Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26737
Title: | ผลของคำสั่งและการให้คะแนนที่ต่างกัน ต่อค่าความเที่ยง ความตรง และอำนาจการจำแนกของแบบสอบชนิดเลือกตอบ |
Other Titles: | Effects of different instructions and types of scorings on the reliability, validity and discriminating power of multiple-choice tests |
Authors: | สำราญ มีแจ้ง |
Advisors: | อุทุมพร ทองอุไทย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ข้อสอบ คณิตศาสตร์ -- การวัดผลการศึกษา |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าคำสั่งและการให้คะแนนที่ต่างกัน 4 วิธี คือ วิธี 0 – 1 วิธีของดูมบ์ส วิธีของอนันต์ และวิธีของผู้วิจัยจะมีผลต่อความเที่ยง ค่าความตรง และค่าอำนาจการจำแนกของแบบสอบชนิดเลือกตอบหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงรียนสุรศักดิ์มนตรี และโรงเรียนวัดน้อยใน ซึ่งเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 011 จำนวน 240 คน เป็นนักเรียนชาย 138 คน นักเรียนหญิง 102 คน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในภาคเรียนที่ 1 เทียบเท่ากัน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 011 ซึ่งเป็นแบบสอบชนิดเลือกตอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าความเที่ยงโดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนของฮอยท์ หาค่าความตรงตามสภาพโดยใช้สูตรสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน หาค่าอำนาจการจำแนกโดยใช้สูตรสหสัมพันธ์แบบไบซีเรียล และเปรียบเทียบค่าความเที่ยง ค่าความตรง และค่าอำนาจการจำแนกโดยใช้สัมประสิทธิ์ของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ค่าความเที่ยงของแบบสอบที่ใช้คำสั่งและการให้คะแนนตามวิธีของผู้วิจัยสูงกว่าค่าความเที่ยงของแบบสอบที่ใช้คำสั่งและการให้คะแนนตามวิธี 0 – 1 ( P< .01) และค่าความเที่ยงของแบบสอบที่ใช้คำสั่งและการให้คะแนนตามวิธีของดูมบ์สสูงกว่าค่าความเที่ยงของแบบสอบที่ใช้คำสั่งและการให้คะแนนตามวิธี 0 – 1 ( P < .05) 2. ค่าความตรงของแบบสอบที่ใช้คำสั่งและการให้คะแนนตามวิธีของผู้วิจัยสูงกว่าค่าความตรงของแบบสอบที่ใช้คำสั่งและการให้คะแนนตามวิธี 0 – 1 ( P < .01 ) และค่าความตรงของแบบสอบทีใช้คำสั่งและการให้คะแนนตามวิธีของอนันต์สูงกว่าค่าความตรงของแบบสอบที่ใช้คำสั่งและการให้คะแนนตามวิธี 0 – 1 ( P < .05 ) 3. คำสั่งและการให้คะแนนทั้ง 4 วิธีไม่ทำให้ค่าอำนาจการจำแนกของแบบสอบแตกต่างกัน ( P < .05) |
Other Abstract: | The purposes of this study were to find out any effects of four different instructions and types of scorings, viz. 0-1 method, Coombs' method, Anant's method and researcher's method, on the reliability, validity and discriminating power of multiple-choice tests. The subjects were 240 Mathayom Suksa Four students –138 boys and 102 girls -- of Surasakmontree School and Wat Noinai School. All of them took mathematics 011. The subjects were devided into four groups with equivalent mathematics achievement scores in first semester. The data were collected and the analysis were done . The reliability of each group was evaluated by Hoyt's anaIysis of variance ; the concurrent validity by Pearson’ s product moment correlation coefficient; and the discriminating power by the biserial correlation formula. To make the testing hypothesis possible, the Fisher's Z coefficient was transformed to compare the reliability, concurrent validity and discriminating power of the test resulting from the four groups. The results were as follows: 1. The reliability of the test based on the researcher’s instruction and type of scoring showed higher value than others. The reliability of the test based on Coombs’ instruction and type of scoring was higher than that one based on of 0-1 method. (P < .05) 2. The validity of the test based on the researcher’s instruction and type of scoring was higher than that one based on of 0-1 method. (P <.01) The validity of the test based on Anant’s instruction and type of scoring was higher than one based on of 0-1 method. (P < .05) 3. The difference of discriminating power of the four instructions and types of scorings was found no statistical significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26737 |
ISBN: | 9745609153 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samran_Me_front.pdf | 418.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_Me_ch1.pdf | 606.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_Me_ch2.pdf | 856.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_Me_ch3.pdf | 602.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_Me_ch4.pdf | 400.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_Me_ch5.pdf | 518.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_Me_back.pdf | 624.58 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.