Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26741
Title: การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่ออาชีพครูของนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา
Other Titles: Changing attitudes towards the teaching profession of college of education students
Authors: สำรวย มีขนอน
Advisors: จันทอร บูรณบรรพต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นักศึกษาครู -- ทัศนคติ
อาชีพ
Student teachers -- Attitudes
Occupations
Issue Date: 2516
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความแตกต่างของทัศนคติต่ออาชีพครูของนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ระหว่างนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 360 คน เป็นนิสิตจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร 200 คน นิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวันจำนวน 160 คน เป็นชาย 158 คน หญิง 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดทัศนคติ 3 แบบ คือ แบบวัดทัศนคติต่ออาชีพครูตามแบบของลิเคอร์ท ( Likert Type Scale ) ซีแมนติก ดิฟเฟอร์เรนเชียล สเกล ( Semantic Differencial Scale ) และการจัดอันดับอาชีพโดยใช้อาชีพต่าง ๆ มาเปรียบเทียบในการเลือกอาชีพครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อหาความแตกต่างของทัศนคติต่ออาชีพครูระหว่างชั้น โดยการทดสอบค่าเอฟ ( F – test ) หาความแตกต่างของทัศนคติต่ออาชีพครูระหว่างชั้นรายคู่ ( Multiple Comparison) ตามวิธีการของนิวแมน คูลส์ ( Newman Keuls Procedure) เปรียบเทียบการจัดอันดับหาค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนในการเลือกอาชีพ และหาค่าความสัมพันธ์ใกล้เคียงเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเคนดัล ( Kendal Coefficient Concordance ) ซึ่งปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1. จากการวัดด้วยแบบสอบถามตามแบบลิเคอร์ท สเกล จากกลุ่มตัวอย่างนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ระหว่างนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 ปรากฏว่า ด้านการสอนนั้นนิสิตชั้นปีที่ 1 มีทัศนคติต่ออาชีพครูในทางที่ดีกว่านิสิตชั้นอื่น ๆ ด้านความสัมพันธ์กับอาชีพและบุคคลอื่น นิสิตชั้นปีที่ 1 มีทัศนคติต่ออาชีพครูในทางที่ดีกว่านิสิตชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 และด้านสถานที่ทำงาน เศรษฐกิจและความก้าวหน้า นิสิตชั้นปีที่ 1 มีทัศนคติต่ออาชีพครูในทางที่ดีกว่านิสติชั้นปีที่ 3 และด้านค่านิยมในสังคม นิสิตชั้นปีที่ 4 มีทัศนคติต่ออาชีพครูในทางที่ดีกว่านิสิตชั้นอื่น ๆ ส่วนด้านจรรยาครูนั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับกลุ่มตัวอย่าง นิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวันนั้น ระหว่างนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 ปรากฏว่าทัศนคติต่ออาชีพครูไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ผลจากการใช้แบบสอบถามแบบซีแมนติก ดิฟเฟอร์เรนเชียล สเกล นั้น การแสดงทัศนคติต่ออาชีพครูของนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จากการพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะโดยการใช้ “ข้าพเจ้าเป็นครู” “ครูของข้าพเจ้า” และ “ผู้ประกอบอาชีพสอนหนังสือ” เป็นตัวเร้า มีดังนี้ พิจารณาจาก “ข้าพเจ้าเป็นครู” เป็นตัวเร้า จากกลุ่มตัวอย่าง นิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ปรากฏว่านิสิตชั้นปีที่ 1 เห็นว่า เมื่อตนเป็นครู เป็นคนที่เอื้อเฟื้อและเชื่อถือได้มากกว่านิสิตชั้นอื่น ๆ ส่วนกลุ่มตัวอย่างนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวันนั้นปรากฏว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 เห็นว่าเมื่อตนเป็นเป็นครูจะเป็นผู้ที่มีความลึกซึ้ง มากกว่านิสิตชั้นปีที่ 3 นิสิตชั้นปีที่ 2 เห็นว่าเมื่อตนเป็นครูจะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ และทำงานหนักมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 และปีที่ 3 ส่วนนิสิตชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 เห็นว่า เมื่อตนเป็นครูจะเป็นคนที่มีเกียรติมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 พิจารณาจาก “ครูของข้าพเจ้า” เป็นตัวเร้า จากกลุ่มตัวอย่างนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาประมานมิตร ปรากฏว่านิสิตชั้นปีที่ 1 เห็นว่าครูของตนมีความขยันและฉลาดมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 นิสิตชั้นปีที่ 4 เห็นว่าครูของตนเป็นคนแข็งแรง ฉลาดและขยันมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 ส่วนกลุ่มตัวอย่างนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน ปรากฏว่านิสิตชั้นปีที่ 1 เห็นว่าครูของตนคุ้นเคยง่าย และมีความเสียสละมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 3 แลนิสิตชั้นปีที่4 ตามลำดับ นิสิตชั้นปีที่ 2 เห็นว่าครูของตนคุ้นเตยง่าย และมีความรับผิดชอบมากกว่ามากกว่านิสิตชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ตามลำดับ ทั้งยังเห็นว่าครูของตนมีความเยือกเย็นมากกว่านิสิตชั้นอื่น ๆ พิจารณาจาก “ผู้ประกอบอาชีพสอนหนังสือ” เป็นตัวเร้า จากกลุ่มตัวอย่างนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาประมานมิตร ปรากฏว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 เห็นว่าครูควรเป็นคนทันสมัยมากกว่านิสติชั้นปีที่ 3 นิสิตชั้นปีที่ 2 เห็นว่าครูควรเป็นคนทันสมัยมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 3 นิสิตชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 เห็นว่าครูควรมีความรับผิดชอบมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 ส่วนกลุ่มตัวอย่างนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน ปรากฏว่านิสิตชั้นปีที่ 1 เห็นว่าครูนั้นควรเป็นคนเรียบ ๆ มากกว่านิสิตชั้นปีที่ 4 นิสิตชั้นปีที่ 2 เห็นว่าครูควรมีความฉลาดและขยันมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 ทั้งยังเห็นว่าครูเป็นผู้ที่มีเกียรติมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 3 ส่วนนิสิตชั้นปีที่ 3 เห็นว่าครูควรมีความเชื่อถือได้ มากกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 3. การพิจารณาจากการเลือกอาชีพด้วยการจัดอันดับโดยถือความชอบเป็นหลักปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 การเลือกอาชีพครูเป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 3 อันดับที่ 8 และอันดับที่ 10 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน ชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 เลือกอาชีพครูเป็นอันดับที่ 2 อันดับที่ 1 อันดับที่ 1 และอันดับที่ 4 ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า นิสิตที่เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปมีทัศนคติต่ออาชีพครูไม่เป็นไปในทางที่ดีกว่านิสิตในระดับชั้นที่ต่ำกว่า
