวม และเลิกล้มโรงเรียนประถมศึกษาก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อชุมชน ( 2 ) การบริหารงานการประถมศึกษาโดยคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดมีผลดีต่อการจัดการศึกษา ( 3 ) การพิจารณาย้ายหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และ ( 4 ) เมื่อพิจารณาความดีความชอบแล้วคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดได้มีการเสนอแนะโรงเรียนให้นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานครู 2.3 จากการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค พบว่าการปฏิบัติงานทั้ง 7 ด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนของความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 ขนาด ปรากฏว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: Purposes of the study:1. To study the primary education administration of primary education committees in northern region. 2. To compare the opinions of the primary school administrators by school size, concerning the administration of the provincial primary education committees in northern region. 3. To study the problems and obstacles that hinder the primary education administration of the provincial primary education committees in northern region. Procedures The samples employed in this study were 364 primary school administrators under the jurisdiction of the National Primary Education Committee in nine provinces in northern region. The multi-stage sampling technique was employed to draw the samples in each changwat by school size. The instruments employed were a guideline for analyzing the minutes of provincial primary education committee meetings from 1981-1984 and a questionnaire constructed by the researcher. The questionnaire covered the respondents’status, the administration of the primary education committees including problems and obstacles in the seven areas : 1) setting up Changwat policy and development plan of primary education. 2) Preparing budget requests and allocation; 3) establishment, management, consolidation, improvement and abolishment of primary schools; 4) appointment of primary education chiefs at the Amphur/Sub-Amphur lever, and school administrators; 5) consideration of performance evaluation; 6) issue of regulations; and 7) other activities as prescribed by law or assigned by the National Primary Education committee. A total of 364 copies of the questionnaire were distributed. Three hundred and twenty-eight copies or 90.11 percent were returned and analyzed, using percentage, means, standard deviation, frequency counting, comparison of inter-group opinions by chi-square and one-way analysis of variance (ANOVA) Findings : 1. It was found from the analysis of minutes that provincial primary education committees carried out 210 meetings, each for an average duration of 2.45 hours. Members who attended meetings most frequently were the Directors of Provincial Primary Education Offices whilst the appointed experts were among regular asbsentees. Major roles at discussion sessions were played by teacher representatives while those members from Provincial Health Offices were the least active. Subjects mostly railed at meetings were concerned with appointment and transfers of school administrators. Meetings on issue of regulations were called the least often. 2. It was found from the questionnaire analysis that: 2.1 Majority of the respondents were male, obtained bachelor’s degree, with working experience from 21 years upward, and six to ten years of administrative experience. 2.2 Majority of the respondents had the opinion that Changwat policy and development plan of elementary education were developed. The stated policy and educational plan were in good harmony with local needs. Budget requests and allocation were in accordance with school size. Establishment, administration, consolidation, improvement and abolishment of schools chiefly conformed to the rules and had an impact on school personnel and community. Appointment and transfer of the chiefs of Ampur/Sub-Amphur Primary Education Offices and school administrators were mostly in accordance with the regulations set by National Primary Education Committee, as was the case with the performance evaluation of school personnel. Some work regulations were issued but they could solve very few operational problems. Other functions as prescribed by law and as assigned by the National Primary Education Committee, were properly performed and in harmony with local needs. When the opinions of administrators in three sizes of primary school, were compared, it was found that out of 37 topics no difference was found in 33 topics. The four topics with significant differences were : 1) the abolishment and consolidation of primary education schools had an impact on the community; 2) the administration by provincial primary education committees facilitated the management of primary education; 3) the transfer of Amphur/Sub-Amphur primary education chiefs were considered in line with the criteria laid down by National Primary Education Committee; and 4) after performance evaluation; provincial primary education committees suggested schools to utilize the evaluation results in the improvement of teacher performance. 2.3 It was found that the problems and obstacles encountered was rated law in all the seven areas. Also, from the analysis of variance, no difference was found among the opinions of school administrators in small, medium and large schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26711
ISBN: 9745647802
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sayun_Kl_front.pdf809.19 kBAdobe PDFView/Open
Sayun_Kl_ch1.pdf584.74 kBAdobe PDFView/Open
Sayun_Kl_ch2.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Sayun_Kl_ch3.pdf408.21 kBAdobe PDFView/Open
Sayun_Kl_ch4.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Sayun_Kl_ch5.pdf859.24 kBAdobe PDFView/Open
Sayun_Kl_back.pdf760.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.