Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26760
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | สุพักตร์ พิบูลย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-28T11:37:25Z | - |
dc.date.available | 2012-11-28T11:37:25Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26760 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้แบบจำลองเคาน์ทิแนนซ์ของสเต็กประเมินกิจกรรมของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดของแก่น กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มโรงเรียน คือ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ และครู –อาจารย์ผู้ซึ่งเคยเข้าร่วมในกิจกรรรมของกลุ่มโรงเรียน อีกทั้งใช้ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงตัดสินคุณค่ากิจกรรมของกลุ่มโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ผลจากการประยุกต์ใช้แบบจำลองการประเมิน จากการประยุกต์ใช้แบบจำลองเคาน์ทิแนนซ์ของสเต็ก ความยืดหยุ่นของแบบจำลองทำให้สามารถประเมินกิจกรรมได้ในลักษณะที่ครอบคลุม ปัญหาบางประการที่พบคือ ในการกำหนดตัวแปรที่จะศึกษาในแต่ละเซลเกิดความยุ่งยกและมีความคาบเกี่ยวกัน และในกรณีที่ได้รับข้อมูลเชิงประจักษ์จากแบบถามขัดแย้งกับข้อมูลเชิงตัดสินคุณค่าจากผู้ทรงคุณวุฒิทำให้ยากแก่การพิจารณาตัดสินคุณค่ากิจกรรม ลักษณะเด่นที่เห็นได้อย่างเด่นชัดประการหนึ่งของแบบจำลองคือ ขั้นตอนการพิจรารณาความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานกับ การดำเนินงาน และผลการดำเนินงาน เปรียบเสมือนการสรุปผลการประเมินไปในตัวด้วย 2. ผลการประเมินกิจกรรมของกลุ่มโรงเรียน 2.1 กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่1 มีความพร้อมในด้านปัจจัยพื้นฐาน แนวทางการดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นไปได้ด้วยดี จะมีจุดอ่อนก็ในแง่ของการประชาสัมพันธ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวของกลุ่ม ผลการดำเนินงานในเกีอบทุกรายการกิจกรรมให้ผลเป็นที่น่าพอใจ กิจกรรมที่ไม่บรรลุผลตามเป้าหมายคือ โครงการส่งเสริมการสอนวิชาการงานอาชีพ 2.2 กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มที่ 2 มีความพร้อมในด้านปัจจัยพื้นฐานและมีความพร้อมเพรียงในหมู่กรรมการบริหารกลุ่มอย่างดียิ่ง ส่งผลให้การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปได้ด้วยดี และให้ผลเป็นที่น่าพอใจในทุกรายการกิจกรรม ปัญหาที่พบคือกลุ่มประสบปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการระยะยาว ทั้งนี้เพราะขาดการวางแผนในการควบคุมและติดตามโครงการที่เด่นชัด ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 1 โครงการ คือ โครงการจำหน่ายผลผลิตของนักเรียน 2.3 กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 ประสบปัญหาในด้านศูนย์กลางอำนวยการของกลุ่ม ปัญหาความพร้อมเพรียงในหมู่กรรมการบริหารกลุ่ม ส่งผลให้การดำเนินงานของกลุ่มได้รับผลการประเมินในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ กลุ่มที่ 1 และ 2 และประสบปัญหาในบางลักษณะเช่น การติดตามผลการดำเนินงาน การปฎิบัติงานในบางรายการกิจกรรมที่ทำได้ไม่สม่ำเสมอ เกิดความขัดแย้งในหมู่กรรมการบริหารกลุ่มเป็นต้น ผลงานของกลุ่มอยู่ในระดับน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 1 และ 2 ผลการดำเนินงานในโครงการอบรมระยะสั้น บรรลุผลตามเป้าหมาย 2.4 ปัญหาร่วมที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันทั้ง 3 กลุ่มโรงเรียนคือ ขาดแคลนในด้านวัสดุ-ครุภัณฑ์และงบประมาณ ขาดปฎิทินการปฎิบัติงานที่เด่นชัด ไม่มีการบรรจุรายการกิจกรรมปกติไว้ในแผนปฎิบัติการประจำปีซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในขณะที่ดำเนินงาน | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to apply Stake’s Countenance model to evaluate the secondary school group activities in changwat Khon Kaen. The samples were the school administrators, school academic administrative assistants, and teachers who had attended in some projects of the secondary school groups. For gathering the judgmental data, five experts acted as the judges. Questionnaires and informal interview were employed to collect data. The obtained data were analyzed by means of median, mode, and content analysis. The major finding were as follow :- 1. Conclusion from an application of the model. In the application of the Stake’s Countenance model, this evaluation research was able to cover all of the activities that needed to be evaluated. The problems which were identified were; the overlapping between each cell of the model, and the contradiction between the empirical data from the questionnaires and the judgmental data from interviewing the experts. The consideration for empirical contingency of the model was the important and prominent step, as if this step were an evaluative conclusion. 2. Results from evaluating the secondary school group activities. 2.1 The first secondary school group got in readiness for antecedents of the group. All most of the activities got well transactions and achieved the expectant purpose. Only one project, supporting in teaching professional subjects, didn’t achieve the expectant purpose. The problem troubled this group was lack of communication. 2.2 The second secondary school group got in readiness for the antecedents of the group. All of the activities got well transactions and achieved the expectant purpose. Long-running project lack of controllable techniques and in trouble about the transactions. Only one project, saling the student’s products, didn’t achieve the expectant purpose. 2.3 The third secondary school group got in trouble for the center of the group and the co-operation between each committee. The relative comparision for the transactions side showed lower score than the first and the second secondary school group. The problems troubled this group were lack of follow-up techniques and conflict between each committee. 2.4 The common problem troubled all the three group were lacked of funds, unclear working calendar, and the transactions which did not contain the routine work into the operation plan. | - |
dc.format.extent | 602379 bytes | - |
dc.format.extent | 456157 bytes | - |
dc.format.extent | 1214244 bytes | - |
dc.format.extent | 737640 bytes | - |
dc.format.extent | 3467496 bytes | - |
dc.format.extent | 1242086 bytes | - |
dc.format.extent | 1099934 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การประยุกต์ใช้แบบจำลองเคาน์ทิแนนซ์ของสเต็ก ในการประเมินกิจกรรมของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดขอนแก่น | en |
dc.title.alternative | An application of stake's countenance model in evaluating the secondary school group activities in Changwat Knon Kaen | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suphak_Pi_front.pdf | 588.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphak_Pi_ch1.pdf | 445.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphak_Pi_ch2.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphak_Pi_ch3.pdf | 720.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphak_Pi_ch4.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphak_Pi_ch5.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suphak_Pi_back.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.