Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26731
Title: | การศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ เฉพาในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A study of performance appraisal in car's sole distributors in Bangkok metropolitand area |
Authors: | สิทธิพร เจริญพุฒ |
Advisors: | พรหมพิไล คุณาพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การประเมินผลงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ -- การบริหารงานบุคคล การบริหารงานบุคคล |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครมีตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เป็นจำนวนมาก และบางแห่งมีพนักงานเป็นจำนวนมากปฏิบัติงานในหลายตำแหน่งหน้าที่ เพื่อในการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นการบริหารงานบุคคลจึงต้องเข้ามามีบทบาทด้วย การประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นธรรมเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงวิธีการและวัตถุประสงค์ของการนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้ในธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และศึกษาถึงความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งในฐานะผู้ทำการประเมินและการปฏิบัติงานและผู้ถูกประเมินผลการปฏิบัติงาน ในการศึกษาข้อมูลได้จัดกลุ่มบริษัทในธุรกิจนี้ออกเป็นสามกลุ่มตามจำนวนพนักงานคือ กลุ่มที่หนึ่งเป็นบริษัทที่มีพนักงานต่ำกว่า 50 คน กลุ่มที่สองเป็นบริษัทที่มีพนักงานระหว่าง 50 -100 คน และกลุ่มที่สามเป็นบริษัทที่มีพนักงานเกินกว่า 100 คน และสุ่มตัวอย่างบริษัทเพื่อทำการศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของบริษัทเหล่านั้นถึงเรื่อง วิธีการวัตถุประสงค์ของการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์และอุปสรรคในการประเมินผลการปฏิบัติงาน และสุ่มตัวอย่างพนักงานให้กรอกแบบสอบถามที่เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผลจากการศึกษาว่าบริษัทในธุรกิจนี้ประมาณร้อยละ 65 ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไม่เป็นทางการ และอีกร้อยละ 35 ได้นำเอาการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการมาใช้กับพนักงานที่อยู่ในระดับต่ำกว่าผู้บริหารชั้นสูง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการมาใช้ คือ จำนวนพนักงาน และทัศนะของผู้บริหารชั้นสูงขององค์การ การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการเพิ่งจะนำมาใช้ในธุรกิจนี้ดังนั้นระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการที่ใช้กันอยู่นี้จึงยังมีความบกพร่องอยู่ จะเห็นได้จากการที่บริษัทส่วนใหญ่ยังใช้ใบประเมินผลเพียงแบบเดียว ทำให้การกำหนดปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานกว้างเกินไป หรือปัจจัยที่สำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในแต่ละกลุ่มไม่สามารถกำหนดลงไปได้ และวัตถุประสงค์ในการนำเอาผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ก็มีเพียงเพื่อพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปีเท่านั้น เทคนิคที่ใช้ในใบประเมินผลส่วนใหญ่จะเป็นแบบ”ให้คะแนนโดยตาราง”และใช้วิธี”บังคับการกระจาย”เพื่อแปลผลคะแนนดิบออกมาในรูปของจำนวนเงินที่เพิ่มของพนักงานแต่ละคน มีบริษัทร้อยละ 33.33 เปิดเผยผลการประเมินให้พนักงานทราบ และเป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีบริษัทใดที่จัดการฝึกอบรมพนักงานในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยให้เหตุผลว่าผู้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานต่างรู้หน้าที่นี้ดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมในเรื่องนี้อีก จากการวิเคราะห์แบบสอบถามพบว่า ผู้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ยังไม่เต็มใจที่จะเปิดเผยผลการประเมิน แต่ก็ยังตระหนักถึงความสำคัญในงานหน้าที่นี้อยู่ ส่วนผู้ถูกประเทินผลการปฏิบัติงานมีความเข้าใจถึงวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานพอสมควร พร้อมที่จะรับฟังผลการประเมินผลอย่างมีเหตุผล และรู้ถึงความสำคัญของเรื่องนี้ดี สำหรับบริษัทที่ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไม่เป็นทางการวิธีการที่ใช้อยู่เหมาะสมแล้ว ส่วนบริษัทที่ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการยังมีความบกพร่องอยู่ จึงใคร่ที่จะขอเสนอแนะข้อคิดเห็นบางประการเพื่อที่จะปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้สมบูรณ์ยิ่งขั้นดังนี้คือ 1. ควรนำผลการประเมินไปใช้ในด้านอื่นนอกจากที่จะใช้เพื่อประกอบการพิจารณาขึ้นเงินเดือนพนักงานเพียงอย่างเดียว 2. ควรจักให้มีการฝึกอบรมพนักงานทุกคนในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. ควรปรับปรุงแบบฟอร์มใบประเมินผลให้มีมากกว่าหนึ่งแบบเพื่อที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสมกับพนักงานแต่ละกลุ่ม 4. ควรเก็บผลการประเมินของพนักงานแต่ละคนไว้เพื่อใช้ในการพิจารณาความดีความชอบหรือลงโทษในอนาคต 5. ควรแจ้งผลการประเมินให้พนักงานทุกคนรับทราบ หลักจากปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานชองบริษัทให้ดีขึ้นแล้ว และผู้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งด้านจิตใจและความสามารถที่จะอธิบายให้พนักงานเข้าใจและยอมรับในผลการประเมิน |