Other Abstract: The major purpose of this research was to compare attitudes of College of Education students towards the teaching profession. Attitudes of each class of two respective colleges were compared to attitudes of every other class at that college. Two hundred College of Education at Prasarnmitra students and 160 College of Education at Patoomwan students were asked to complete instruments designed to measure attitudes towards the teaching profession. Of the 360 students, 158 were males and 202 females. The data were gathered using three techniques:- A Likert-Type Scale containing six domains : instruction, professional ethics, benefits, social values, interpersonal and interprofessional relationship, working environment, economic and professional progress; a Semantic Differencial Scales composed of three concepts; “Myself as a teacher.” “My teacher, “ and “Practitioner in the teaching profession.”; and the Professional Choices in which the subjects were to rank ten professions including teaching, according to their liking, perceived honor, economic, and social status. The Likert Scale Scores for Prasarnmitra students indicated that freshman attitudes towards instruction and interpersonal and interprofessional relationship were significantly better than those of sophomores and juniors. Freshman attitudes toward economic and professional progress were significantly better than those of juniors. Attitudes toward social values of the seniors were significantly better than the other classers. No significant differences on the aspect of professional ethics were obtained. For Patoomwan students no differences in attitudes toward the teaching profession among the four groups were obtained. Comparison of Semantic Differencial Scale ratings indicated that on the “Myself as a teacher” concept, Prasarnmitra freshman rated the generous and reliable scales significantly higher than did the other classers. Patoomwan freshman rated teachers as significantly more profound than did the juniors. Sophomores rated teachers as significantly more responsible and hard working than did freshman and juniors. The juniors and seniors indicated that teachers were significantly more honourable than did the freshman. On the “My Teacher” concept, Prasanmitra freshman indicated that their teacher were significantly more deligent and clever than did the sophomores and juniors. The seniors rated their teacher as significantly stronger, more clever and more diligent than did the sophomores and juniors. Patoomwan freshman rated their teacher as significantly more friendly and sacrificial than did the juniors and seniors. The sophomores rated their teacher as significantly more friendly and responsible than did the junior and seniors. The sophomores further rated their teacher as significantly more reserved than did the other classer. On the “Practitioner in the teaching profession” concept, Prasarnmitra freshman indicated that the teachers were significantly more plain than did the seniors. The sophomores rated the teachers as significantly more up-to-date than did the juniors. The Juniors rated the teachers as significantly more responsible than did the freshman. Patoomwan freshman rated the teachers more plain than did the seniors. The sophomores rated the teachers as significantly more clever and more diligent than did the freshman. The sophomores rated the teacher as significantly more honourable than did the juniors. The juniors rated the teachers as significantly more reliable than did the freshman. The seniors rated the teacher as significantly more enjoying their work than did the freshman. Professional Choices ranking indicated that the four classes of Prasarnmitra students ranked the teaching profession in the first, third, eighth, and tenth orders respectively. The respective Patoomwan students ranked teaching profession second, first, first, and fourth. Conclusions were that the researcher’s hypothesis of a positive relationship between years in college and attitudes toward the teaching profession was not supported. Higher level students generally had poorer attitudes toward the teaching profession than did lower level students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26741
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumruay_Me_front.pdf784.86 kBAdobe PDFView/Open
Sumruay_Me_ch1.pdf825.75 kBAdobe PDFView/Open
Sumruay_Me_ch2.pdf364.49 kBAdobe PDFView/Open
Sumruay_Me_ch3.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Sumruay_Me_ch4.pdf751.66 kBAdobe PDFView/Open
Sumruay_Me_ch5.pdf403.74 kBAdobe PDFView/Open
Sumruay_Me_back.pdf848.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.