Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26720
Title: การลงทุนในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในประเทศไทย
Other Titles: Investment in the storage battery industry in Thailand
Authors: สิริเกียรติ รัชชุศานติ
Advisors: สุพักตร์ มโนมัธย์
กรรณิกา บันสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การลงทุน
อุตสาหกรรมแบตเตอรี่
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาถึงการลงทุนในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงบทบาทของรัฐบาลต่ออุตสาหกรรมแบตเตอรี่ และลู่ทางการลงทุนโดยจะทำการศึกษาถึงโครงสร้างของอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ลักษณะการดำเนินงานการผลิต การใช้วัตถุดิบ แรงงาน เงินทุนการผลิต การตลาด ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังศึกษา ถึงต้นทุนการผลิต ลักษณะของโครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงินและหลักเกณฑ์การตัดสินใจในการลงทุนในอุตสาหกรรม ประเภทนี้ วิธีการดำเนินการค้นคว้า ได้ทำการศึกษาและค้นคว้า จากตำราที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ บทความในวารสารขององค์การแบตเตอรี่ ตลอดจนการสอบถามและสัมภาษณ์ ประมวลข้อคิดเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ในวงการที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการปฏิบัติโดยทั่วไปของกิจการ จากการศึกษาทำให้ทราบว่า รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ใช้ชิ้นส่วนที่สามารถผลิตได้ในประเทศ แบตเตอรี่เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญชิ้นหนึ่ง ในการประกอบรถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ เพราะฉะนั้นรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ ที่ประกอบภายในประเทศ จำเป็นจะต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตภายในประเทศ และรัฐบาลได้กำหนดอัตราภาษีในการนำเข้าของแบตเตอรี่ในอัตราร้อยละ 80 เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ภายในประเทศ จึงทำให้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศจากอุตสาหกรรมที่ผลิตขึ้นทดแทนการนำเข้าซึ่งช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศปีละประมาณ 30 ล้านบาท กลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มผลิตเพื่อการส่งออกอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง ทั้งนี้เมื่อศึกษาถึงคุณภาพและขนาดแล้ว แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศไทยมีคุณภาพ และ ขนาดได้มาตรฐานทัดเทียมกับต่างประเทศและมีราคาต่ำกว่า จากการศึกษายังพบว่า ในการผลิตแบตเตอรี่ในปัจจุบันต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากตะกั่วบริสุทธิ์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ในการผลิตในปี พ.ศ. 2520 มีระดับราคาเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นประมาณ 80% และรัฐบาลได้ประกาศควบคุมราคาแบตเตอรี่ ผู้ผลิตไม่สามารถขึ้นราคาแบตเตอรี่ได้ตามการเปลี่ยนแปลงระดับราคาของวัตถุดิบ ทำให้ในบางครั้งผู้ผลิตอาจจะต้องรับภาระผลขาดทุน และจากการวิเคราะห์งบการเงิน ระหว่างปี พ.ศ. 2518 – 2521 พบว่าแนวโน้มอัตราผลตอบแทนในปี 2521 มีแนวโน้มต่ำลงทั้งนี้เนื่องจาก ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การควบคุมราคาของรัฐบาล ในปีนี้ผู้ผลิตได้ส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศมากเป็นปีแรก เพื่อเป็นการเปิดตลาดราคาขายที่ส่งไปจำหน่าย จึงค่อนข้างต่ำผลตอบแทนจึงต่ำลงด้วย และในปี 2521 ได้มี บริษัทผู้ผลิตเดิม 2 บริษัท ได้ขยายการลงทุนเพิ่ม การใช้ทรัพย์สินจึงยังใช้ไม่เต็มกำลังการผลิต สำหรับตลาดแบตเตอรี่ในปัจจุบัน บริษัทผลิตแบตเตอรี่ 7 แห่งสามารถ ได้ครองส่วนของตลาดแบตเตอรี่เพียงร้อยละ 70 ส่วนอีกร้อยละ 30 เป็นตลาดของร้านซ่อมแบตเตอรี่ซึ่งสามารถบริการแก่ผู้ใช้ในราคาที่ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตทั้ง 7 แห่ง ก็ได้พยายามหาวิธีการครองส่วนตลาดให้มากขึ้น และ เพิ่มปริมาณการผลิตให้มากขึ้นโดยพยายามส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศ ให้สูงขึ้นด้วยผู้ที่สนใจลงทุนในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่จะต้องคำนึงถึงส่วนแบ่งของตลาดเป็นสำคัญและในปัจจุบันคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้งดพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนในการลงทุนในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำหรับผู้ลงทุนรายใหม่เพราะฉะนั้นสิทธิพิเศษและประโยชน์ต่าง ๆ ผู้ลงทุนรายใหม่ก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับจากรัฐบาล การลงทุนในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ต้องใช้เงินลงทุนมาก ฉะนั้นในสภาวะการณ์เช่นนี้จึงไม่ควรที่จะลงทุนตั้งโรงงานใหม่
Other Abstract: The Storage Battery Industry in Thailand is the main theme of this thesis which places great emphasis on the investment prospect, the investment itself, and the Government’s roles with regard to the said industry. Moreover, the overall structure is considered in detail by looking at: - the manufacturing process - the use of labour and raw materials - the marketing - manufacturing costs - financial structure - financial ratio - criteria for making investment decisions - the present day problems. It shold be added here that this study has been derived from relevant books, articles in the journal of the Battery Organisation, inquiries and interviews, and opinions of those involving in the storage battery industry. After the study, one has realised that the Government has imposed certain conditions in favour of the domestic battery industry, namely, cars and motorcycles assembled in Thailand must use Thai battery and the tariff of 80 % is on imported battery, thus giving protection to the domestic industry. The just-mentioned measured have saved the country by about ฿ 30 MM in foreign currency. And by considering the facts that Thai battery is up to the generally accepted standard both in terms of size and quality and that its price is indeed lower than that of its foreign compititors, it is therefore possible that this industry could eventually be export-motivated. There are however some setbacks experienced by the industry in the sense that the price of lead, an important raw material in the manufacturing process, has increased by about 80% where as the price of battery remains static owing to the Government’s price control policy. When the rate by which manufacturing cost increases far exceeds that of price, the likeliness of making a loss is imminent. Moreover, the analysis of the industry’s balance sheet between 1975-1978 has shown that the rate of return for the 1978 tended to be lower due to the factors mentioned above and the fact that manufacturers began to export a large number of batteries at the price level which is lower that usual so as to be able break into new markets. With regard to the domestic battery market, seven firms dominate 70% of the market while the battery repair shops, offering lower price to the consumers, take control of the rest. Any way, the seven firms have been seeking means to enlarge their shares of the market and to increase production for export purpose. But on any account future investors in this industry must bear in mind the available share of market and the stand taken by the Board of Investment i.e, it shall not promote investment in the storage battery industry. Thus it is clear that new investors would not receive any privileges or benefits which stem form the Government. And since new investment requires a large amount of capitals, the present economic climate is accordingly deemed not favourable for such a high stake.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26720
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirikait_Ra_front.pdf493.78 kBAdobe PDFView/Open
Sirikait_Ra_ch1.pdf330.62 kBAdobe PDFView/Open
Sirikait_Ra_ch2.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Sirikait_Ra_ch3.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Sirikait_Ra_ch4.pdf543.5 kBAdobe PDFView/Open
Sirikait_Ra_ch5.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Sirikait_Ra_ch6.pdf623.9 kBAdobe PDFView/Open
Sirikait_Ra_back.pdf756.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.