Other Abstract: | At present the scope of motorcar’s sole distributors ship has expanded tremendously and rapidly. In Bangkok Metropolis, there is quite a lot of distributors and some of them have quite a big number of employees of different assignments. Inorder to enable the work to be carried on smoothly, personnel management plays a role in the entity’s management. The performance appraisal is an instrument to motivate them. This thesis is to study the objective of the methods and objectives of implementing the performance result obtained in the motorcar sole distributors, also the study of employees opinions regarding performance appraisal in capacities of appraises and appraisers. Regarding the study of data, these establishments are divided into three groups based on number of employees. The first batch will be the companies that have a number of employees less than 50, the second between 50-100 employees and the third for those over 100, and random samplings will be undertaken for study. The interviews of those who are responsible for the performance appraisal of those companies will be conducted regarding the objectives of the appraisals to be implemented for benefits, and also about the obstructions in performance appraisals. The random samplings of employees by asking them to complete the questionnaires of their opinions against the appraisal of performances. The outcome is that about 65 per of companies in this field use informal appraisal, and the remaining 35 percent use systematic appraisal for the personnel under executive level. The factors that influence the systematic appraisals are number of employees and their attitudes towards higher executives of the organizations. The systematic appraisal has been just introduced in this line of business so the systematic appraisal adapting has shortcoming. This can be observed that the majority of these companies use only one method of appraisal so it causes the factors indicated in the appraisal of performance is rather wide or the important factors in the appraisal of employees performances in each groups cannot be determined and the appraisal is used solely for the annual increment of salary. The technique used in most appraisal sheets is “the graphic Rating Scale”, and has used the method of “Force Distribution” to interpret the raw scares in the form of each individual increment. About 33.33 percent the companies that have divulged the appraisals the made known to the employees; and it showed be observed that no company has started the training course for employees in performance appraisal with the reasoning that the apraisees realize their functions well and the training is of no importance in this regard. Most of the appraisers are reluctant to divulge the appraisal results following the study of the questionnaires but they still value the duty of the function. While the appraisees understand the method of appraisal fairly well. They understand its importance and always ready to hear the appraisal results with realization of their importance. For the companies, that use “Informal Appraisal”, the methods used are quite favourable while the companies that use “Systematic Appraisal” has shortcoming would be fiven so that the systems would be improved as follows:- 1. The appraisal results should be used for other purposes other than for the increment of monthly salary only. 2. Every employee should be trained so that the value of appraisal of performance is mode known to them. 3. The appraisal form should be varied and each form is to be used for each group of employees. 4. The appraisal result should be kept in each employee’s employment file for future use for considering one’s merit or penalty. 5. The result of the appraisal should be made known to each employee after the appraisal form is adjust and the appraise himself is ready in his spirit and ready to impart the knowledge to the employees and make them to give their acceptance. การบริหารงานบุคคล |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26731 |
ISBN: | 9745633496 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sittiporn_Ch_front.pdf | 511.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiporn_Ch_ch1.pdf | 365.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiporn_Ch_ch2.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiporn_Ch_ch3.pdf | 906.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiporn_Ch_ch4.pdf | 671.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiporn_Ch_ch5.pdf | 483.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiporn_Ch_back.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.